Page 47 - kpiebook64011
P. 47

ว่าระบบอุปถัมภ์นั้นไม่ใช่โครงสร้างอ านาจแบบเดียวในการเมืองท้องถิ่นดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ขณะที่งานของ
               โอฬาร ถิ่นบางเตียวใช้กรณีศึกษาอีกชุดหนึ่งที่มองว่า แม้ว่าจะไม่มีโครงสร้างอ านาจครอบง าในบางพื้นที่ แต่ใน

               ทุกพื้นที่ที่เขาศึกษาในกรณีของภาคตะวันออกนั้น ก็ยังมีสิ่งที่เรียกว่าชนชั้นน าทางการเมืองหรือชนชั้นน าทาง
               อ านาจอยู่ในพื้นที่นั้น และความส าคัญคือการเข้าสู่อ านาจและการจัดความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นน าเอง ไม่ใช่
               เรื่องของการเข้าสู่อ านาจด้วยโครงสร้างอุปถัมถ์หรือนโยบาย


                       อีกประการหนึ่งที่มีความส าคัญในงานของโอฬาร ถิ่นบางเตียวก็คือการใช้ค าว่า บ้าน และระบบกงสี
               มากกว่าเรื่องของเจ้าพ่อ ด้วยว่าตระกูลการเมืองล้วนแล้วแต่มีเชื้อสายมาจากเมืองจีน กล่าวคือชนชั้นน าทาง
               การเมืองในท้องถิ่นประยุกต์เอาพื้นฐานทางวัฒนธรรมและการจัดการครอบครัวของคนเชื้อสายจีนโพ้นทะเลที่

               อพยพเข้ามาในประเทศไทยมาใช้ในทางการเมือง คือ มีการแบ่งงานกันท า มีการแบ่งความรับผิดชอบระหว่าง
               สมาชิกในครอบครัว โดยหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้มีอ านาจสูงสุด นอกจากนั้นยังใช้ระบบเครือญาติในการ
               สถาปนาอ านาจทางการเมืองและจัดองค์กรชนชั้นน าโดยการสนับสนุนคนในตระกูลเข้าสู่อ านาจทางการเมือง
               เพื่อครอบครองต าแหน่งต่าง ๆ ทางการเมืองในระดับจังหวัด


                       ความแตกต่างในข้อที่สองของงานของโอฬาร ถิ่นบางเตียว กับเวียงรัฐ เนติโพธิ์ จึงอยู่ที่เรื่องของการ
               มองแรงขับเคลื่อนทางการเมืองในท้องถิ่น ในกรณีของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ การขับเคลื่อนทางการเมืองของท้องถิ่น

               เป็นโลกของการเมืองระบบอุปถัมภ์ที่เชื่อมโยงกับการเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ โดยที่เจ้าพ่อเป็นส่วนหนึ่งของ
               องคาพยพของรัฐโดยเฉพาะกับรัฐแบบราชการรวมศูนย์ และต่อมาจึงใช้การเลือกตั้งในการก าหนดระยะ
               ความสัมพันธ์กับรัฐได้มากขึ้น มาจนถึงการเมืองหลังการปฏิรูปทางการเมืองที่เปิดโอกาสให้ตัวแสดงที่ไม่ใช่เจ้า
               พ่อสามารถเข้าสู่อ านาจรัฐได้มากขึ้น ทั้งจากพรรคและจากกลุ่มอื่น ๆ ที่เข้าไปมีบทบาทในท้องถิ่นผ่านการ

               ขับเคลื่อนนโยบาย ด้วยว่าส่วนหนึ่งการกระจายอ านาจท าให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับผิดชอบต่อ
               ความเป็นอยู่ของประชาชนมากขึ้น


                       ขณะที่งานของโอฬาร ถิ่นบางเตียวให้ความส าคัญกับเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมือง โดยชี้ว่า การเข้าสู่
               อ านาจทางการเมืองของชนชั้นน านั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสะสมทุนและสร้างความมั่งคั่ง การเมืองท้องถิ่นและ
               การเชื่อมโยงระดับชาติจึงเป็นเสมือนจุดรอยต่อที่ส าคัญที่ชนชั้นน าในท้องถิ่นเหล่านี้มีการสะสมทุนทาง

               เศรษฐกิจอันยาวนานจนเป็นนายทุนท้องถิ่น แต่ความมั่งคั่งของนายทุนท้องถิ่นเหล่านี้มาจากการสะสมทุนทาง
               เศรษฐกิจในชั้นเบื้องต้น (primitive accumulation) บนฐานทรัพยากรในท้องถิ่นที่ตระกูลสามารถเข้าถึง
               ปัจจัยการผลิตได้ดีกว่าประชาชนโดยทั่วไป เช่นการบุกรุกที่ดินเพื่อการผลิตไร่ขนาดใหญ่ การบุกรุกถมทะเล
               เพื่อสร้างโรงแรม ร้านอาหาร รีสอร์ท ขณะเดียวกันนายทุนท้องถิ่นก็ต้องแสวงหาอ านาจทางการเมืองมากขึ้น

               เพื่อค้ าจุนการประกอบธุรกิจของพวกตน ท าให้นายทุนท้องถิ่นเข้าสู่อ านาจทางการเมือง ท าให้มีการกระจุกตัว
               ของทรัพย์สินและความมั่งคั่งของตระกูลชนชั้นผู้มีอ านาจทางเศรษฐกิจ และน าไปสู่การกระจุกตัวของอ านาจ
               ทางการเมืองภายในจังหวัดและกลายเป็นผู้ควบคุมและครอบง าอ านาจทางการเมืองในจังหวัดภายในภาพรวม
               โอกาสทางการเมืองเหล่านี้ท าให้เข้าไปควบคุม แทรกแซง หรือรับรู้ข้อมูลเชิงนโยบายของรัฐโดยเฉพาะโครงการ

               พัฒนาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเขตอิทธิพลของตน และน าเอาข้อมูลเหล่านี้มาแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับ
               ตนเองและพวกพ้อง เช่นกว้านซื้อที่ดินเพื่อรองรับการพัฒนาของรัฐเมื่อทราบข่าวการตัดถนนเส้นยุทธศาสตร์
               สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ า พื้นที่อุตสาหกรรม ศูนย์ก าจัดขยะรวม









                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   29
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52