Page 20 - kpiebook64011
P. 20

5. เพื่ออธิบายและผลิตองค์ความรู้เกี่ยวกับการเมืองและการเลือกตั้งขององค์การบริหารส่วนจังหวัด


               1.3 ค าถามการวิจัย


                       ค าถามที่ถูกใช้เป็นกรอบในการศึกษาคือ

                       1) การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

               สมุทรปราการปี 2563 สะท้อนให้เห็นการเมืองและการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่างไร

                       2) พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในแง่ปิดลับและเป็นทางการเป็นอย่างไร


                       3) พฤติกรรมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการตัดสินใจเลือกมีลักษณะอย่างไร และ


                       4) การจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นข้อบกพร่องหรือความผิดพลาดอย่างไร


               1.4 ขอบเขตการวิจัย

                       ขอบเขตการศึกษาการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี

               2563 แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ด้านแรก ขอบเขตเรื่องเวลา คณะผู้วิจัยแบ่งช่วงเวลาการเก็บข้อมูลเป็น 3 ช่วงหลัก
               กล่าวคือ ช่วงแรก นับตั้งแต่ผู้อ านวยการเลือกตั้งประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการประกาศให้มี
               การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการในวันที่
               29 ตุลาคม 2563 คณะผู้วิจัยเริ่มเก็บข้อมูลการจัดการเลือกตั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ

               และระดับพื้นที่ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้คณะผู้วิจัยด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครรับการเลือกตั้ง
               นโยบาย รูปแบบและวิธีการหาเสียง รวมถึงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการหา
               เสียงเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังติดตามรายงานข่าวของสื่อมวลชนใน

               ระดับประเทศและสื่อท้องถิ่นที่รายงานสถานการณ์การเลือกตั้งและการหาเสียงในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
               ช่วงที่สอง คณะผู้วิจัยลงพื้นที่ในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งก าหนดให้เป็น
               วันลงคะแนนเสียง เพื่อสังเกตการณ์การเลือกตั้ง การนับคะแนน และการประกาศผลคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง
               ในเขตอ าเภอเมืองสมุทรปราการ จากการลงพื้นที่ท าให้คณะผู้วิจัยได้ด าเนินการสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเชิง
               ทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ ช่วงที่สาม หลังจากวันที่ 20 ธันวาคม 2563

               คณะผู้วิจัยยังคงด าเนินการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการร้องคัดค้านผลการเลือกตั้ง รวมถึงการพิจารณาประกาศ
               คะแนนการเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้งใหม่ใน 3 หน่วยเลือกตั้ง จนถึงการประกาศรับรองผู้ชนะการเลือกตั้ง
               ของจังหวัดสมุทรปราการในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564


                       ด้านที่สอง ขอบเขตด้านพื้นที่ การศึกษาครั้งนี้มีพื้นที่วิจัยหลักอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งประกอบ
               ไปด้วย 6 อ าเภอกล่าวคือ อ าเภอเมืองสมุทรปราการ อ าเภอบางพลี อ าเภอบางบ่อ อ าเภอบางเสาธง อ าเภอ

               พระประแดง และอ าเภอพระสมุทรเจดีย์ ในพื้นที่ 6 อ าเภอมี 36 เขตเลือกตั้ง 1,931 หน่วยเลือกตั้ง คณะผู้วิจัย
               ด าเนินการส ารวจข้อมูลด้านการเลือกตั้งครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมด


                       ด้านที่สาม ขอบเขตด้านเนื้อหา การศึกษาครั้งนี้มีโจทย์หลักคือความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองในมิติ
               ของการเลือกตั้งท้องถิ่น (electoral politics) และความเชื่อมโยงระหว่างการเมืองของการเลือกตั้งท้องถิ่นกับ





                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   2
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25