Page 33 - kpiebook64011
P. 33

(2548) ที่เคยศึกษากลุ่มการเมืองต่าง ๆ ในสมุทรปราการโดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มของนายวัฒนา
               อัศวเหม กลุ่มของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคไทยรักไทย และกลุ่มของอดีตสมาชิกสภาผู้แทน

               ราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ งานของพรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า จึงฉายให้เห็นบทบาทของกลุ่มอัศว
               เหมคู่ไปกับบทบาทของนักการเมืองกลุ่มอื่นอย่างนายสนิท กุลเจริญ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคย
               สังกัดพรรคประชาธิปัตย์คนอื่น ๆ ด้วย


                       ส่วนกลุ่มนักการเมืองใหม่อย่างกลุ่มรัศมิทัตในงานของกฤตยาณี พิรุณเนตร (2557) นั้นเน้นไปที่
               บทบาททางการเมืองของนางสาวเรวดี รัศมิทัต ซึ่งเป็นนักการเมืองที่เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งตั้งแต่ปี 2544 ปี
               2548 ปี 2550 และปี 2554 โดยสังกัดพรรคการเมืองที่ไม่ซ้ ากันในแต่ละครั้ง และชนะการเลือกตั้งทั้งหมด 3

               ครั้งจาก 4 ครั้งดังกล่าว นางสาวเรวดี รัศมิทัตได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2544 สังกัดพรรคราษฎร พรรค
               เดียวกับนายวัฒนา อัศวเหมในขณะนั้น  ได้รับเลือกตั้งในปี 2548 โดยสังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาลงเลือกตั้ง
                                               4
               ในปี 2550 โดยสังกัดพรรคชาติไทยแต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้งในปี 2554 โดยสังกัดพรรคภูมิใจไทย
               กลุ่มรัศมิทัตมีฐานคะแนนเสียงที่เริ่มสร้างมาตั้งแต่นายอ านวย รัศมิทัต บิดาของนางสาวเรวดี รัศมิทัต ซึ่งเป็นผู้

               ที่มีบทบาททางการเมืองในระดับท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน เพราะเป็นก านันที่ต าบลบางน้ าผึ้ง อ าเภอพระ
               ประแดง มาตั้งแต่ปี 2517-2538 ฐานคะแนนเสียงของกลุ่มรัศมิทัตจะเป็นชาวบ้านดั้งเดิมและกลุ่มผู้น าชุมชน
               ในพื้นที่ และมีขอบเขตอยู่ภายในพื้นที่ของอ าเภอพระประแดง ซึ่งเป็นฐานคะแนนเสียงที่แข็งแกร่ง โดยในงาน
               ของกฤตยาณี พิรุณเนตร ชี้ว่าฐานคะแนนเสียงที่ว่านี้ท าให้นางสาวเรวดี รัศมิทัต มีความมั่นใจและกล้าตัดสินใจ

               ที่จะเข้าร่วมพรรคการเมืองอื่น ถึงแม้ว่าสมุทรปราการจะมีกระแสความนิยมของพรรคไทยรักไทยก็ตาม ทั้งนี้
               การไม่ได้รับเลือกตั้งของนางสาวเรวดี รัศมิทัตในปี 2550 เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขการมีเขตเลือกตั้งที่ใหญ่ขึ้น เขต
               เลือกตั้งหนึ่งครอบคลุมหลายอ าเภอ กล่าวคือ ในการเลือกตั้งปี 2550 สมุทรปราการถูกแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3

               เขต และในเขตหนึ่ง ๆ มีผู้แทนได้หลายคน (เขตที่ 1 มีผู้แทนได้ 3 คน ส่วนเขตที่ 2 และเขตที่ 3 มีผู้แทนได้ 2
               คน) ต่างจากการเลือกตั้งในปี 2548 ที่เคยมี 7 เขต และมีผู้แทนได้เขตละ 1 คน


                       ส่วนค าอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของบทบาทและโครงสร้างอ านาจในการเมืองสมุทรปราการ
               จากกลุ่มนักการเมืองเดิมอย่างอัศวเหมไปสู่กลุ่มนักการเมืองใหม่อย่างพรรคไทยรักไทยนั้น งานของกฤตยาณี



               4  ความเป็นมาของการที่นามสกุลรัศมิทัตเคยอยู่พรรคราษฎรซึ่งเป็นพรรคเดียวกับนายวัฒนา อัศวเหม เนื่องจากนายอ านวย
               รัศมิทัต มีบทบาททางการเมืองโดยเคยเป็นก านันมาก่อน แล้วต่อมานายวัฒนาก็ได้ชักชวนให้นายอ านวยมาสังกัดพรรคราษฎร
               เพื่อลงสมัครเลือกตั้งแข่งกับนายสนิท กุลเจริญ ที่ถือเป็นคู่แข่งทางการเมืองกับนายวัฒนามาโดยตลอด นางสาวเรวดี รัศมิทัต
               บุตรสาวของนายอ านวย เข้าสู่การเมืองโดยเริ่มต้นเข้าสังกัดพรรคราษฎรตามบิดา และลงสมัครเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2544
               และได้รับเลือกตั้ง ทั้งนี้ แม้ว่าจะสังกัดพรรคราษฎรของนายวัฒนา แต่ฐานคะแนนเสียงของนางสาวเรวดีทั้งหมดนั้นมาจากบิดา
               เป็นหลัก ต่อมานางสาวเรวดีได้ลาออกจากพรรคราษฎร เนื่องจากนายอ านวยและนายวัฒนาเกิดความขัดแย้งกันในเรื่องของ
               แนวคิดการท างาน กล่าวคือ นายอ านวยไม่สนองตอบตามนโยบายของกลุ่มอัศวเหม เนื่องจากเห็นว่านโยบายนั้นไม่เหมาะสม
               จึงท าให้เกิดความขัดแย้งขึ้น และลาออกจากพรรคราษฎรในที่สุด (กฤตยาณี พิรุณเนตร, 2557, น. 82)















                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   15
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38