Page 32 - kpiebook64011
P. 32

ไทยหลังจากที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบนั้นยังมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับขบวนการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน
               เผด็จการแห่งชาติหรือคนเสื้อแดงในพื้นที่ มีผลท าให้พรรคเพื่อไทยได้คุมอ านาจในสมุทรปราการ เห็นได้จากผล

               การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2554 ซึ่งผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยได้รับเลือกตั้งใน 6 เขตจากทั้งหมด 7 เขตของจังหวัด

                       งานของกฤตยาณี พิรุณเนตร (2557) เสนอว่าขั้วอ านาจของนักการเมืองในสมุทรปราการมีสองกลุ่ม

               คือ กลุ่มนักการเมืองเดิมอย่างอัศวเหม และกลุ่มนักการเมืองใหม่ที่ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งกลุ่มนักการเมืองใหม่แบ่งได้
               อีกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มนักการเมืองที่สังกัดพรรคเพื่อไทย และกลุ่มรัศมิทัต โดยกลุ่มรัศมิทัตนั้นเน้นไปที่
               บทบาทของนางสาวเรวดี รัศมิทัต ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี 2544


                       ส าหรับกลุ่มอัศวเหมนั้นแม้ว่าบทบาททางการเมืองระดับชาติจะลดลงไปมาก นับตั้งแต่ความพ่ายแพ้ใน
               การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2544 ประกอบกับการที่ต่อมาในปี 2551 ผู้น ากลุ่มคือนายวัฒนา อัศวเหม เผชิญคดี
               ความเรื่องทุจริตที่ดินคลองด่าน และต้องหลบหนีออกนอกประเทศด้วย แต่กลุ่มอัศวเหมก็ยังคงมีกระแสความ

               นิยมและบทบาททางการเมืองอยู่ โดยเฉพาะในการเมืองระดับท้องถิ่น กฤตยาณี พิรุณเนตร (2557) ชี้ว่ากลุ่ม
               อัศวเหมยังคงมีบทบาทในการเมืองระดับท้องถิ่นอยู่มาก แม้ว่านายวัฒนา อัศวเหมจะประสบปัญหาคดีความ
               แต่ก็มีการเปลี่ยนผ่านหัวหน้ากลุ่มอัศวเหมมาเป็นนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ซึ่งเป็นบุตรชายคนที่สาม (บุตรชาย
               คนเล็ก) ของนายวัฒนา อัศวเหม บทบาทในการเมืองระดับท้องถิ่นของอัศวเหมที่ยังเข้มแข็งเห็นได้จากการที่

               นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหมได้ด ารงต าแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการเมื่อปี 2554 อีกทั้ง
               เสียงในสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็เป็นของอัศวเหมเกินกึ่งหนึ่ง (จึงหมายความว่ากลุ่มอัศวเหมมีอ านาจ
               ทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนต าแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัด
               สมุทรปราการซึ่งเป็นต าแหน่งทางการเมืองในระดับชาตินั้นเป็นของพรรคเพื่อไทยเป็นส่วนใหญ่ การยังคงมี

               บทบาททางการเมืองในระดับท้องถิ่นของกลุ่มอัศวเหมแม้ว่าจะพ่ายแพ้ในการเมืองระดับชาติดูได้จากกรณีของ
               นายสมพร อัศวเหม (น้องชายของนายวัฒนา อัศวเหม) ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               สมุทรปราการในการเลือกตั้งปี 2547 (การเลือกตั้งรอบสอง) แต่การลงสมัครของนายสมพร อัศวเหมในครั้งนั้น

               ก็ยังเป็นการลงสมัครภายใต้รังของพรรคไทยรักไทย (พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า, 2548, น. 58)
               นอกจากนี้ยังมีนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม (บุตรชายของนายวัฒนา อัศวเหม) ที่ได้เป็นนายกเทศมนตรีนคร
               สมุทรปราการหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการในปี 2542 (ตอนนั้นนายกเทศมนตรี
               ยังมาจากการลงมติเลือกของสมาชิกสภาเทศบาล) อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               สมุทรปราการในปี 2550 กลุ่มอัศวเหมโดยผู้สมัครคือนายอัครวัฒน์ อัศวเหม (หลานชายของนายวัฒนา อัศว

               เหม) พ่ายแพ้ให้กับนายอ านวย รัศมิทัต แต่กลุ่มอัศวเหมก็กลับมาเอาชนะนายอ านวย รัศมิทัต รวมถึงผู้สมัคร
               จากพรรคเพื่อไทยได้ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปี 2554 โดยนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหมได้รับ
               เลือกตั้ง และได้ครองต าแหน่งมาจนกระทั่งมีค าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติสั่งให้ระงับการปฏิบัติ

               ราชการในปี 2558 – ขยายความเพิ่มเติมโดยผู้วิจัย)

                       ทั้งนี้ ความสนใจต่อบทบาทของกลุ่มนักการเมืองเดิมในงานของกฤตยาณี พิรุณเนตร (2557) นั้นสนใจ

               แต่เพียงกลุ่มอัศวเหม และไม่ได้นับรวมถึงกลุ่มของนายสนิท กุลเจริญ ซึ่งเป็นนักการเมืองที่ครองอ านาจใน
               สมุทรปราการมาอย่างยาวนานตั้งแต่การเลือกตั้งในปี 2518 จนกระทั่งพ่ายแพ้ในปี 2544 เช่นเดียวกับนาย
               วัฒนา อัศวเหม โดยกฤตยาณี พิรุณเนตร ให้เหตุผลว่ากลุ่มของนายสนิท กุลเจริญ มีบทบาททางการเมืองที่
               ลดลงไปมากจนเสมือนไม่มีความส าคัญในจังหวัดสมุทรปราการแล้ว ต่างจากกลุ่มอัศวเหมที่ยังมีบทบาททาง

               การเมืองอยู่ ดังนั้นงานของกฤตยาณี พิรุณเนตร จึงต่างจากงานของพรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   14
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37