Page 28 - kpiebook64011
P. 28

สมัยติดต่อกัน ตั้งแต่การเลือกตั้งในปี 2518 ปี 2519 ปี 2522 ปี 2526 ปี 2529 ปี 2531 ปี 2535 (เดือน
               มีนาคม) ปี 2535 (เดือนกันยายน) ปี 2538 และปี 2539 โดยสังกัดหลายพรรคการเมือง อีกทั้งได้ด ารงต าแหน่ง

               รัฐมนตรี 5 ครั้ง แต่หลังจากนั้นบทบาททางการเมืองของกลุ่มอัศวเหมในการเมืองระดับชาติก็เสื่อมถอยลง โดย
               มีกลุ่มนักการเมืองที่สังกัดพรรคไทยรักไทยและต่อมาคือพรรคเพื่อไทยขึ้นมาแทนที่ (งานที่กล่าวถึงบทบาท
               ทางการเมืองของอัศวเหมมีอยู่หลายชิ้นด้วยกัน พิจารณา พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า, 2548;
               กฤตยาณี พิรุณเนตร, 2557; เมธี ปรีชา, 2542; ธวัชชัย กฤติยาภิชาตกุล, 2541 โดยมีงานของพรชัย เทพ

               ปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า (2548) และงานของกฤตยาณี พิรุณเนตร (2557) ที่ศึกษาไปจนถึงการขึ้นมาแทนที่
               กลุ่มอัศวเหมของนักการเมืองที่สังกัดพรรคไทยรักไทย)


                       งานของพรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า (2548) กล่าวถึงการเมืองสมุทรปราการในช่วงตั้งแต่
               รัฐธรรมนูญปี 2517 เป็นต้นมาจนถึงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 โดยแสดงให้เห็นบทบาท
               ทางการเมืองของกลุ่มอัศวเหมซึ่งมีนายวัฒนา อัศวเหมเป็นตัวน า บทบาททางการเมืองของกลุ่มอัศวเหมเริ่ม
               ตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2518  โดยนายวัฒนา อัศวเหมเข้ามาคนแรก หลังจากนั้นได้น าเอานายสมพร อัศว

               เหม น้องชายของนายวัฒนา และนายพูนผล อัศวเหม บุตรชายของนายวัฒนาเข้ามาสู่การเมือง นอกจากนี้
               นายวัฒนา อัศวเหมยังสามารถน าเอาพลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ เข้ามาแจ้งเกิดทางการเมืองในจังหวัด
                                    3
               สมุทรปราการได้อีกด้วย  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่นายวัฒนา อัศวเหมสนับสนุนจะได้รับเลือกตั้ง การเมือง
               สมุทรปราการกับอัศวเหมจึงเสมือนเป็นภาพเดียวกัน และถ้าสังเกตบทบาททางการเมืองของนายวัฒนา อัศว

               เหม จะพบว่านายวัฒนา อัศวเหมไม่ได้ให้ความสนใจกับพรรคการเมืองหรือนโยบายพรรคมากนัก และค่อนข้าง
               เป็นอิสระทางการเมืองถึงแม้จะสังกัดพรรคก็ตาม โดยนายวัฒนา อัศวเหมเคยสังกัดพรรคการเมืองต่าง ๆ ไม่ว่า
               จะเป็นพรรคสังคมชาตินิยม พรรคชาติประชาชน พรรคราษฎร พรรคชาติไทย และพรรคประชากรไทย และก็

               ได้รับเลือกตั้งทุกครั้ง พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า จึงสรุปว่าการที่นายวัฒนา อัศวเหมได้รับเลือกตั้ง
               อาจเป็นเพราะบารมีของตัวเอง ในฐานะที่เป็นนักธุรกิจ และได้มีโอกาสเป็นรัฐมนตรี อีกทั้งมีอ านาจทาง
               การเมืองจนกระทั่งสามารถสร้างฐานการเมืองที่เข้มแข็งภายในจังหวัดได้


                       ทั้งนี้ งานของพรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า (2548) ไม่ได้กล่าวถึงแต่บทบาทของกลุ่มนาย
               วัฒนา อัศวเหม แต่อธิบายด้วยว่าการเมืองสมุทรปราการนั้นมีบทบาทของนักการเมืองสามกลุ่ม คือ


                       กลุ่มที่หนึ่ง คือ กลุ่มของนายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งได้แก่ ตัวนายวัฒนา อัศวเหมเอง ที่ได้รับเลือกตั้ง 10
               สมัยติดต่อกันตั้งแต่การเลือกตั้งในปี 2518 จนถึงการเลือกตั้งในปี 2539 ส่วนผู้ที่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
               ราษฎรกลุ่มของนายวัฒนา อัศวเหม เช่น นายสมพร อัศวเหม นายพูนผล อัศวเหม นายมั่น พัธโนทัย นาย

               ประดิษฐ์ ยั่งยืน และนายสมชาย สาดิษฐ์

                       กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มของอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีบทบาททางการเมืองคู่

               ไปกับนายวัฒนา อัศวเหม นักการเมืองในกลุ่มนี้นับตั้งแต่นายสุทิน กลับเจริญ ซึ่งได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง
               เดือนธันวาคมปี 2500 โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2512 ซึ่งคราวนั้นย้ายไป



               3  พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการครั้งแรกในการเลือกตั้งเดือน
               มีนาคม ปี 2535 โดยสังกัดพรรคชาติไทย และตัวพลอากาศเอกสมบุญก็เป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยระหว่างปี 2534-2535 ด้วย






                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   10
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33