Page 22 - kpiebook64011
P. 22
สมุทรปราการ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามจะถูกน าไปวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมทางสถิติ SPSS เพื่อวิเคราะห์ให้
เห็นความถี่ของค าตอบ ส าหรับบางค าถามที่กลุ่มตัวอย่างสามารถเลือกค าถามได้มากกว่า 1 ค าตอบ คณะผู้วิจัย
เลือกใช้ค าสั่ง multiple response ในโปรแกรมทางสถิติชนิดเดียวกัน เพื่อหาความถี่ของแต่ละค าตอบจาก
กลุ่มตัวอย่างจ านวน 96 คน (จ านวนกลุ่มตัวอย่างในข้อค าถามที่สามารถตอบได้มากกว่า 1 ข้อลดลงจาก 119
คน เหลือ 96 คน เพราะการตอบค าถามในแบบสอบถามบางฉบับไม่สมบูรณ์ ท าให้คณะผู้วิจัยต้องคัดข้อมูล
เหล่านั้นออก)
เครื่องมืออีกประเภทที่คณะผู้วิจัยเลือกใช้เพื่อเก็บข้อมูลเชิงทัศนคติ คือ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
กล่าวคือ คณะผู้วิจัยจัดเตรียมข้อถามที่จะใช้เพื่อการสัมภาษณ์เอาไว้ก่อนแล้ว คณะผู้วิจัยด าเนินการสัมภาษณ์
ผู้ให้ข้อมูลจ านวน 7 คน อันได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านจ านวน 2 คน ผู้น านักศึกษา 1 คน อดีตผู้น าอาสาสมัคร
สาธารณสุข 1 คน คณะกรรมการหมู่บ้าน 1 คน อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 1 คน
และนักธุรกิจผู้ด าเนินกิจการขนาดใหญ่ในพื้นที่ 1 คน การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลด าเนินตามรูปแบบบอกต่อ
กล่าวคือ คณะผู้วิจัยมักขอค าแนะน าจากผู้ให้ข้อมูลรายก่อนหน้าเพื่อให้ช่วยแนะน าผู้ให้ข้อมูลรายต่อ ๆ ไป ที่
สามารถตอบค าถามได้ โดยคณะผู้วิจัยได้เดินทางไปพบและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลแบบตัวต่อตัว (face to face
interview) ในขั้นตอนแรก ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ถูกบันทึกในรูปแบบของเสียง หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้
ด าเนินการถอดเสียงสัมภาษณ์ออกเป็นตัวอักษรเพื่อให้คณะผู้วิจัยได้อ่านความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลอย่าง
ละเอียด การวิเคราะห์เนื้อหา จัดกลุ่มความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลที่สามารถตอบค าถามได้เป็นกระบวนการที่
เกิดขึ้นหลังสุด
3) ข้อมูลเชิงพฤติกรรม ข้อค าถามที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ตลอดจนพฤติกรรมทางการเมืองของผู้คนในพื้นที่ซึ่งแสดงออกต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ ต้องอาศัยการลงพื้นที่และ
การสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในระหว่างการหาเสียง และการลงคะแนนเสียง คณะผู้วิจัยลงพื้นที่เพื่อไปสังเกต
พฤติกรรมการหาเสียงและพฤติกรรมทางการเมืองของคนในพื้นที่ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง และช่วงวันเลือกตั้ง
โดยคณะผู้วิจัยเลือกไปส ารวจพฤติกรรมการหาเสียงของผู้สมัครในเขตอ าเภอบางพลี และสังเกตการณ์การ
เลือกตั้งในเขตอ าเภอเมืองสมุทรปราการ ข้อมูลเชิงพฤติกรรมถูกบันทึกผ่านภาพถ่าย หรือหากไม่สะดวกที่จะ
บันทึกภาพ คณะผู้วิจัยก็จะจดบันทึกรายละเอียดของพฤติกรรมเหล่านั้นไว้เพื่อน ามาวิเคราะห์ต่อไป
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเพื่อน ามาใช้ประโยชน์ในทางวิชาการส าหรับการ
พัฒนาการปกครองท้องถิ่นและประชาธิปไตยต่อไป
2. ท าให้ทราบถึงสถานการณ์การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในปี 2563 ทั้งในเชิงความสัมพันธ์ระหว่าง
การเมืองระดับชาติและการเมืองระดับท้องถิ่น บรรยากาศทางการเมืองในพื้นที่ พฤติกรรมทางการเมืองของ
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง พฤติกรรมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รูปแบบการหาเสียง และปัจจัยที่ส่งผลต่อการ
ตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
3. มีข้อเสนอแนะต่อการจัดการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นทั้งในเชิงกฎหมายและในทางปฏิบัติ
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 4