Page 31 - kpiebook64011
P. 31

สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา และมีการเลือกตั้ง
               ใหม่ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2538


                       ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 การเมืองสมุทรปราการยังคงมีกลุ่มของนายวัฒนา
               อัศวเหม ได้รับเลือกตั้งเข้ามามากที่สุดคือ 4 ที่นั่ง ผลการเลือกตั้งของสมุทรปราการในเขตที่ 1 คือ นายวัฒนา

               อัศวเหม พรรคชาติไทย นายวัลลภ ยังตรง พรรคพลังธรรม และนายสนิท กุลเจริญ พรรคประชากรไทย ส่วน
               เขตที่ 2 คือ นายประดิษฐ์ ยั่งยืน พรรคชาติไทย นายสมพร อัศวเหม พรรคชาติไทย และนายมั่น พัธโนทัย
               พรรคชาติไทย อย่างไรก็ดี สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากนายบรรหาร ศิลปอาชา ประกาศยุบสภา
               และมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539


                       ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ครั้งนี้นายวัฒนา อัศวเหม ได้ย้ายจาก
               พรรคชาติไทยมาสู่พรรคประชากรไทย และท าให้พรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้งเข้ามาแบบได้ทั้งจังหวัด ผล

               การเลือกตั้งในเขตที่ 1 คือ นายวัฒนา อัศวเหม นายพูนผล อัศวเหม (บุตรชายของนายวัฒนา อัศวเหม) และ
               นายสนิท กุลเจริญ ส่วนเขตที่ 2 คือ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ นายสมพร อัศวเหม และนายมั่น พัธโนทัย
               ซึ่งทั้งหกคนนี้สังกัดพรรคประชากรไทย ทั้งนี้ต้องกล่าวไว้ด้วยว่านายสนิท กุลเจริญนั้นเป็นนักการเมืองที่อยู่คน
               ละข้างกับนายวัฒนา อัศวเหมมาโดยตลอด และได้รับเลือกตั้งมาหลายสมัยเช่นเดียวกัน เพียงแต่ในภายหลังนั้น

               นายวัฒนา อัศวเหมได้ออกมาจากพรรคชาติไทยและไม่มีพรรคสังกัด จึงได้มาลงเอยที่พรรคประชากรไทย


                       หลังจากการเลือกตั้งรอบนี้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ต่อมาพลเอกชวลิตลาออก
               เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ท าให้สภาผู้แทนราษฎรต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และเกิด
               เหตุการณ์กลุ่มงูเห่า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชากรไทยกลุ่มของนายวัฒนา อัศว
               เหม ได้แหกโผของพรรคประชากรไทยไปสนับสนุนนายชวน หลีกภัยให้เป็นนายกรัฐมนตรี


                         2.1.1.3 การเสื่อมอ านาจของตระกูลอัศวเหม การเกิดเสื้อแดง และการคุมอ านาจของเพื่อไทย


                       นับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2544 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นภายใต้
               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 การเมืองสมุทรปราการได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบทบาทของ
               กลุ่มนักการเมืองไปเป็นอย่างมาก ผลการเลือกตั้งในปี 2544 แสดงให้เห็นการเสื่อมอ านาจทางการเมืองใน
               ระดับชาติของกลุ่มอัศวเหม และการเกิดกลุ่มนักการเมืองที่สังกัดพรรคไทยรักไทยขึ้นมาแทนที่ โดยผู้สมัคร

               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการที่เป็นกลุ่มของนายวัฒนา อัศวเหมแทบทั้งหมดไม่ได้รับเลือกตั้ง
               เข้ามาเลย จะมีก็เพียงแต่นางสาวเรวดี รัศมิทัต ผู้สมัครสังกัดพรรคราษฎรเพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกตั้ง ส่วน
               เขตอื่น ๆ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยสามารถก าชัยชนะได้ทั้งหมด ส่วนตัวนายวัฒนา อัศวเหม และพลอากาศ

               เอกสมบุญ ระหงษ์ ไม่ได้ลงสมัครเป็นผู้แทนเขต แต่ไปลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคราษฎร และไม่ได้
               รับเลือกตั้ง เพราะคะแนนรายชื่อของพรรคราษฎรไม่ถึงเกณฑ์ร้อยละ 5 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อีกทั้งในการ
               เลือกตั้งเมื่อปี 2548 นางสาวเรวดี รัศมิทัต ยังย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย และนักการเมืองจากพรรคไทยรัก
               ไทยก็ได้รับเลือกตั้งในทุกเขตของจังหวัดด้วย ต่อมาพรรคไทยรักไทยถูกยุบ นักการเมืองเก่าของพรรคก็ย้ายไป

               ด าเนินกิจกรรมในพรรคพลังประชาชน และเมื่อมีการเลือกตั้งในปี 2550 ผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชนใน
               จังหวัดสมุทรปราการก็ได้รับเลือกตั้งทุกคน นอกจากนี้ นายวัฒนา อัศวเหมยังเผชิญคดีความเรื่องทุจริตที่ดิน
               คลองด่านและหนีออกนอกประเทศ ท าให้นายวัฒนา อัศวเหมหมดบทบาททางการเมืองในสมุทรปราการ ส่วน
               ขั้วอ านาจของนักการเมืองที่สังกัดพรรคไทยรักไทยซึ่งต่อมาก็คือพรรคพลังประชาชนแล้วก็ย้ายมาพรรคเพื่อ




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   13
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36