Page 50 - kpiebook64011
P. 50

และการแข่งขันระหว่างพรรคการเมือง การไม่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งอุปสรรคจากกลุ่ม
               อื่น ๆ ทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่เอื้อให้กับองค์กรแบบจักรกลฯ แต่กระนั้นก็ดีการไม่มีระบบพรรคการเมืองที่

               การเมืองจักรกลเป็นส่วนหนึ่งนั้น ก็ยังมีเรื่องของความสัมพันธ์แบบจงรักภักดี การอุปถัมภ์ และการให้
               ประโยชน์ต่างตอบแทนแบบเดียวกันกับการเมืองแบบจักรกลของอเมริกา และถือว่าการเมืองแบบจักรกลเช่นนี้
               ก็มีอิทธิพลต่อการเมืองของประเทศโลกที่สาม


                       ในงานชิ้นหลัง ๆ ของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ (2558) เวียงรัฐ เนติโพธิ์แยกระบบจักรกลการเมืองออกจาก
               ระบบเจ้าพ่อ (atomized godfather) โดยจักรกลการเมืองนั้นเวียงรัฐมองว่าเป็นระบบหัวคะแนนและการ
               แลกเปลี่ยนความสัมพันธ์และตอบแทนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ตั้งแต่งบประมาณ การให้สัมปทานธุรกิจ

               และต าแหน่งการงานต่าง ๆ หรือสิ่งของเงินทอง แต่จุดส าคัญคือระบบจักรกลการเมืองนั้นเริ่มหมดความส าคัญ
               ลงเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยมีการเลื่อนชั้นทางสัคมและการเมือง หัวคะแนนสามารถเลื่อนชั้นไป
               เป็นนักการเมืองท้องถิ่น และไปเป็นผู้น าของจักรกล และชนชั้นล่างปรับเปลี่ยนไปเป็นชนชั้นกลาง ขณะที่ระบบ
               เจ้าพ่อแบบของไทยนั้นเป็นระบบอ านาจที่ไม่เป็นทางการที่ครอบคลุมพื้นที่ระดับจังหวัดหรือภูมิภาค มัก

               เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ชอบธรรม การแลกเปลี่ยนผลประโยชนน์ในหลายระดับเกิดขึ้นในการเมืองแบบนี้แต่มี
               ความไม่ชอบธรรมในการตอบแทนทางธุรกิจ มีการปกป้องกันจากอ านาจรัฐ และอุปถัมภ์ประชาชนรากหญ้า
               ระบบการจัดองค์กรเป็นระบบพวกพ้อง ไม่มีการรวมกลุ่มที่ชัดเจน ไม่มีการเลื่อนล าดับชั้น เว้นแต่จะใช้ความ
               รุนแรงในการเลื่อนชั้น เช่น (ลอบ) สังหาร อีกทั้งระบบเจ้าพ่อไม่ได้ยึดโยงกับพรรคการเมืองอย่างชัดเจน


                       กล่าวโดยสรุปแม้ว่าการศึกษาในเรื่องจักรกลทางการเมืองจะท าให้เราได้เห็นการจัดวางเครือข่ายของ
               ความสัมพันธ์ในแบบการจัดองค์กรทางการเมืองในท้องถิ่นหรือโครงสร้างอ านาจในท้องถิ่น แต่สุดท้ายงานของ

               เวียงรัฐ เนติโพธิ์ชิ้นหลัง (2558) กลับให้ความส าคัญกับการท าความเข้าใจการเมืองในมิติของการเลือกตั้งโดย
               เน้นไปที่การถกเถียงในเรื่องระบบอุปถัมภ์และการเมืองในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์ โดยมองว่าจักรกล
               การเมืองเป็นเรื่องที่ไม่ใช่การเมืองท้องถิ่นของไทย (อีกต่อไป) อาจเพราะว่าพรรคการเมืองมีบทบาทมากขึ้นใน

               ท้องถิ่นตั้งแต่ยุคไทยรักไทย และการฟันธงว่าระบบเจ้าพ่อของไทยกับผู้น าจักรกล (boss) นั้นไม่เหมือนกัน ค า
               ว่าจักรกลจึงเป็นเพียงค าเปรียบเปรยมากกว่าการเปรียบเทียบ ในความหมายที่ว่าค าว่าจักรกลเป็นการอธิบาย
               การมีอยู่ซึ่งระบบหัวคะแนน แต่จุดเน้นของงานคือการอธิบายการเกิดขึ้นของระบบการเมืองในท้องถิ่นแบบ
               ใหม่ที่ไม่ใช่มีแต่การเมืองแบบระบบอุปถัมถ์ อันเนื่องมาจากการกระจายอ านาจที่เปิดให้ผู้เล่นใหม่ ๆ เข้าสู่

               สนามทางการเมืองท้องถิ่นได้

                       ในงานวิจัยฉบับนี้ต้องการจะน าเอากรอบการศึกษาเรื่องจักรกลทางการเมืองเข้ามาศึกษาการเมือง

               ท้องถิ่นในมิติของการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง เหตุผลส าคัญก็คือการศึกษาระบบอุปถัมภ์นั้นไม่สามารถแยกขาดจาก
               การท าความเข้าใจจักรกลการเมืองได้ แต่การเข้าใจจักรกลการเมืองในรอบนี้จะแตกต่างจากกรอบคิดที่น าเสนอ
               โดยเวียงรัฐ เนติโพธิ์ ด้วยว่าการท าความเข้าใจการเมืองแบบจักรกล/จักรกลการเมืองนี้ไม่ต้องการอธิบายง่าย ๆ
               ว่า จักรกลการเมืองในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกานั้นเท่ากับระบบเจ้าพ่อของไทยหรือไม่ แต่ต้องการ

               อธิบายจักรกลการเมืองของไทยในปัจจุบัน ซึ่งงานวิจัยนี้มีสมมติฐานว่ามีลักษณะที่ไม่ใช่ทั้งการเมืองแบบจักรกล
               ในอดีตของอเมริกา และเจ้าพ่อในการเมืองไทยก่อนปี พ.ศ. 2540


                       เหตุผลส าคัญที่งานวิจัยต้องการท าความเข้าใจพลวัตของจักรกลการเมือง หรืออย่างน้อยไม่ทิ้งเรื่อง
               ของจักรกลการเมืองออกจากเรื่องของระบบอุปถัมภ์ เพราะค าอธิบายเรื่องระบบอุปถัมภ์มักจะสนใจ





                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   32
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55