Page 23 - kpiebook64011
P. 23
4. เกิดองค์ความรู้และแนวคิดเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเมือง การเลือกตั้ง และอ านาจของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดในการบริหารจัดการท้องถิ่น ในฐานะส่วนหนึ่งของการเมืองในระดับท้องถิ่นของไทย
1.7 โครงสร้างรายงาน
รายงานการศึกษาฉบับนี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาจ านวน 8 บท บทที่ 1 อธิบายประเด็นปัญหาและ
ความจ าเป็นที่น ามาสู่การศึกษาการเมืองและการเลือกตั้งในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัดครั้งนี้ นอกจากนี้
ยังได้อธิบายให้เห็นวัตถุประสงค์ แนวทางการศึกษา และคุณค่าที่จะเกิดขึ้นจากงานวิจัยชิ้นนี้
บทที่ 2 ส ารวจงานวิชาการเกี่ยวกับการเมืองและการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่เผยแพร่
ก่อนหน้าการเลือกตั้งครั้งนี้ การส ารวจผลงานทางวิชาการช่วยท าให้เห็นแนวคิด ประเด็น และองค์ความรู้ที่
ก ากับการอธิบาย กรอบการศึกษา และภาพลักษณ์องค์การบริหารส่วนจังหวัด
บทที่ 3 น าเสนอข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวจังหวัดสมุทรปราการในฐานะพื้นที่ของการศึกษา รวมถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง และประวัติเบื้องต้นของ
ผู้สมัคร ข้อมูลในบทนี้ช่วยปูพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจพื้นที่ซึ่งถูกใช้เป็นกรณีศึกษา รวมถึงเข้าใจตัวแสดงที่เข้า
แข่งขันในสนามเลือกตั้งครั้งนี้
บทที่ 4 วิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองระดับชาติกับการเลือกตั้งนายกและสมาชิก
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการในครั้งนี้ รวมถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และเครือข่ายของกลุ่ม
การเมืองที่ส าคัญในพื้นที่ทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งประกอบกอบด้วยกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าและกลุ่มรวมพลัง
สมุทรปราการ
บทที่ 5 น าเสนอพฤติกรรม รูปแบบ และวิธีการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเลือกใช้เพื่อการหาเสียง เนื้อหาใน
บทนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การหาเสียงแบบเป็นทางการที่ด าเนินไปตามกรอบของกฎหมาย และการหาเสียง
แบบปิดลับที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของกฎหมาย แม้จะอยู่นอกกรอบกฎหมายแต่การหาเสียงแบบปิดลับก็มีการวาง
ระบบและจัดโครงสร้างหน้าที่เอาไว้เป็นอย่างดี
บทที่ 6 อธิบายพฤติกรรมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่แสดงออกในการเลือกตั้งครั้งนี้ การ
แสดงออกทางการเมืองมีทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ อาทิ การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และความตื่นตัวและ
ความสนใจที่ท าให้การเลือกตั้งกลายเป็นประเด็นสาธารณะส าหรับการพูดคุยของคนในพื้นที่ เนื้อหาอีกส่วน
หนึ่งน าเสนอข้อมูลที่ได้จากการส ารวจทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับปัจจัยที่พวกเขาน ามาใช้ประกอบการ
พิจารณาตัดสินใจเลือกผู้สมัคร
บทที่ 7 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง พร้อมกับระบุหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบต่อการ
จัดการเลือกตั้งในแต่ละขั้นตอน นอกจากนี้ยังได้รวบรวมข้อร้องเรียน และปัญหาที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องใน
การจัดการเลือกตั้ง
บทที่ 8 ประมวลข้อสรุปส าคัญที่เกิดขึ้นจากการศึกษา รวมถึงจัดท าข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการ
เลือกตั้งในระดับท้องถิ่น
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 5