Page 43 - kpiebook64011
P. 43

พิจารณาการเมืองในมิติของการเลือกตั้ง (electoral politics) และสนใจเรื่องความเปลี่ยนแปลงในระบบ
               อุปถัมภ์ ขณะที่แนวทางการศึกษาวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ที่ได้กล่าวไปแล้วมีข้อจ ากัดในเรื่องนี้


                       การศึกษาการเลือกตั้งในท้องถิ่นในยุคปัจจุบันจะไม่ได้ให้ความส าคัญกับแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ของ
               ระบบอุปถัมภ์ในแบบเดิม ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า patron-client relations แต่จะใช้ค าว่า clientelism

               แทน ซึ่งมีนัยยะว่า การศึกษาระบบอุปถัมภ์นี้อาจไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นหรือตกทอดมาจากอดีตเท่านั้น แต่อาจจะ
               ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ได้ และงานของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ ใน Viengrat Nethipo (2019) ชี้ให้เห็นจุดเปลี่ยนที่ส าคัญ
               ในการเมืองของระบบอุปถัมภ์ในการเลือกตั้งร่วมสมัย โดยชี้ให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนที่ส าคัญที่การเคลื่อนไหวในการ
               กระจายอ านาจอันเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน/การปฏิรูปการเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2540


                       งานของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ ใน Viengrat Nethipo (2019) ได้ชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงส าคัญของ
               ระบบอุปถัมภ์ในการเมืองไทย โดยชี้ว่า แม้รัฐไทยจะมีลักษณะที่รวมศูนย์อ านาจ มีระบบราชการเป็นฐานก าลัง

               ส าคัญ และมีอุดมการณ์น าบางอย่างที่ใช้ควบคุมสังคมไทย (hegemonic ideology) แต่ในระดับท้องถิ่นนั้น รัฐ
               รวมศูนย์ (ส่วนกลาง) ของไทยจะสามารถปกครองและขยายอ านาจได้ก็จะต้องกระท าผ่านความร่วมมือกับผู้มี
               อิทธิพลในท้องถิ่น (เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อ้างถึงงานของ ทามาดะ, 2539)


                       จากการศึกษาของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ ใน Viengrat Nethipo (2019) ชี้ให้เห็นว่า การศึกษาเรื่องของ
               การเมืองของระบบอุปถัมภ์ในการเลือกตั้งสามารถอธิบายออกเป็นสองยุคสมัยโดยมีจุดแบ่งส าคัญอยู่ที่การ

               ปฏิรูปการเมือง พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นส าคัญของการกระจายอ านาจที่เป็นรูปธรรม โดยก่อน พ.ศ. 2540
               นั้น การศึกษาเรื่อง “เจ้าพ่อ” ในการเมืองท้องถิ่นไทยถือเป็นเรื่องของการศึกษาการเมืองระบบอุปถัมภ์
               (clientelistic politics of chao pho) รูปแบบหลัก โดยเฉพาะในยุค 2520 ถึงก่อนปฏิรูปการเมือง 2540 โดย
               บรรดาเจ้าพ่อนี้สร้างความมั่งคั่งจากธุรกิจที่ผูกขาดสัมปทานของรัฐ หรือเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ซึ่ง
               จะต้องพึ่งพาการมีเครือข่ายกับข้าราชการชั้นสูง และอีกด้านหนึ่งจากการสร้างความมั่งคั่งก็คือเรื่องของการ

               สร้างสถานะที่เหนือกว่าคนอื่นในการเมืองท้องถิ่นผ่านระบบอุปถัมภ์ ท าให้เขาสามารถสั่งการหรือระดม
               ประชาชนในท้องถิ่นได้มีประสิทธิผลกว่าข้าราชการในพื้นที่ เวียงรัฐ เนติโพธิ์ ยังระบุว่า โดยทั่วไปแล้วเจ้าพ่อจะ
               ใช้เครือข่ายความสัมพันธ์กับข้าราชการเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับธุรกิจของตนเอง และก็จะแบ่งปัน

               ผลประโยชน์เหล่านี้กับข้าราชการในลักษณะที่สมประโยชน์กัน

                       ในอีกด้านหนึ่ง เจ้าพ่อยังขยายเครือข่ายการเป็นผู้อุปถัมภ์โดยการกระจายความมั่งคั่งไปยังชุมชนใน

               เขตอิทธิพลของเขา และน าเสนอผลประโยชน์ที่จับต้องได้ รวมไปความช่วยเหลือในรูปแบบของการปกป้อง
               คุ้มครองประชาชนของเขาจากการใช้อ านาจอันมิชอบของข้าราชการในท้องถิ่น บทบาทของเจ้าพ่อในฐานะผู้
               อุปถัมภ์นี้จึงท าให้เขามีอ านาจในการระดมประชาชน และจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะน าไปสู่การที่เขาจะมี
               บทบาทในการรณรงค์การเลือกตั้ง ซึ่งในบริบทนี้ก็อาจจะมีบางครั้งที่มีการใช้ความรุนแรงในการจัดการกับข้อ

               พิพาทที่เกิดขึ้น (Viengrat Nethipo, 2019) การศึกษาเรื่องเจ้าพ่อกับการเมืองท้องถิ่นก่อนปี 2540 มีฉันทามติ
               ร่วมกันว่า การเมืองที่มีฐานจากการเลือกตั้งเป็นปัจจัยส าคัญที่เสริมสร้างอ านาจให้กับเจ้าพ่อ และเปิดโอกาสให้
               เจ้าพ่อมีบทบาทส าคัญในการเมืองในระดับจังหวัด ขณะเดียวกันปัจจัยส าคัญที่ท าให้เจ้าพ่อมีอ านาจในการเมือง
               ท้องถิ่นนั้นก็คือความไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการที่รวมศูนย์อ านาจของรัฐ ซึ่งสะท้อนออกมาจากการที่รัฐ

               ไม่สามารถที่จะจัดหาบริการให้กับประชาชนในท้องถิ่น และความไร้สมรรถภาพและประสิทธิภาพของ
               ข้าราชการเอง และยิ่งท าให้เจ้าพ่อมีบทบาทส าคัญในการรักษาอ านาจในพื้นที่ (เวียงรัฐ เนติโพธิ์, 2546) และที่





                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   25
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48