Page 174 - kpiebook64011
P. 174

ต าแหน่งในองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้อีกครั้ง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดท่านหนึ่ง (สัมภาษณ์,
               วันที่ 12 เมษายน 2564) ได้อธิบายการท างานของวิธีการหาเสียงในลักษณะนี้เอาไว้ว่า


                              “ในเรื่องความผูกพันกันทางงบประมาณ หากฝ่ายไหนชนะการเลือกตั้งก็จะจัดสรรงบให้ผู้น า
                       ในพื้นที่ที่ช่วยเหลือฝ่ายตนอย่างเต็มที่ตอนหาเสียงเลือกตั้ง และจะจัดสรรงบประมาณให้พื้นที่นั้นเป็น

                       ล าดับแรก ๆ ส่วนผู้น าในพื้นที่ไหนไม่สนับสนุนหรือให้การช่วยเหลือไม่เต็มที่ก็จะจัดสรรงบประมาณให้
                       ไม่เต็มตามจ านวนที่ต้องการ และมักได้รับการจัดสรรเป็นพื้นที่ท้าย ๆ”


                       อย่างไรก็ดี การจัดสรรงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของ
               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างไม่ได้มีเพียงข้อผูกมัดเรื่องการหาเสียงในช่วงเลือกตั้งเท่านั้น แต่ยังผูกโยง
               กับเครือข่ายทางธุรกิจของผู้ด ารงต าแหน่งในองค์การบริหารส่วนจังหวัดอีกด้วยกล่าวคือ เมื่อเทศบาลหรือ
               องค์การบริหารส่วนต าบลใดรับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดไป องค์กรปกครองส่วน

               ท้องถิ่นเหล่านั้นต้องใช้บริการของบริษัทที่อยู่ในเครือข่ายของผู้ด ารงต าแหน่งในองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อ
               ด าเนินการก่อสร้าง จัดซื้อจัดจ้าง หรือจ้างเหมาบริการในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (นักธุรกิจรายใหญ่ใน
               พื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่ 19 เมษายน 2564) ในส่วนของจ านวนงบประมาณ เมื่อเทศบาลหรือองค์การบริหาร
               ส่วนต าบลรับโอนเงินงบประมาณมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว งบประมาณจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

               กล่าวคือ งบประมาณส่วนแรกถูกแบ่งไปยังผู้ด ารงต าแหน่งบริหารสูงสุดในองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               งบประมาณส่วนที่สองถูกแบ่งไปยังสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ดูแลพื้นที่ซึ่งองค์กรปกครองส่วน
               ท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่ และงบส่วนที่สามคืองบที่น าไปใช้ในโครงการ (นักธุรกิจรายใหญ่ในพื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่ 19
               เมษายน 2564)


                       หากพิจารณาในรายละเอียดของงบประมาณปี 2564 จะพบว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               สมุทรปราการก ากับงบประมาณด้านบริการชุมชนและสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านการด าเนินงานอื่น

               มากกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างอยู่ตั้งแต่ 3-13 เท่า (พิจารณารายรายละเอียดของงบประมาณ
               ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตัวอย่างในภาคผนวก ซ) โดย
               คณะผู้วิจัยเลือกเปรียบเทียบงบประมาณด้านชุมชนและสังคม ด้านเศรษฐกิจ และการด าเนินการอื่น ๆ เพราะ

               งบประมาณในสามหมวดนี้สามารถน าไปจัดสรรเป็นโครงการต่าง ๆ ที่จะเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่นระดับล่างและผู้คนในท้องถิ่นเหล่านั้นได้ ทั้งนี้คณะผู้วิจัยเลือกที่จะไม่น างบด้านบริหารทั่วไปมา
               วิเคราะห์ เพราะเหตุว่างบหมวดดังกล่าวมักถูกใช้สอยเป็นเงินเดือนของบุคลากร ค่าวัสดุอุปกรณ์ในส านักงาน
               หรืองบสนับสนุนการด าเนินงานในส านักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                       จากการเปรียบเทียบงบประมาณใน 3 หมวดข้างต้นระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
               กับองค์กรท้องถิ่นในระดับต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการมีงบประมาณ

               1,974,904,820 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับเทศบาลนครสมุทรปราการที่มีงบประมาณอยู่ 585,659,400 บาท
               องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการก ากับงบประมาณมากกว่าเทศบาลนครจ านวน 1,389,245,420 บาท
               หรือราว 3.37 เท่า หากน างบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการมาเปรียบเทียบกับ
               เทศบาลเมืองจ านวน 5 แห่ง (เทศบาลเมืองปากน้ าสมุทรปราการ เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ เทศบาลเมืองบาง

               แก้ว เทศบาลเมืองลัดหลวง และเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย) จะพบว่าเทศบาลเมืองเหล่านี้มีงบประมาณ







                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   156
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179