Page 27 - kpiebook64011
P. 27

สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งในปี 2489 สิ้นสภาพลงเนื่องจากการรัฐประหารในปี 2490
               หลังการรัฐประหารได้มีการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2491 ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ได้รับ

               เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ คือ นายอรุณ พันธ์พัก สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้
               สิ้นสุดลงเนื่องจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494


                       การเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อมาคือการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495 มีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น
               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ คือ นายเผด็จ ศิวะทัต สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจาก
               สิ้นสุดตามวาระ และมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500


                       การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 มีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
               สมุทรปราการ คือ นายเผด็จ ศิวะทัต โดยสังกัดพรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม สมาชิก
               ภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ท ารัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน

               2500 หลังจากนั้นนายพจน์ สารสิน ได้ด ารงต าแหน่งนายกรัฐมนตรี และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15
               ธันวาคม พ.ศ. 2500


                       การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500 มีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
               สมุทรปราการ คือ นายสุทิน กลับเจริญ โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ นายสุทิน กลับเจริญ จบการศึกษาจาก
               โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ประกาศนียบัตรช่างกล เป็นคนพื้นเพอ าเภอเมืองพระประแดง ได้ประกอบอาชีพเป็น

               พนักงานธนาคารศรีอยุธยาที่พระประแดง และเป็นพนักงานรถไฟแห่งประเทศไทย (พรชัย เทพปัญญา และ
               พงษ์ยุทธ สีฟ้า, 2548, น. 38) สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
               ท ารัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 และพาประเทศไทยเข้าสู่ช่วงว่างเว้นการเลือกตั้งจนกระทั่งมีการ
               ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511


                       การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 จัดขึ้นหลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
               ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
               สมุทรปราการ 2 คน คือ นายบุญถม เย็นมะโนช และนายสุทิน กลับเจริญ ทั้งคู่สังกัดพรรคสหประชาไทย ซึ่งมี

               จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค พื้นเพของนายบุญถม เย็นมะโนช เป็นคนอ าเภอคลองสาน จังหวัด
               ธนบุรี โดยมีคุณวุฒิทางการศึกษาจบชั้นมัธยม 8 และได้ไปศึกษาวิชาการคลังและธนาคาร ประเทศญี่ปุ่น
               ประกอบอาชีพเป็นกรรมการจัดการบริษัทสังกะสีไทยจ ากัดและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน การเข้าสู่

               ต าแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายบุญถม เย็นมะโนช ก็ได้มาจากการสังกัดพรรครัฐบาลอย่างพรรค
               สหประชาไทย ซึ่งได้อ านาจทางการเมืองจากทหาร (พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า, 2548, น. 40) ส่วน
               สาเหตุการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้เนื่องจากจอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอ านาจ
               ตัวเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514


                         2.1.1.2 การขึ้นมาและการครองอ านาจของนายวัฒนา อัศวเหม และตระกูลอัศวเหม


                       การขึ้นมาและการครองอ านาจของตระกูลอัศวเหมเห็นได้จากบทบาททางการเมืองของกลุ่มของนาย
               วัฒนา อัศวเหม หรือที่เรียกว่ากลุ่มปากน้ า ที่ครองอ านาจในพื้นที่สมุทรปราการมาอย่างยาวนาน เริ่มจากการที่
               นายวัฒนา อัศวเหมได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการเป็นครั้งแรกในการ

               เลือกตั้งเมื่อปี 2518 และในการเลือกตั้งครั้งต่อ ๆ มานายวัฒนา อัศวเหมก็ได้รับเลือกตั้งทุกครั้ง รวมทั้งสิ้น 10




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   9
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32