Page 29 - kpiebook64011
P. 29

สังกัดพรรคสหประชาไทย อีกคนหนึ่งคือนายสนิท กุลเจริญ ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2518 และปี 2519 โดยสังกัด
               พรรคประชาธิปัตย์ และย้ายมาลงเลือกตั้งในนามพรรคประชากรไทย โดยได้รับเลือกตั้งในปี 2522 ปี 2526 ปี

               2529 ปี 2531 ปี 2535 ปี 2538 และปี 2539 แต่สอบตกครั้งแรกในปี 2544 และเปลี่ยนไปลงสมัครรับ
               เลือกตั้งเป็นวุฒิสภาแทน และนายสุธีร์ อัศวาณิชย์ ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2518 และปี 2519 ส่วนในปี 2522
               ไม่ได้รับเลือกตั้ง นายสุธีร์ อัศวาณิชย์สังกัดพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด และไม่เคยเปลี่ยนพรรค ในภายหลัง
               นายสุธีร์ อัศวาณิชย์ได้เป็นนายกเทศมนตรีต าบลคลองสวน


                       นอกจากนี้ พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า ยังเสนอกลุ่มที่สาม คือ กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทน
               ราษฎรที่สังกัดพรรคไทยรักไทย ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มาแทนที่และมีบทบาทต่อจากกลุ่มของนายวัฒนา อัศว

               เหม โดยได้รับเลือกตั้งในปี 2544 และปี 2548

                       ส าหรับพื้นเพของนายวัฒนา อัศวเหม ก่อนเล่นการเมืองเคยประกอบธุรกิจต่าง ๆ และเป็นตัวแทนค้า

               น้ ามัน ส่วนคนที่ผลักดันให้นายวัฒนา อัศวเหม เข้าสู่การเมืองคือ นายสังข์ พัธโนทัย ผู้เป็นบิดาของนายมั่น พัธ
               โนทัย (พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า, 2548, น. 59)


                       ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 นายวัฒนา อัศวเหม ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น
               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการในนามพรรคสังคมชาตินิยม ซึ่งมีนายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
               เป็นหัวหน้าพรรค และได้รับเลือกตั้ง ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการอีกสองคนที่ได้รับ

               เลือกตั้งเข้ามาด้วย คือ นายสนิท กุลเจริญ และนายสุธีร์ อัศวาณิชย์ ซึ่งทั้งสองคนสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
               ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเมื่อหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศยุบสภา และมีการเลือกตั้ง
               ใหม่ในวันที่ 4 เมษายน 2519


                       ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2519 ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
               สมุทรปราการยังคงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดเดิม คือ นายสนิท กุลเจริญ จากพรรคประชาธิปัตย์ นาย
               สุธีร์ อัศวาณิชย์ พรรคประชาธิปัตย์ และนายวัฒนา อัศวเหม พรรคสังคมชาตินิยม ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรชุด
               นี้สิ้นสุดลงเนื่องจากรัฐประหารเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519


                       หลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 ก็ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ
               วันที่ 22 เมษายน 2522 ในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นทางการเมืองของพรรคประชากรไทยที่มีนายสมัคร

               สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรค ส าหรับผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ คือ
               นายสนิท กุลเจริญ พรรคประชากรไทย ซึ่งย้ายมาจากพรรคประชาธิปัตย์ นายสมรรค ศิริจันทร์ พรรค
               ประชากรไทย และนายวัฒนา อัศวเหม พรรคชาติประชาชน ส่วนนายสุธีร์ อัศวาณิชย์ พรรคประชาธิปัตย์

               ไม่ได้รับเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเมื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา
               และมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 18 เมษายน 2526


                       ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526 ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
               จังหวัดสมุทรปราการ คือ เขตที่ 1 นายวัฒนา อัศวเหม พรรคชาติไทย และนายสนิท กุลเจริญ พรรคประชากร
               ไทย ส่วนเขตที่ 2 คือ นายประเสริฐ สุขวัฒน์ พรรคชาติไทย และนายสมรรค ศิริจันทร์ พรรคประชากรไทย
               สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเมื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา และมีการ

               เลือกตั้งใหม่ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2529




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   11
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34