Page 44 - kpiebook64011
P. 44
ส าคัญก็คือลักษณะของการเมืองระบบอุปถัมภ์แบบเจ้าพ่อของไทยก็คือการที่การเมืองท้องถิ่นเมื่อพิจารณาจาก
ระบบเจ้าพ่อและการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้นไม่ท าให้เกิดการเลื่อนสถานะทางสังคมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์และ
โครงสร้างอ านาจในท้องถิ่นมีลักษณะที่หยุดนิ่งขาดพลวัตและท าให้ประชาชนในท้องถิ่นยอมรับสภาพกับ
โครงสร้างเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ที่มี (Viengrat Nethipo, 2019)
ในทัศนะของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ ใน Viengrat Nethipo (2019) การศึกษาเรื่องของการเมืองของระบบ
อุปถัมภ์ในการเลือกตั้งนั้นมีจุดเปลี่ยนเมื่อมีการกระจายอ านาจที่มากับรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ทั้งนี้
เนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของรัฐ เพราะว่าการกระจายอ านาจได้ลดอ านาจของรัฐบาลที่
ส่วนกลางลง ดังนั้นจึงลดความส าคัญของความเชื่อมโยงระหว่างผู้มีอิทธิพลในจังหวัดกับข้าราชการที่มีอ านาจ
ในพื้นที่ซึ่งมาจากกรุงเทพ ความเปลี่ยนแปลงนี้ได้บ่อนเซาะความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ระหว่างรัฐกับผู้มีอิทธิพล
และผู้น าในระดับท้องถิ่นได้มีทางเลือกในการเข้าสู่/เข้าถึงอ านาจรัฐในรูปแบบของการมีต าแหน่งในองค์การ
บริหารส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ท าให้ไม่มีความจ าเป็นต้องรักษาโครงสร้างความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ที่มีต้นทุนสูง
และมีความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นฐานของรูปแบบของระบบเจ้าพ่อ และเมื่อผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการ
เลือกตั้งในท้องถิ่นและมีต าแหน่งทางการเมืองในระดับท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนในท้องถิ่นและผู้
มีอิทธิพลก็ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป เพราะในฐานะที่เป็นผู้บริหารในระดับท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของ
ประชาชน พวกเขาจะต้องจัดหาบริการตามระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานที่พวกเขาเข้ามาบริหาร ไม่ใช่ในฐานะ
ที่เขาเป็นเจ้าพ่อ และการจัดสรรงบประมาณก็ท าให้ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งเหล่านี้สามารถส่งผ่าน
อ านาจอุปถัมภ์ลงสู่ประชาชนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการมีเครือข่ายความสัมพันธ์กับข้าราชการระดับสูงที่ทรง
อ านาจที่ถูกส่งมาจากส่วนกลาง และภายหลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ใคร ๆ ก็สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้
โดยไม่จ าเป็นต้องเป็นเจ้าพ่อ นอกจากนั้นแล้วผลที่ตามมาอีกประการหนึ่งก็คือการที่ความรุนแรงในการเมือง
ท้องถิ่นก็ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปเป็นการต่อสู้ผ่านการเลือกตั้ง (Viengrat Nethipo, 2008 อ้างใน Viengrat
Nethipo, 2019)
ในรายละเอียดภายหลังการปฏิรูปทางการเมือง และการเริ่มต้นกระบวนการกระจายอ านาจเมื่อ พ.ศ.
2540 จนถึงก่อนการรัฐประหาร 2557 งานของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ (2558) ชี้ว่าพลวัตของการเมืองในมิติของการ
เลือกตั้งทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ทางอ านาจในหลาย
ประการ ได้แก่ การที่ระบบพรรคการเมืองที่เข้มแข็งได้สร้างกลไกแบบจักรกลการเมือง (machine politics)
คือเครือข่ายการสร้างฐานคะแนนเสียงภายใต้ผลประโยชน์ร่วมกันในนามพรรคการเมือง พรรคการเมืองได้
เชื่อมโยงการเลือกตั้งระดับชาติกับอ านาจน าในระดับท้องถิ่น อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นนั้นก็ยัง
มีมิติของทั้งการที่พรรคการเมืองในส่วนภาพลักษณ์และในส่วนของนโยบายมีบทบาทในการน าเสนอทางเลือก
ให้กับประชาชนผ่านการเชื่อมโยงกับนักการเมืองท้องถิ่นเดิม และตัวนักการเมืองที่ไม่ได้ขึ้นตรงต่อพรรค
การเมือง หรือสามารถย้ายพรรคได้ และยังคงมีเส้นสายกับระบบราชการเพื่อเข้าถึงงบประมาณเหมือนที่ผ่าน
มา แต่ทั้งนี้สถาบันหัวคะแนนก็ยังมีบทบาทส าคัญทั้งในการเลือกตั้งระดับชาติและในระดับท้องถิ่น แต่ก็มี
ประชาสังคมใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาทในท้องถิ่นด้วย
กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ งานของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ ชี้ว่า ระบบอุปถัมภ์อาจจะยังมีอยู่ในการเมืองทั้งใน
ระดับท้องถิ่นและในระดับชาติ แต่ไม่ใช่ตัวแบบเดียว โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น อีกทั้งการซื้อเสียงไม่ใช่สิ่งที่ท า
ได้ง่าย หรือปราศจากเงื่อนไขของการซื้อใจในท้องถิ่นท่ามกลางความตื่นตัวของประชาชน และการซื้อเสียงโดย
ไม่ซื้อใจนั้นไม่ใช่หลักประกันที่จะได้รับชัยชนะ ที่ส าคัญเกิดการแบ่งหน้าที่กันระหว่างนักการเมืองระดับชาติกับ
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 26