Page 21 - kpiebook64011
P. 21

โครงสร้างอ านาจในพื้นที่และในระดับชาติ คณะผู้วิจัยพิจารณาโจทย์ดังกล่าวผ่านการเลือกตั้งนายกและสมาชิก
               สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ โดยศึกษาข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งซึ่งจะช่วย

               สะท้อนให้เห็นปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในพื้นที่ต่อการเลือกตั้ง พฤติกรรมการหาเสียง รูปแบบและวิธีการหาเสียง
               ของผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในรูปแบบทางการและปิดลับ ความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองในพื้นที่
               ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งกับพรรคการเมืองระดับชาติ รวมถึงพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่
               ตอบสนองต่อพฤติกรรมและการหาเสียงของผู้สมัคร อีกทั้งเงื่อนไขหรือชุดเหตุผลที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้

               ประกอบการตัดสินใจลงคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัคร นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงคุณภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
               กับการจัดการเลือกตั้ง และการเชื่อมโยงของการเมืองของการเลือกตั้งในท้องถิ่นกับการเมืองในระดับชาติ


               1.5 วิธีการศึกษา

                       เนื้อหาในนี้ส่วนอธิบายแนวทางที่คณะผู้วิจัยเลือกใช้เพื่อศึกษาการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภา

               องค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี 2563 โดยประกอบไปด้วยการชี้ให้เห็นถึงแหล่งข้อมูลที่คณะผู้วิจัยเลือกใช้
               เครื่องมือและวิธีการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล รวมถึงแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อน าเสนอค าตอบและ
               ข้อเสนอ


                       ข้อมูลที่คณะผู้วิจัยเลือกใช้เพื่ออธิบายการเมืองและการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหาร
               ส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563 ประกอบไปด้วย


                       1) ข้อมูลจากเอกสารอันได้แก่ ประกาศ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งนายก
               และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ระดับชาติและท้องถิ่นเกี่ยวกับการ

               เลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ แผ่นพับและป้ายหาเสียงของผู้สมัคร
               รับเลือกตั้ง นอกจากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งยังได้อนุญาตให้ผู้สมัครสามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการ
               หาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ ดังนั้นสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะเฟซบุ๊กที่ผู้สมัครใช้เผยแพร่นโยบายและ
               กิจกรรมการหาเสียงก็ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่ส าคัญในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัยค้นหาข้อมูลเหล่านี้ผ่าน
               แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อันเนื่องมาจากเอกสารราชการจ านวนมากถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่

               สามารถสืบค้นผ่านระบบออนไลน์ อาทิ ฐานข้อมูลเรื่องประกาศและข้อก าหนดต่าง ๆ ในฐานข้อมูลของ
               คณะกรรมการการเลือกตั้ง และรายงานข่าวของสื่อมวลชนผ่านเว็ปไซด์ของส านักข่าว ส าหรับข้อมูลเกี่ยวกับ
               การหาเสียงของผู้สมัครก็มักถูกแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัลที่สามารถสืบค้นได้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้สมัคร

               อย่างไรก็ตาม การลงพื้นที่เพื่อส ารวจและรวบรวมข้อมูลจากป้ายหาเสียงก็ยังจ าเป็นอยู่ เพราะจะท าให้เห็น
               ข้อมูลจากพื้นที่หาเสียงจริง ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่ถูกบันทึกเป็นภาพและตัวอักษร คณะผู้วิจัย
               รวบรวมข้อมูลเหล่านี้และอ่านข้อมูลแต่ละชิ้นอย่างละเอียดเพื่อค้นหาและสกัดข้อมูลที่ช่วยในการตอบค าถาม
               รวมถึงข้อมูลที่สามารถน าไปวิเคราะห์เพื่อสร้างเป็นข้อเสนอส าหรับการอธิบายการเมืองและการเลือกตั้งใน

               ระดับท้องถิ่นครั้งนี้

                       2) ข้อมูลเชิงทัศนคติ ค าถามบางส่วนในงานวิจัยต้องท าความเข้าใจผ่านทัศนคติหรือความคิดเห็นของผู้

               มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ คณะผู้วิจัยจึงเลือกใช้เครื่องมือ 2 ประเภทเพื่อส ารวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
               เครื่องมือแรก คณะผู้วิจัยเลือกใช้แบบสอบถามเพื่อส ารวจทัศนคติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจ านวน 119 คน โดยใช้
               วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (accidental selection) (ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ, 2552) กล่าวคือ
               กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ที่คณะผู้วิจัยพบเจอ แต่กลุ่มตัวอย่างต้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัด




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   3
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26