Page 39 - kpiebook64011
P. 39
จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พบว่าคณะกรรมการ
เลือกตั้งมีความบกพร่องในหน้าที่ เช่นการไม่ยอมใช้อ านาจที่มีในการด าเนินการกับผู้สมัครซึ่งมีข้อสงสัยอันควร
เชื่อได้ว่ามีการทุจริตในการเลือกตั้ง และท าการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง โดยไม่ได้พิจารณาให้ใบเหลือง
หรือใบแดง นอกจากนี้ คณะกรรมการเลือกตั้งประจ าจังหวัดสมุทรปราการในขณะนั้นยังไม่ให้ความส าคัญกับ
องค์กรเอกชน สื่อมวลชนส่วนกลาง และสื่อมวลชนท้องถิ่นที่เข้าร่วมตรวจสอบการเลือกตั้งดังกล่าวอีกด้วย จรัส
พงษ์ เลาหประดิษฐ์สกุล (2551) ได้สรุปปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการการเลือกตั้ง ที่มีผลกระทบต่อ
ความสุจริตและเที่ยงธรรม ในงานศึกษาของตน ดังนี้
ปัญหาการแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยการประกาศการแบ่งเขตเลือกตั้งขาดความชัดเจนและมีความล่าช้า มี
ข่าวการใช้อิทธิพลท้องถิ่นกดดันการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้สมัครบางราย และระยะเวลาที่ให้ใช้
ในการลงพื้นที่ไม่เพียงพอต่อผู้สมัครหน้าใหม่ ปัญหาด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการสืบสวนสอบสวนและ
วินิจฉัย คณะกรรมการเลือกตั้งประจ าจังหวัดสมุทรปราการขาดแคลนบุคลากรในส่วนนี้ และท าการแก้ไขโดย
การขอยืมตัวบุคลากรจากหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งปฏิบัติงานได้เพียงชั่วคราว การขาดบุคลากรที่ท างานถาวรท าให้
กลายเป็นปัญหาส าคัญ หรือมีข้อสันนิษฐานว่าอาจเป็นเหตุผลทางการเมืองก็ได้ ปัญหาปริมาณงานของฝ่าย
สืบสวนสอบสวน เนื่องจากในการแจ้งข้อกล่าวหา หน้าที่ของบุคคลผู้ถูกร้องเรียนหรือร้องคัดค้านจะต้องน า
พยานมาหักล้างข้อกล่าวหา ในประการที่ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบห้าม ท าให้มีการน าพยานมาให้ถ้อยค าเป็น
จ านวนมาก หากพนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติงานมีไม่เพียงพอต่อการด าเนินการ และยังต้องรักษาความ
ระมัดระวังในการปิดลับของพยานเนื่องจากเหตุผลของความปลอดภัยอีกด้วย และปัญหาการพิจารณาค า
ร้องเรียนเรื่องทุจริตการเลือกตั้งหลังประกาศผลการเลือกตั้ง พบว่า การพิจารณาค าร้องเรียนจ ากัดเฉพาะเรื่อง
ร้องเรียนของผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุด แต่มิได้เรียกผู้สมัครรายอื่นซึ่งมีคะแนนรองลงมาที่ถูกร้องเรียนทุจริต
การเลือกตั้งมาพิจารณาในแบบเดียวกัน
จรัสพงษ์ เลาหประดิษฐ์สกุล (2551) ซึ่งท าการศึกษาคณะกรรมการเลือกตั้งประจ าจังหวัด
สมุทรปราการในขณะนั้น ให้ความเห็นว่ากระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการเลือกตั้งประจ าจังหวัดไม่ได้มี
ความเข้มข้นเหมือนกับการคัดเลือกคณะกรรมการเลือกตั้งกลาง และให้ข้อสังเกตว่า คณะกรรมการเลือกตั้ง
ประจ าจังหวัดสมุทรปราการบางคนมีภูมิหลังที่มีความสัมพันธ์กับนักการเมืองเก่าแก่ระดับชาติในจังหวัด
สมุทรปราการ ซึ่งเคยพบว่ามีปัญหาความเป็นกลาง และปัญหาทุจริตในการท างาน เมื่อพิจารณาร่วมกับปัญหา
และอุปสรรคในการบริหารการจัดการการเลือกตั้งข้างต้น ท าให้สรุปว่ามีผลให้การปฏิบัติหน้าที่ของ
คณะกรรมการเลือกตั้งประจ าจังหวัดไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ค าถามที่ส าคัญต่องานวิจัยในครั้งนี้ก็คือ การก ากับดูแลการเลือกตั้งในอดีตของคณะกรรมการการ
เลือกตั้งในพื้นที่สมุทรปราการมีประวัติที่ไม่ได้เป็นมาตรฐาน แม้ในงานวิจัยจะไม่ได้เชื่อมโยงกระบวนการท างาน
ดังกล่าวเข้ากับบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะโครงสร้างอ านาจทางการเมืองในพื้นที่ และ
ข้อสงสัยนี้อาจจะมีค าตอบบางส่วนในงานวิจัยฉบับนี้
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 21