Page 48 - kpiebook64011
P. 48

งานของโอฬาร ถิ่นบางเตียวชี้ว่า ระบบอุปถัมถ์ยังมีความส าคัญในการเมืองท้องถิ่น โดยเฉพาะในภาค
               ตะวันออก และมองการด ารงอยู่และพลวัตของมันในแง่ของการสะสมทุนทางวัฒนธรรม (social capital) ที่

               เชื่อมประสานกับระบบเศรษฐกิจการเมือง คือการสะสมทุน และการสร้างเครือข่ายอ านาจทางการเมือง ที่
               เชื่อมโยงทั้งกับชาวบ้าน เครือข่าย และเครือญาติ รวมทั้งระบบราชการ และเครือข่ายการเมืองระดับชาติ


                       เมื่อท าการส ารวจงานวิจัยหลักเรื่องการเมืองท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับระบบอุปถัมภ์ทั้งสองกลุ่ม/แนวคิด
               ใหม่นี้ ค าถามที่ส าคัญก็คือ การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดในจังหวัดสมุทรปราการเมื่อวันที่ 20
               ธันวาคม 2563 นี้จะเป็นไปอย่างไร เพราะมีปัจจัยส าคัญอีกประการหนึ่งที่ต่างจากงานทั้งสองชิ้นนี้ก็คือการ
               เลือกตั้งท้องถิ่นนี้เป็นการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุดแรก หลังการยึดอ านาจการเมืองการปกครอง

               นับตั้งแต่การท ารัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อปี 2557 และเป็นครั้งแรก/ชุดแรกหลังจาก
               การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งแรก
               หลังจากเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยภายหลังการครองอ านาจอันยาวนานในระบอบเผด็จการ อย่างไรก็ตาม ยัง
               มีข้อถกเถียงกันอยู่ว่า การเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในครั้งนี้ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่เปลี่ยนไปสู่

               ประชาธิปไตย หรือเป็นเพียงการเลือกตั้งเพื่อรักษาอ านาจเผด็จการเอาไว้กันแน่ (โปรดดูทฤษฎีการเลือกตั้งและ
               การปกครองท้องถิ่นในสังคมเผด็จการในส่วนท้ายของบทนี้ ซึ่งน าเสนอจากกรณีรัสเซีย)


                       นั่นหมายความว่า ข้อค้นพบในงานวิจัยนี้จะพยายามมีบทสนทนากับข้อถกเถียง ในเรื่องของการ
               หายไปหรือการเกิดรูปแบบใหม่ของระบบอุปถัมภ์หรือการเมืองแบบอื่น ๆ ในสิ่งที่เวียงรัฐ เนติโพธิ์พยายาม
               น าเสนอ หรืออาจจะตอกย้ ามุมมองแบบโอฬาร ถิ่นบางเตียวที่เชื่อว่าระบบอุปถัมภ์ไม่ได้หายไป และการเปลี่ยน
               เข้าสู่ประชาธิปไตยนั้นก็ยังคงเป็นคุณให้ชนชั้นน าในอ านาจในท้องที่อยู่เช่นเดิม หรือการเลือกตั้งท้องถิ่นของ

               สมุทรปราการจะท าให้เราเข้าใจเรื่องราวของโครงสร้างอ านาจ ระบบอุปถัมภ์ หรือ มิติอื่น ๆ อีก (เช่นว่า
               ตระกูลอัศวเหมนั้นกลับมาได้หรือไม่ คู่แข่งทางการเมืองของอัศวเหมมีใครบ้าง และเป็นอย่างไร) อีกทั้งยังมีอีก
               ปัจจัยหนึ่งก็คือเรื่องของการตื่นตัวของคนรุ่นใหม่ ที่สะท้อนจากคะแนนเสียงระดับชาติในพื้นที่ของพรรค

               อนาคตใหม่ ซึ่งในรอบนี้แม้จะถูกยุบพรรค แต่ก็ยังมีความยึดโยงกับกลุ่มการเมืองอย่างคณะก้าวหน้า เป็นต้น
               แต่ก่อนที่จะอภิปรายเพิ่มเติม ในส่วนทฤษฎีนี้จะขอพูดถึงแนวคิดอีกสองแนวคิดคือ จักรกลทาง (เศรษฐกิจ)
               การเมือง และการเลือกตั้งและการปกครองท้องถิ่นในสังคมเผด็จการ


                       ค. จากจักรกลการเมืองสู่จักรกลเศรษฐกิจการเมือง: การน าเข้าแนวคิดเรื่องของจักรกลการเมือง
               (political machine) ต่อการศึกษาการเมืองท้องถิ่นค่อนข้างเป็นที่สนใจในวงแคบ เมื่อเทียบกับการพูดถึงมิติ
               ทางการเมืองของระบบอุปถัมภ์และมิติของการศึกษาระบบอุปถัมภ์เอง อย่างไรก็ดีการศึกษาจักรกลการเมือง

               (political machine) มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการท าความเข้าใจการเมืองท้องถิ่นของไทย โดยเฉพาะการ
               ท าความเข้าใจว่าระบบอุปถัมภ์นั้นถูกน ามาปรับใช้เป็นแบบแผนปฏิบัติ (operationalization) ในทางการเมือง
               ได้อย่างไรในรายละเอียด และที่ส าคัญแนวคิดเรื่องจักรกลการเมืองอิงกับประสบการณ์ของเมืองในโลก
               ตะวันตก มากกว่าชนบทในโลกเกษตรที่ไม่ใช่ตะวันตก แต่ทั้งนี้แนวคิดเรื่องจักรกลการเมืองมักถูกมองว่าเป็น

               แนวคิดที่อธิบายปรากฏการณ์ที่หมดไปแล้วในสังคมตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา

                       งานเขียนของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ในชิ้นแรก ๆ (2542) เป็นงานที่น าเสนอแนวคิดเรื่องจักรกลการเมือง

               อย่างเป็นระบบที่สุด โดยชี้ให้เห็นปรากฏการณ์ของจักรกลการเมืองในอเมริกา เพื่อเป็นบทเรียนเพื่อเข้าใจ
               อิทธิพลในการเมืองท้องถิ่นไทย โดยเวียงรัฐ เนติโพธิ์พยายามน าเข้าแนวคิดเรื่องของจักรกลการเมืองใน





                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   30
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53