Page 19 - kpiebook64011
P. 19

บทที่ 1


                                                          บทน า


               1.1 ที่มาและความส าคัญ

                       โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วยสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่ง

               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 252 ก าหนดให้สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการ
               เลือกตั้งและผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2562
               ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562
               ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในมาตรานี้ โดยกฎหมายฉบับนี้ได้ก าหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ

               เลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร
               ท้องถิ่น นอกจากนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกระเบียบและประกาศอีกหลายฉบับเพื่อเตรียม
               ความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นนับตั้งแต่นันเป็นต้นมา กระทั่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563
               คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วน

               จังหวัดเป็นล าดับแรก ส่งผลให้ขณะนี้คณะกรรมการการเลือกตั้งอยู่ระหว่างการวางแผนการจัดการเลือกตั้ง
               และได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 ก าหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภายใน 60 วันนับแต่วันที่ประกาศ โดยคาดว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภา

               องค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะจัดขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 นี้

                       งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภา

               องค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภายใต้การสนับสนุนของสถาบันพระปกเกล้า
               โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับบรรยากาศทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
               เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด การจัดการเลือกตั้ง และ
               พฤติกรรมการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้คัดเลือกกรณีศึกษา 5
               จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ สมุทรปราการ นนทบุรี ขอนแก่น และนครศรีธรรมราช รายงานฉบับนี้ศึกษา

               กรณีศึกษาของจังหวัดสมุทรปราการ

               1.2 วัตถุประสงค์


                       1. เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมืองของการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ

               นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ

                       2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

               และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ

                       3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนน

               เสียง

                       4. เพื่อศึกษาการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วน

               จังหวัดที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   1
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24