Page 30 - kpiebook64011
P. 30
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2529 การเมืองในสมุทรปราการยังคงเป็นการขับเคี่ยวกัน
ระหว่างนายวัฒนา อัศวเหม และพรรคประชากรไทย โดยผู้ได้รับเลือกตั้งในเขตที่ 1 คือ นายวัฒนา อัศวเหม
สังกัดพรรคราษฎร และนายสนิท กุลเจริญ พรรคประชากรไทย ส่วนเขตที่ 2 คือ ว่าที่ร้อยตรีณัฐ ศรีเฟื่องฟุ้ง
พรรคประชาธิปัตย์ และนายสมรรค ศิริจันทร์ พรรคประชากรไทย ในกรณีว่าที่ร้อยตรีณัฐ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้รับ
เลือกตั้งเข้ามาอาจเป็นเพราะเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในจังหวัด และอาจมีสาเหตุมาจาก
กระแสพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้นค่อนข้างดีด้วย (พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า, 2548, น. 46)
ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเมื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา และมีการ
เลือกตั้งใหม่ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2531
การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 ถูกมองว่าเป็นการแจ้งเกิดทางการเมืองของกลุ่มอัศว
เหมอย่างแท้จริง เพราะน้องชายของนายวัฒนา อัศวเหม ได้เข้าสู่เส้นทางการเมืองเป็นครั้งแรก อีกทั้งนาย
วัฒนา อัศวเหม ยังสามารถช่วยให้นายสมชาย สาดิษฐ์ ซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้ง
แรกได้รับเลือกตั้งด้วย (พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า, 2548, น. 47) จังหวัดสมุทรปราการในการ
เลือกตั้งครั้งนี้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นได้อีกหนึ่งคนในเขตที่ 1 ผู้ได้รับเลือกตั้งในเขตที่ 1 คือ นาย
วัฒนา อัศวเหม พรรคราษฎร นายสนิท กุลเจริญ พรรคประชากรไทย และนายสมชาย สาดิษฐ์ พรรคราษฎร
ส่วนในเขตที่ 2 คือ นายสมพร อัศวเหม (น้องชายของนายวัฒนา อัศวเหม) พรรคราษฎร และนายประเสริฐ
สุขวัฒน์ พรรคชาติไทย การกลับมาของนายประเสริฐ สุขวัฒน์ อาจจะเป็นเพราะผลจากการเพิ่มจ านวน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสมุทรปราการ และจากการยินยอมของนายวัฒนา อัศวเหม (พรชัย เทพ
ปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า, 2548, น. 47) ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากรัฐประหารเมื่อวันที่
23 กุมภาพันธ์ 2534
หลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ก็มีการเลือกตั้งทั่วไปใน
วันที่ 22 มีนาคม 2535 ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการในการเลือกตั้งครั้งนี้
คือ เขตที่ 1 นายวัฒนา อัศวเหม ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้เปลี่ยนไปสังกัดพรรคชาติไทย นายสนิท กุลเจริญ
พรรคประชากรไทย และนายประดิษฐ์ ยั่งยืน พรรคชาติไทย ส่วนเขตที่ 2 คือ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์
นายสมพร อัศวเหม และนายมั่น พัธโนทัย ซึ่งทั้งสามคนสังกัดพรรคชาติไทย ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้นาย
วัฒนา อัศวเหม สามารถน าเอาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการจากพรรคชาติไทยเข้าสู่สภาได้ถึง
ห้าคนด้วยกัน ท าให้กลุ่มอัศวเหมมีอิทธิพลทางการเมืองมากที่สุดในจังหวัด (พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สี
ฟ้า, 2548, น. 49) อย่างไรก็ดี สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากการยุบสภาภายหลังเหตุการณ์พฤษภา
ทมิฬ และมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 13 กันยายน 2535
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 มีกระแสความนิยมพรรคพลังธรรมในพื้นที่
กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผลกระทบถึงการเมืองของสมุทรปราการด้วย โดยมีผู้สมัครจากพรรคพลังธรรมได้รับ
เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเหนือไปจากความคาดหมายเดิมที่ว่าการ
เลือกตั้งครั้งนี้กลุ่มอัศวเหมน่าจะได้รับเลือกตั้งเข้ามาทั้งหมด ส าหรับผลการเลือกตั้งของสมุทรปราการในเขตที่
1 ผู้ได้รับเลือกคือ นายวัฒนา อัศวเหม พรรคชาติไทย นายวัลลภ ยังตรง พรรคพลังธรรม และนายสมชาย สา
ดิษฐ์ พรรคชาติไทย ส่วนเขตที่ 2 คือ นายประเสริฐ สุขวัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคชาติไทย ซึ่ง
คราวนี้สังกัดพรรคพลังธรรม นายสมพร อัศวเหม พรรคชาติไทย และนายมั่น พัธโนทัย พรรคชาติไทย ต่อมา
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 12