Page 24 - kpiebook64011
P. 24
บทที่ 2
การศึกษาการเมืองและการเลือกตั้งท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรปราการก่อนการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วน
จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563: บทส ารวจวรรณกรรมและกรอบแนวคิดในการวิจัย
ในบทนี้จะได้ท าการส ารวจวรรณกรรมและกรอบแนวคิดในการวิจัยว่าด้วยเรื่องการเลือกตั้งองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ บทส ารวจงานวิจัยที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับ
การเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการ และกรอบแนวคิดที่จะน ามาใช้อธิบายปรากฏการณ์ของการเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบัน
2.1 บทส ารวจงานวิจัยที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการ
ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาเรื่องของการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการอย่างเป็น
ระบบ อย่างไรก็ดี ในงานวิจัยเรื่องการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการฉบับนี้จะขอท าการส ารวจ
งานวิจัยที่ว่าด้วยเรื่องของการเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการในภาพรวม
เราสามารถพิจารณางานวิจัยที่ผ่านมาของการเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการได้เป็นสามกลุ่มงาน
ใหญ่ ได้แก่ 1) งานที่ว่าด้วยเรื่องของประวัติศาสตร์และพฤติกรรมการเลือกตั้งและพฤติกรรมทางอ านาจของ
กลุ่มการเมืองในสมุทรปราการ 2) งานที่ว่าด้วยเรื่องของบทบาทขององค์กรอิสระในการก ากับดูแลการเลือกตั้ง
และ 3) ปัญหาการในระดับโครงสร้างของการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับองค์การบริหารส่วน
จังหวัด
2.1.1 งานที่ว่าด้วยเรื่องของประวัติศาสตร์และพฤติกรรมการเลือกตั้งและพฤติกรรมทางอ านาจ
ของกลุ่มการเมืองในสมุทรปราการ
กล่าวโดยสรุป งานศึกษาเรื่องของการเมืองสมุทรปราการผ่านการศึกษาการเลือกตั้ง จะวางค าอธิบาย
หลักอยู่ที่เรื่องราวของการศึกษาประวัติศาสตร์ของการเติบโตของจังหวัดสมุทรปราการควบคู่ไปกับการเกิดขึ้น
และลด (เสื่อม) บทบาทลงของกลุ่มทางการเมืองที่ส าคัญ ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือตระกูลการเมือง จากกลุ่ม
หนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่ง
โครงเรื่องส าคัญของการศึกษาการเมืองของการเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการจึงผูกพันไปกับเรื่อง
ของการมีบทบาทของนายวัฒนา อัศวเหม และตระกูลของเขา (อัศวเหม) เป็นแกนกลาง โดยศึกษาการเมือง
ก่อนการเข้ามามีบทบาทของนายวัฒนา อัศวเหม และตระกูลของเขา ก าเนิดบทบาทของนายวัฒนา อัศวเหม
และตระกูล ความสัมพันธ์ระหว่างนายวัฒนา อัศวเหม กับคู่แข่งทางการเมืองกลุ่มอื่น ๆ
อีกหนึ่งปัจจัยที่ท าให้การศึกษาการเมืองในมิติของการเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการมีความน่าสนใจ
ก็คือ การท าความเข้าใจพลวัตของทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในจังหวัดสมุทรปราการ ที่เชื่อมโยงกับ
พลวัตดังกล่าวในระดับชาติ ทั้งในเรื่องของบทบาทของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่มีบทบาทในจังหวัด
สมุทรปราการ เพราะมีหัวหน้าพรรคการเมืองหรือสมาชิกพรรคระดับส าคัญของหลายพรรคการเมืองที่มีฐานที่
มั่นหรือภูมิล าเนาในจังหวัดสมุทรปราการ รวมไปถึงการเติบโตของความมั่งคั่งของนักการเมืองและกลุ่มทาง
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 6