Page 40 - kpiebook64011
P. 40
2.1.3 ปัญหาในระดับโครงสร้างของการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด
ในช่วงปี พ.ศ. 2542 เป็นปีที่โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการปรับเปลี่ยนเป็นอย่างมาก
เพราะผลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในปลายปี พ.ศ.
2546 โดยองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยทุกรูปแบบมีโครงสร้างที่เหมือนกันหมด คือ เป็นแบบสภา-
นายกเทศมนตรี และมีฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงจากประชาชนเหมือนกันหมด โครงสร้างนี้เป็น
ผลผลิตของพัฒนาการอันยาวนานของระบบการปกครองท้องถิ่นของไทย ซึ่งพัฒนามาจากการปกครองที่มีคน
ของส่วนกลางเข้าไปเกี่ยวข้องในการบริหารพัฒนามาสู่ระบบที่สภาและผู้บริหารของท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง
และเป็นระบบที่ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในที่สุด แต่การปกครองท้องถิ่นก็
เหมือนกับระบบการเมืองทั่วไปคือมีลักษณะเป็นพลวัต ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองสภาพแวดล้อมที่
เปลี่ยนแปลงไปของยุคสมัย (อลงกรณ์ อรรคแสง, 2547, น. 91-92) อย่างไรก็ดี ส าหรับงานซึ่งศึกษาในประเด็น
ปัญหาการในระดับโครงสร้างของการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ปรากฏเพียงงานของวรพร อัศวเหม (2548) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาอันเนื่องมาจากการกระจาย
อ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอนการ
กระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวยังได้รับการแก้ไข
เพิ่มเติม เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด
งานของวรพร อัศวเหม (2548) ซึ่งศึกษาการด าเนินงานการปกครองส่วนท้องถิ่นและการกระจาย
อ านาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและศึกษาส ารวจปัญหาวิเคราะห์ปัจจัยส าคัญที่ท าให้เกิดปัญหาในการ
ปกครองส่วนท้องถิ่น หลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ านาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษาแบ่งปัญหา
ที่พบออกเป็น 6 ด้าน อันได้แก่ ปัญหาด้านโครงสร้าง ปัญหาด้านอ านาจหน้าที่ ปัญหาด้านการคลัง ปัญหาด้าน
การบริหารงานบุคคล และปัญหาด้านการก ากับดูแล และปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในปัญหาด้านโครงสร้าง จากรูปแบบที่โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการแบ่ง
ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหารและฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยฝ่ายบริหารจะมีบทบาทควบคุม
ก ากับดูแล ข้าราชการประจ า พนักงานจ้าง ในภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 โครงสร้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงมี
ขนาดใหญ่ขึ้น มีการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่จ านวน 2 ส่วนราชการ คือ กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
และหน่วยตรวจสอบภายใน และก าหนดเพิ่มฝ่ายในส่วนราชการจากเดิมก าหนดไว้ 12 ฝ่าย เพิ่มขึ้นเป็น 22
ฝ่าย มีการแบ่งหน้าที่ความผิดชอบอย่างชัดเจนกว่าโครงสร้างเดิม ซึ่งการก าหนดโครงสร้างขึ้นใหม่นั้นเป็นไป
ตามมติของกองการเจ้าหน้าที่เพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจจากส่วนราชการภูมิภาคและจากส่วนกลางที่ได้
ก าหนดให้มีการเริ่มถ่ายโอนในปี พ.ศ. 2544 แต่การโอนภารกิจไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการก าหนดขั้นตอน
การกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การก าหนดโครงสร้างเพื่อรองรับจึงไม่สอดคล้องและ
เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการถ่ายโอนการศึกษาจากส่วนกลาง จนถึงขณะนั้นองค์การบริหารส่วน
จังหวัดก็ยังไม่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจ เนื่องจากปัญหาของกฎหมายและข้าราชการครูไม่สมัครใจโอนมา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งรัฐบาลก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 22