Page 42 - kpiebook64011
P. 42
2.2 กรอบแนวคิดที่จะน ามาใช้อธิบายปรากฏการณ์ของการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมุทรปราการ ในปัจจุบัน
การศึกษาเรื่องของการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นของไทยนับจากอดีตสู่ปัจจุบัน มักจะให้ความส าคัญ
เรื่อง “ระบบอุปถัมภ์” มาโดยตลอด หรือจะอธิบายง่าย ๆ ว่าพฤติกรรมการเลือกตั้งนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ
“การเมืองท้องถิ่น” และการเมืองในท้องถิ่นนั้นอยู่ภายใต้ตรรกะและโครงสร้างของการเมืองอุปถัมภ์ หรือ
สะท้อนให้เห็นถึงการเมืองของระบบอุปถัมภ์ในพื้นที่
การศึกษาในเรื่องของการเมืองระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยนั้น อาจประกอบด้วยแนวทางการศึกษา
หลัก ๆ อยู่สามแนวทาง ได้แก่ แนวทางการศึกษาวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ การศึกษาการเมืองของระบบ
อุปถัมภ์กับการเลือกตั้งร่วมสมัย และการศึกษาจักรกลการเมือง
ก. แนวทางการศึกษาวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์: เป็นการศึกษาที่ให้ความส าคัญกับเรื่องของวัฒนธรรม
และโครงสร้างทางสังคมที่มีผลต่อการเมือง กล่าวคือ ระบบอุปถัมภ์นั้นเป็นสถาบันทางสังคมที่มีผลทาง
การเมือง และเป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากอดีต และมักถูกมองว่าเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการทางการเมือง
(political development) หรือความเป็นสมัยใหม่ทางการเมือง (political modernity) เพราะเป็นสิ่งที่
ตกค้างมาจากอดีต และยังคงมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของคนในปัจจุบัน
แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์เป็นเรื่องของการอธิบายว่าระบบวัฒนธรรมและสังคมมีอิทธิพล
ทางการเมือง ระบบอุปถัมภ์เป็นความสัมพันธ์ที่แลกเปลี่ยนกัน แต่ไม่เท่าเทียมกัน แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือผู้
อุปถัมภ์ (patron) และผู้ใต้อุปถัมภ์ (client) โดยแลกเปลี่ยนความภักดี (จากผู้ใต้อุปถัมภ์) กับการคุ้มครองของ
ผู้อุปถัมภ์ สิ่งนี้เป็นลักษณะเด่นของสังคมไทยมาตั้งแต่ยุคการเมืองก่อนสมัยใหม่ อาทิปรากฏในโครงสร้าง
กฎหมายและระบบบริหารราชการแผ่นดินในอยุธยาในระบบศักดินา (มูลนายและไพร่ทาส) (อาคม พัฒิยะ
และนิธิ เอียวศรีวงศ์, 2527) เรื่อยมาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ดังที่ปรากฏในกฎหมายตราสามดวง (อคิน รพีพัฒน์,
2521) และแม้ว่าโครงสร้างที่เป็นทางการได้หายไปจากกฎหมายและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว
ระบบอุปถัมภ์ยังปรากฏตัวอยู่ในชุมชนเมืองในรูปแบบของ “ระบบลูกพี่ (ลูกน้อง)” (อคิน รพีพัฒน์, 2537;
และดูภาพรวมของค าอธิบายเรื่องระบบอุปถัมภ์ได้ใน อมรา พงศาพิชญ์ และปรีชา คุวินทร์พันธุ์ (บก.), 2539)
ประเด็นท้าทายต่อการศึกษาในแนวทางวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ที่ผ่านมาก็คือ การศึกษาเรื่องของ
การเมืองเป็นเสมือนตัวแปรตามของระบบอุปถัมภ์ กล่าวคือมองว่าระบบอุปถัมภ์นั้นท างานเป็นหลัก (สมเกียรติ
วันทะนะ และคณะ, 2524) และไม่สามารถอธิบายได้ว่าระบบอุปถัมภ์เปลี่ยนแปลงอย่างไร (ดู นิธิ เอียวศรีวงศ์,
2534) และไม่ได้มีความละเอียดลึกซึ้งกับระบบอุปถัมภ์สมัยใหม่ว่าแตกต่างจากระบบอุปถัมภ์สมัยก่อนอย่างไร
โดยเฉพาะในเรื่องของการเลือกตั้ง กล่าวอีกอย่างก็คือ การเลือกตั้งในท้องถิ่นนั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบ
อุปถัมภ์ ไม่ได้ถูกอธิบายออกมาเป็นพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากแนวทางการศึกษาการศึกษาการเมืองของระบบ
อุปถัมภ์ ซึ่งเป็นการศึกษาการเมืองท้องถิ่นและความเชื่อมโยงกับระบบอุปถัมภ์สมัยใหม่ และให้ความสนใจเป็น
พิเศษกับกระบวนการเลือกตั้งอย่างจริงจัง รวมทั้งให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงของระบบอุปถัมภ์ใน
การเมืองในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติ
ข. แนวทางการศึกษาการเมืองของระบบอุปถัมภ์กับการเลือกตั้งร่วมสมัย: แนวทางการศึกษาเรื่อง
การเมืองของระบบอุปถัมภ์ให้ความส าคัญกับความเชื่อมโยงของระบบอุปถัมภ์กับการเลือกตั้งสมัยใหม่ โดย
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 24