Page 45 - kpiebook64011
P. 45
นักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติดูแลความเดือดร้อนประชาชนเกี่ยวกับหน่วยงานราชการ ด้าน
กฎหมาย ด้านการประสานงาน ด้านการให้ค าปรึกษา และด้านการให้ความสะดวกกับหน่วยงานราชการ แต่ใน
ระดับท้องถิ่นนักการเมืองท้องถิ่นท าหน้าที่ดูแลตามหน้าที่เรื่องปากท้อง การท าให้เกิดน้ าไหลไฟสว่าง ทางดี
การช่วยเหลือของนักการเมืองในระดับชาติเป็นความช่วยเหลือที่ประชาชนรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ และมีความ
ผูกพันกับนักการเมือง แต่ในระดับท้องถิ่นการให้บริการต่าง ๆ ไม่ได้ก่อให้เกิดหนี้บุญคุณ และไม่ได้ก่อให้เกิด
ความจงรักภักดี (เวียงรัฐ เนติโพธิ์, 2558)
ในประการสุดท้ายความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับประชาชนมีลักษณะที่หลากหลาย โดยแบ่ง
ออกเป็นสองแบบคือ แบบพึ่งพิงอุปถัมภ์ ซึ่งยังคงผูกพันกับประชาชนในแบบเดิม และยังเชื่อมโยงกับข้าราชการ
และต่อรองกับพรรคการเมืองในฐานะที่เชื่อว่าตนมีเขตของตัวเอง โดยแบ่งเป็นประเภทย่อยได้แก่ นักเลง/เจ้า
พ่อ นักสังคมสงเคราะห์ และแบบเครือญาติและมิตรเป็นจ านวนมาก กับแบบที่สองคือ แบบส่งเสริมความเป็น
ประชาธิปไตย โดยเน้นการแก้ปัญหาเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น และเน้นหลักการประชาธิปไตย และ
เชื่อมโยงกับนโยบายของพรรค มองระบบราชการเป็นอุปสรรค นักการเมืองแบบนี้มีทั้งนักการเมืองรุ่นใหม่ไฟ
แรง แบบชูนโยบายพรรค และแบบเจ้าโครงการ (เวียงรัฐ เนติโพธิ์, 2558)
การจัดประเภทของนักการเมืองท้องถิ่นและความสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์ในแบบของเวียงรัฐ เนติโพธิ์
ไม่ใช่รูปแบบเดียวที่จะท าความเข้าใจการเมืองในมิติของการเลือกตั้งที่เชื่อมโยงกับระบบอุปถัมภ์ในพื้นที่
แนวทางการศึกษาที่ส าคัญอีกแนวทางหนึ่งที่เชื่อมโยงกับการศึกษาระบบอุปถัมภ์และการเมืองในมิติของการ
เลือกตั้งก็คือแนวทางการศึกษา “เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยโครงสร้างอ านาจท้องถิ่น” อาจกล่าวได้ว่า ถ้า
การศึกษาการเมืองในมิติของการเลือกตั้งในท้องถิ่นของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ แม้จะพบเห็นการด ารงอยู่ของ
การเมืองอุปถัมภ์ในท้องถิ่น แต่เวียงรัฐ เนติโพธิ์ ก็มองสิ่งเหล่านี้ในทางบวกคือเห็นความเปลี่ยนแปลงไปสู่ความ
หลากหลายในตัวแบบใหม่ ๆ ที่ออกไปจากระบบอุปถัมภ์ และมองว่าการปฏิรูปการเมืองและการกระจาย
อ านาจนับจากปี พ.ศ. 2540 นั้น ท าให้เห็นรูปแบบใหม่ ๆ ของการเมืองในมิติของการเลือกตั้งในมิติระดับชาติ
และระดับท้องถิ่น ทั้งการเกิดขึ้นของการเมืองแบบนโยบาย และการเมืองท้องถิ่นที่พ้นไปจากระบบอุปถัมภ์
แบบเดิมหรือแบบเจ้าพ่อ (เวียงรัฐ เนติโพธิ์, 2558 และ Viengrat Nethipo, 2019)
ขณะที่งานของโอฬาร ถิ่นบางเตียว (และชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์) ในหลายชิ้นนั้นมีข้อค้นพบและจุดเน้น
ที่ต่างไปจากงานของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ และอาจจะนิยามได้ว่า เป็นงานที่เต็มไปด้วยข้อสงสัยต่อความเชื่อใน
ทิศทางของการกระจายอ านาจและการปฏิรูปทางการเมืองที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เพราะมองว่า
การกระจายอ านาจที่ผ่านมามีข้อจ ากัดหลายประการที่ไม่สามารถท าให้การกระจายอ านาจบรรลุเป้าหมายที่
แท้จริง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการแบ่งอ านาจการปกครองระหว่างชนชั้นผู้มีอ านาจทางการเมืองในท้องถิ่น
ด้วยกันในลักษณะสัมปทานอ านาจภายในจังหวัดหนึ่ง (ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และชัยณรงค์ เครือนวน, 2552
อ้างใน โอฬาร ถิ่นบางเตียว, 2553)
ขณะที่งานของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ในหลาย ๆ ชิ้นที่อ้างอิงไปแล้วศึกษาการเมืองท้องถิ่นในหลายพื้นที่
อาทิ เชียงใหม่ อุบลราชธานี และนครศรีธรรมราช งานของโอฬาร ถิ่นบางเตียวในหลายชิ้นให้ความสนใจพิเศษ
กับภาคตะวันออกของไทย แล้วใช้กรอบการมองการเมืองท้องถิ่นด้วยแนวคิดส าคัญคือเรื่องของชนชั้นน าทาง
การเมือง และเศรษฐศาสตร์การเมืองของการสะสมทุนทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อดูการที่ชนชั้นน า
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 27