Page 49 - kpiebook64011
P. 49

สหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าใจในเชิงเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์เจ้าพ่อในการเมืองท้องถิ่นไทย เวียงรัฐ เนติโพธิ์
               อธิบายว่า การเมืองแบบจักรกล (machine politics) หรือแบบ bossism เป็นลักษณะเฉพาะของการเมือง

               ของนคร (city politics) ในอเมริกาในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 จนถึงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 เช่น
               นิวยอร์กและชิคาโก้


                       การเมืองแบบจักรกลนั้นกล่าวถึงองค์กรที่เรียกว่าจักรกลการเมือง (political machine) ที่ท าหน้าที่
               ในการหาคะแนนเสียงและรักษาฐานคะแนนเสียงของนักการเมือง เปรียบได้กับระบบหัวคะแนนของไทย แม้ว่า
               สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นทั่วโลก แต่กรณีของสหรัฐอเมริกานั้นมีลักษณะเฉพาะคือเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองระบบ
               พรรค (party politics) และมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นระหว่างปี ค.ศ. 1829-1837 โดยฐานเสียงสนับสนุน

               การเมืองแบบนี้ขึ้นอยู่กับชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายในเมืองใหญ่ มากกว่าจะขึ้นอยู่กับชนชั้น ด้วยว่าการอพยพ
               ของผู้คนมากหน้าหลายตาเข้ามาในพื้นที่เมืองนั้นมาพร้อมกับการขยายสิทธิการเลือกตั้งให้คนเหล่านั้น และ
               พวกเขาจ าต้องพึ่งพากลไกของระบบจักรกลในการปรับตัวในสังคมใหม่ (เวียงรัฐ เนติโพธิ์, 2542)


                       อีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจก็คือค าว่า “จักรกล” นั้นมีความหมายไปในทางลบ มีนัยยะถึงการคอร์รัปชัน
               และเกี่ยวพันกับสิ่งที่ผิดกฎหมาย เวียงรัฐ เนติโพธิ์แปลค าว่า boss ว่าเจ้าพ่อ และมองว่าโครงสร้างการจัด
               องค์กรของจักรกลการเมืองมีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน เช่นกัปตันหน่วยเลือกตั้ง (precinct captain) ก็คือ

               หัวคะแนน โดยหัวหน้าใหญ่ก็คือ boss ซึ่งอาจจะเป็นคน ๆ หนึ่ง หรือคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีการจัดตั้งอย่างดี และ
               โครงสร้างขององค์กรนี้มีการใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวสูงโดยกัปตันนั้นจะมีความคุ้นเคยกับท้องที่ของตัวเองเป็น
               อย่างดี จักรกลมีฐานเป็นส่วนหนึ่งของพรรคการเมืองท าหน้าที่หาคะแนนเสียงให้กับนักการเมืองของตน เพื่อ
               เลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น โดยนักการเมืองเหล่านี้จะใช้ต าแหน่งของตนให้การตอบแทนกับผู้ออกเสียงที่

               จงรักภักดีโดยใช้จักรกลการเมืองเป็นตัวส่งผ่านการตอบแทนนี้ โดยการตอบแทนที่ว่าอาจจะเป็นการให้งานท า
               การให้บริการสาธารณะ หรือการท าสัญญาธุรกิจกับรัฐบาลท้องถิ่น หรือรูปแบบอื่น ๆ จักรกลการเมืองนี้อาจจะ
               มีอยู่ในหลายพื้นที่ แต่มักอยู่ในพื้นที่การปกครองระดับเมือง (ขึ้นไป)


                       สิ่งที่เราเรียนรู้จากค าจ ากัดความนี้ก็คือเรื่องของความเข้าใจว่า จักรกลเป็นองค์กร มีความเป็นสถาบัน
               และมีการก าหนดเป้าหมาย มีนโยบาย มีผู้น า และมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง รวมทั้งมีการขับเคลื่อนไปใน

               พลวัตทางการเมือง และในอีกด้านหนึ่งการเสื่อมถอยของการเมืองแบบจักรกลก็เกิดขึ้นเมื่อจักรกลเหล่านี้ไม่
               สามารถท าหน้าที่ให้ฐานคะแนนของเขาได้ อาจเพราะว่าฐานคะแนนซึ่งเป็นผู้อพยพนั้นสามารถปรับตัวเข้าเป็น
               พลเมืองในสังคมอเมริกาได้แล้ว มีการเขยิบฐานะทางสังคมของฐานคะแนนเสียงเก่า  สื่อมวลชนมีบทบาทมาก
               ขึ้นในการรายงานพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองในระบบจักรกลนี้ โดยเฉพาะการคอร์รัปชัน และ

               ทัศนคติในเรื่องของการคอร์รัปชันของนักการเมืองในระบบจักรกลนั้นเป็นสิ่งที่รับไม่ได้อีกต่อไป (เวียงรัฐ เนติ
               โพธิ์, 2542)


                       ในตอนท้ายของบทความของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ (2542) ได้ชี้ให้เหนถึงพลวัตของจักรกลการเมืองกับ
               การศึกษาเปรียบเทียบ โดยยกตัวอย่างงานของ Scott (1969 อ้างใน เวียงรัฐ เนติโพธิ์, 2542) ที่พยายามศึกษา
               พัฒนาการของจักรกลการเมืองในอเมริกาเพื่อหาตัวแบบมาใช้เป็นแนวทางสู่การศึกษาการใช้อิทธิพลทาง
               การเมืองในประเทศเกิดใหม่ในเอเชียและแอฟริกา ซึ่งมีความแตกต่างในแง่บริบทจากอเมริกา ซึ่งอ านาจมี

               ลักษณะกระจายตัว ขาดการจัดองค์กรทางสังคม และมีความยากจนของประชากรจ านวนมาก โดยมีข้อค้น
               พบว่า เงื่อนไขที่ท าให้การเมืองแบบจักรกลไม่เกิดในประเทศเกิดใหม่ก็คือการขาดพัฒนาการของการเลือกตั้ง





                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   31
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54