Page 26 - kpiebook64011
P. 26

เลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 และสุดท้ายคือช่วงยุคของปฏิรูปการเมืองและ
               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา


                       ส าหรับการเมืองสมุทรปราการก่อนตระกูลอัศวเหมก็คือการเมืองสมุทรปราการก่อนการเลือกตั้งในปี
               2518 โดยการเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

               พ.ศ. 2517 และเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกที่นายวัฒนา อัศวเหมได้เข้าสู่เส้นทางการเมือง

                       การเมืองของสมุทรปราการในช่วงแรกโดยภาพรวมจะให้ความส าคัญกับตัวนักการเมืองมากกว่าพรรค

               การเมือง นักการเมืองส่วนใหญ่ในจังหวัดเป็นเพียงบุคคลที่มีผู้รู้จักในระดับท้องถิ่นโดยดูจากประวัติครอบครัว
               และการท างาน นักการเมืองจะเปลี่ยนขั้วระหว่างฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคฝ่ายรัฐบาล เช่น
               พรรคเสรีมนังคศิลา หรือไม่ก็พรรคสหประชาไทย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่กับพรรคฝ่ายรัฐบาลมากกว่า เช่น
               นายสุทิน กลับเจริญ เมื่อลงเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งปี 2500 (เดือนธันวาคม) เป็นสมาชิกสภาผู้แทน

               ราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในการเลือกตั้งครั้งต่อมาในปี 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย บทบาทของ
               กลุ่มธุรกิจและกลุ่มอิทธิพลในจังหวัดยังไม่มีมากนักทางการเมือง เพราะทุกกลุ่มจะอยู่ภายใต้การดูแลของทหาร
               นักธุรกิจในยุคนั้นยังไม่คิดจะน าธุรกิจเข้าไปในระบบการเมือง คิดแต่เพียงการท าอย่างไรให้ธุรกิจสามารถ
               ด าเนินไปได้ด้วยดี ซึ่งต้องพึ่งพิงสถาบันทหาร นักธุรกิจส่วนใหญ่ไม่นิยมเล่นการเมือง เพราะทหารเป็นผู้กุม

               อ านาจทางการเมือง ดังนั้นธุรกิจจึงอิงผลประโยชน์กับทหารในเรื่องของผลประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้น การต่อสู้
               ทางการเมืองในจังหวัดสมุทรปราการในสมัยนั้นไม่รุนแรง ถ้อยทีถ้อยอาศัย และส่วนใหญ่เป็นพวกเดียวกัน (พร
               ชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า, 2548, น. 41)


                       ส าหรับรายละเอียดของนักการเมืองสมุทรปราการช่วงก่อนตระกูลอัศวเหมมีดังนี้


                       การเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม กล่าวคือ ประชาชน
               เป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนต าบลก่อน แล้วผู้แทนต าบลจะเป็นผู้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น
               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ คือ นายเขียน กาญจนพันธ์ สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎร
               ชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากสิ้นสุดตามวาระ


                       การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 มีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
               สมุทรปราการ คือ ขุนช านิอนุสาส์น สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากพระยาพหลพล

               หยุหเสนา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภา และมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481

                       การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 มีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด

               สมุทรปราการ คือ นายชอ้อน อ าพล สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากหม่อมราชวงศ์
               เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีได้ประกาศยุบสภาในปี 2488 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรยืดอายุมานานในช่วง
               สงครามจนสมควรแก่เวลา และมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 มกราคม 2489


                       อย่างไรก็ดี ในการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม 2489 ไม่ได้มีการเลือกตั้งของสมุทรปราการ เพราะ
               สมุทรปราการถูกยุบไปรวมกับจังหวัดพระนครตั้งแต่ปี 2485 จนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2489 รัฐบาลได้มี

               พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นมาใหม่อีกครั้ง







                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   8
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31