Page 35 - kpiebook64011
P. 35

รักไทย เขตที่ 3 นายประชา ประสพดี พรรคไทยรักไทย เขตที่ 4 นายจิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ พรรคไทยรักไทย
               เขตที่ 5 นางสลิลทิพย์ ชัยสดมภ์ พรรคไทยรักไทย และเขตที่ 6 นางสาวเรวดี รัศมิทัต พรรคราษฎร

               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากครบวาระ และมีการเลือกตั้งใหม่เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548

                       การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 มีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด

               สมุทรปราการ คือ เขตที่ 1 นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เขตที่ 2 นายประเสริฐ เด่นนภาลัย เขตที่ 3 นายวัลลภ
               ยังตรง เขตที่ 4 นายจิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ เขตที่ 5 นางสลิลทิพย์ ชัยสดมภ์ เขตที่ 6 นางสาวเรวดี รัศมิทัต
               และเขตที่ 7 นายประชา ประสพดี ซึ่งทั้งเจ็ดคนสังกัดพรรคไทยรักไทย ในเวลาต่อมามีการยุบสภาและมีการ
               เลือกตั้งใหม่เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 อย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การ

               เลือกตั้งเป็นโมฆะ ท าให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549 แต่ได้เกิดการรัฐประหารใน
               วันที่ 19 กันยายน 2549 ขึ้นเสียก่อน ส่วนพรรคไทยรักไทยถูกตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคในคดียุบ
               พรรคการเมืองเนื่องจากการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ภายหลังจากคดียุบพรรคนั้น กลุ่มไทยรักไทยมีมติ
               ที่จะส่งอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชน เพื่อลงรับเลือกตั้งครั้งใหม่หลังการ

               ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

                       หลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แล้วก็มีการเลือกตั้งทั่วไป

               เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการในการ
               เลือกตั้งครั้งนี้ คือ เขตที่ 1 นางอนุสรา ยังตรง นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย และนายสงคราม กิจเลิศ
               ไพโรจน์ เขตที่ 2 นายนที สุทินเผือก และนายจิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ และเขตที่ 3 นายประชา ประสพดี และ
               นางนฤมล ธารด ารงค์ ซึ่งทุกคนสังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาเมื่อพรรคพลังประชาชนถูกศาลรัฐธรรมนูญ

               วินิจฉัยให้ยุบพรรคในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 เนื่องจากเหตุทุจริตการเลือกตั้ง นักการเมืองในสังกัดพรรคพลัง
               ประชาชนซึ่งรวมถึงนักการเมืองสมุทรปราการกลุ่มนี้ได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ส่วนในกรณีของนาย
               สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลัง

               ประชาชน จึงมีการเลือกตั้งใหม่ในปี 2552 โดยนางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ ภรรยาของนายสงคราม ลง
               สมัครแทนสามีในนามพรรคเพื่อไทย ผลการเลือกตั้งนางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ แพ้นางสาวสรชา วีรชาติ
               วัฒนา จากพรรคประชาธิปัตย์ แต่ภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตัดสินให้ใบแดงนางสรชา วีรชาติ
               วัฒนา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ปรากฏว่านางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ชนะการเลือกตั้ง ต่อมาใน
               เดือนสิงหาคม 2553 นายนที สุทินเผือก และนายจิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ ได้ประกาศย้ายไปร่วมกิจกรรม

               ทางการเมืองกับพรรคภูมิใจไทย ท้ายที่สุดสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
               นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยุบสภา และมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554


                       การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
               สมุทรปราการ คือ เขตที่ 1 นางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ เขตที่ 2 นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย เขตที่ 3
               นางอนุสรา ยังตรง เขตที่ 4 นายวรชัย เหมะ เขตที่ 5 นางสลิลทิพย์ สุขวัฒน์ เขตที่ 6 นางสาวเรวดี รัศมิทัต

               และเขตที่ 7 นายประชา ประสพดี โดยทุกคนสังกัดพรรคเพื่อไทย ยกเว้นนางสาวเรวดี รัศมิทัต ที่ในการ
               เลือกตั้งครั้งนี้ได้ย้ายไปลงสมัครในนามพรรคภูมิใจไทย


                       จากการศึกษาวิจัยทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่ายังไม่มีการศึกษาการเมืองถิ่นในระดับขององค์การ
               บริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการอย่างเป็นการเฉพาะเจาะจง





                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   17
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40