Page 34 - kpiebook64011
P. 34

พิรุณเนตร (2557) ศึกษาไปที่ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในจังหวัด
               สมุทรปราการกับการเกิดขึ้นของกลุ่มนักการเมืองใหม่ โดยอธิบายว่า กลุ่มนักการเมืองใหม่ได้รับผลกระทบจาก

               การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในเชิงบวก กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมใน
               สมุทรปราการ ซึ่งมีการเปลี่ยนเมืองเกษตรกรรมให้เป็นเมืองอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของจ านวน
               ประชากร และมีการเคลื่อนย้ายของประชากรเป็นจ านวนมาก ประชากรเหล่านี้กลายเป็นตัวแปรส าคัญต่อ
               การเมืองสมุทรปราการ โดยประชาชนกลุ่มใหม่มีพฤติกรรมการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไป คือเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มี

               ความผูกพันกับกลุ่มการเมืองเดิม จึงท าให้ปัจจัยในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปด้วย
               โดยประชาชนให้ความส าคัญกับนโยบายของพรรคการเมือง ประชาชนในระดับชนชั้นกลางขึ้นไปจะให้
               ความส าคัญกับเรื่องนโยบาย ภาพลักษณ์ของผู้สมัครเป็นหลัก ส่วนประชาชนที่เป็นชนชั้นแรงงานซึ่งเป็นกลุ่มที่
               มีจ านวนไม่น้อยโดยแปรผันตรงตามจ านวนโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดก็ให้ความส าคัญกับนโยบายพรรค

               เช่นเดียวกัน และเนื่องจากพรรคไทยรักไทยพยายามชูนโยบายประชานิยมเพื่อตอบสนองความต้องการของคน
               กลุ่มนี้ จึงส่งผลให้เกิดกระแสความนิยมพรรคไทยรักไทยขึ้นในสมุทรปราการ และน าไปสู่การเกิดบทบาทและ
               โครงสร้างอ านาจของกลุ่มนักการเมืองใหม่ในจังหวัด ส่วนกลุ่มอัศวเหมไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความ
               ต้องการของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มใหม่ได้ จึงส่งผลต่อการเสื่อมลงของโครงสร้างอ านาจกลุ่ม

               นักการเมืองเดิม ทั้งนี้ บทบาทของกลุ่มนักการเมืองใหม่ที่เพิ่มขึ้นมานั้นไม่ได้มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทาง
               เศรษฐกิจโดยตรง เนื่องจากเศรษฐกิจของสมุทรปราการขับเคลื่อนด้วยกลุ่มทุนระดับใหญ่ จึงไม่มีความ
               เกี่ยวข้องกับกลุ่มนักการเมืองกลุ่มนี้ แต่เป็นเพราะกระแสพรรคการเมืองและการเคลื่อนย้ายประชากรที่ส่งผล

               ต่อฐานคะแนนเสียงของนักการเมืองกลุ่มใหม่

                       ส่วนงานของพรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า (2548) ก็ได้อธิบายว่าปัจจัยที่ท าให้อัศวเหมไม่ได้

               รับเลือกตั้งตั้งแต่ปี 2544 เป็นเพราะตัวผู้น าพรรคไทยรักไทย คือพันต ารวจโททักษิณ ชินวัตร (ยศที่มีใน
               ขณะนั้น) ที่ท าให้พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคที่มีนโยบายชัดเจนกว่าพรรคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ
               เปรียบเทียบกับพรรคราษฎร นโยบายของพรรคไทยรักไทยค่อนข้างจะเป็นรูปธรรม เช่น โครงการ 30 รักษา
               ทุกโรค เงินกองทุนหมู่บ้าน และโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ พรรคไทยรักไทยยังถือได้ว่าเป็นพรรคที่
               มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากที่สุดในการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุน เครื่องมือสื่อสาร และบุคลากร ปัจจัย

               เรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียวก็เป็นสิ่งส าคัญ เพราะประชาชนสามารถที่จะเลือกตัวแทนที่อยู่
               ในเขตเล็ก ๆ ของตนที่มีความผูกพันใกล้ชิด พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้ายังเสริมด้วยว่าปัจจัยส าคัญ
               อีกประการหนึ่งคือ หลังจากการปฏิรูปการเมือง ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น มีการรณรงค์ให้ประชาชน

               เข้าใจเรื่องการเลือกตั้ง และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการเมืองหลังปฏิรูปนั้นประชาชนเริ่มให้ความส าคัญ
               แก่นโยบายพรรค พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า ยังสรุปว่าการพ่ายแพ้ของกลุ่มนายวัฒนา อัศวเหมเป็น
               การพ่ายแพ้ต่อนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มากกว่าที่จะเป็นการพ่ายแพ้ต่อกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
               สังกัดพรรคไทยรักไทย และถือว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกลุ่มพรรคไทยรักไทยเป็นผู้แทนที่ได้มาเพราะ

               บารมีของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และนโยบายของพรรคไทยรักไทย

                       ส าหรับความเป็นไปของการเมืองสมุทรปราการในช่วงตั้งแต่การเสื่อมอ านาจของอัศวเหมจนถึงการคุม

               อ านาจของเพื่อไทยมีดังนี้

                       การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 มีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด

               สมุทรปราการ คือ เขตที่ 1 นายวัลลภ ยังตรง พรรคไทยรักไทย เขตที่ 2 นายประเสริฐ เด่นนภาลัย พรรคไทย




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   16
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39