Page 25 - kpiebook64011
P. 25
การเมืองต่าง ๆ นั้นก็ผูกพันกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการ อีกทั้งยังเชื่อมโยงไปกับเรื่อง
ของการเติบโตขึ้นของกลุ่มคน/ชนชั้นใหม่ ๆ ที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในสมุทรปราการ โดยเฉพาะใน
ฐานะฐานคะแนนเสียงหรือผู้ที่ลงคะแนนเสียงในพื้นที่
ในประการสุดท้าย งานการศึกษาเรื่องการเมืองในมิติของการเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการนั้น
สิ้นสุดลงในลักษณะของการมองว่าเกิดการเปลี่ยนผ่านทางอ านาจออกจากการเมืองระบบอุปถัมภ์แบบเดิมของ
กลุ่มอัศวเหม เมื่อนายวัฒนา อัศวเหม ต้องหลบหนีออกจากประเทศด้วยเรื่องของคดีความที่ว่าด้วยการทุจริต
1
ที่ดินคลองด่าน ส่วนบุตรชายไม่สามารถด ารงอ านาจได้ในระดับเบ็ดเสร็จเหมือนสมัยนายวัฒนา อัศวเหม อีก
ทั้งยังมีการเกิดขึ้นของเสื้อแดงในสมุทรปราการนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 2550 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม จากผลการเลือกตั้งทั้งในระดับชาติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 และในระดับองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ชี้ให้เห็นถึงการกลับมาของนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม (บุตรชาย
ของนายวัฒนา อัศวเหม) และตระกูลอัศวเหมเหนือกลุ่มทางการเมืองอื่น โดยที่ในระดับชาตินั้นพรรคพลัง
ประชารัฐได้ที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ 6 ที่นั่งจากทั้งหมด 7 ที่นั่ง และใน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐ 6 คนนี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดของกลุ่มอัศวเหม 5
คนดังที่สื่อมวลชนได้ชี้ไว้ ได้แก่ เขต 1 นายอัครวัฒน์ อัศวเหม เขต 2 นายยงยุทธ สุวรรณบุตร เขต 3 นางสาว
ภริม พูลเจริญ เขต 5 นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก และเขต 6 นายฐาปกรณ์ กุลเจริญ (ประชาชาติธุรกิจ, 2563,
11 สิงหาคม) ด้านพรรคเพื่อไทยไม่ได้ที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสมุทรปราการเลยแม้แต่คนเดียว
ส่วนในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอดีตภรรยาของนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม คือ นางสาวนันทิดา แก้วบัว
2
สาย เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ จึงท าให้ต้องมีการกลับมา
พิจารณาในเรื่องของพลวัตของการเมืองในมิติของการเลือกตั้งโดยเฉพาะในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัดใน
รอบนี้อีกครั้ง
2.1.1.1 การเมืองสมุทรปราการก่อนตระกูลอัศวเหม
งานของพรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า (2548) ศึกษาการเมืองสมุทรปราการโดยแบ่งออกเป็น
สามช่วง คือ ช่วงแรกตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงการสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 (จอมพลถนอม กิตติขจร ท ารัฐประหารตัวเองในปี 2514) ช่วงต่อมาคือช่วง
ตั้งแต่การใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 (หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) จนถึงการ
1 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองพิพากษาจ าคุกนายวัฒนา อัศวเหม เป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากใช้
อ านาจข่มขู่หรือจูงใจเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่ของส านักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ สาขาบางพลี ให้ออก
โฉนดที่ดิน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณประโยชน์และที่เทขยะมูลฝอยซึ่งเป็นที่หวงห้าม เพื่อน าไปขายให้กรมควบคุมมลพิษ
2 เคยปรากฏข่าวว่านายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม กับนางสาวนันทิดา แก้วบัวสายนั้นแยกกันอยู่ และนายชนม์สวัสดิ์ได้จดทะเบียน
สมรสกับนางสาวเจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ นักแสดงหญิง ในปี 2556 อย่างไรก็ดี ในปีต่อมานายชนม์สวัสดิ์ก็ได้หย่ากับนางสาวเจนี่
(ผู้จัดการออนไลน์, 2557, 29 กรกฎาคม)
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 7