Page 179 - kpiebook64011
P. 179
เกิดการรวมตัวกันของผู้คนจ านวนมาก การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
จังหวัดสมุทรปราการปี 2563 เกิดขึ้นท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกที่สอง ท าให้การหา
เสียงต้องค านึงถึงมาตรการในการป้องกันเชื้อโควิด-19 ควบคู่ไปด้วย ด้วยเงื่อนไขของโรคระบาด การตั้งเวที
ปราศรัยหาเสียงจึงถูกงดและไม่ปรากฏให้เห็นในการเลือกตั้งครั้งนี้ หากจะมีบ้างก็เปลี่ยนไปสู่การใช้รถแห่เป็น
เวทีปราศรัยขนาดเล็ก ซึ่งเคลื่อนที่ไปตามจุดต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งชุมชน โดยไม่มีการรวมกลุ่มเป็นเวลานาน ๆ
5.2.2 ที่มาของทรัพยากรและการใช้ทรัพยากรในหาเสียง การเปรียบเทียบความได้เปรียบ
เสียเปรียบระหว่างผู้หาเสียงที่อยู่ในต าแหน่งและไม่ได้อยู่ในต าแหน่ง นโยบายที่มีอยู่ การอ้างอิงนโยบาย
ส่วนกลาง
ทรัพยากรที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งใช้หาเสียงสามารถจ าแนกที่มาได้เป็นสองทาง ทางแรก ทรัพยากรจาก
ผู้สนับสนุน ผู้สมัครรับเลือกตั้งมักได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นเงิน เครือข่ายก าลังคน
เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือรถยนต์ ที่จ าเป็นต่อการหาเสียง ผู้สมัครรับเลือกตั้งมักได้รับทรัพยากรเหล่านี้มาจาก
กลุ่มการเมืองที่ผู้สมัครสังกัดอยู่ ทั้งนี้กลุ่มการเมืองที่ผู้สมัครสังกัดอยู่ก็จะมีวิธีการระดมทรัพยากรจากแกนน า
กลุ่มและผู้สนับสนุนกลุ่ม อาทิ กลุ่มนักธุรกิจในพื้น หรือกลุ่มธุรกิจสีเทาที่ต้องอาศัยอ านาจจากกลุ่มการเมืองใน
การประกอบธุรกิจ นอกจากนี้พรรคการเมืองในระดับชาติบางพรรคที่มีสายสัมพันธ์กับแกนน ากลุ่มการเมือง ก็
จะให้การสนับสนุนทางการเงินและเครือข่ายหาเสียงในพื้นที่ ทางที่สอง ทรัพยากรของตัวผู้สมัครเอง แม้ว่า
ผู้สมัครจะได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากกลุ่มที่ตนเองสังกัดอยู่ แต่ก็ไม่เพียงพอส าหรับการหาเสียงเลือกตั้ง
มีการประมาณการว่าสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งเขตต้องใช้เงินส าหรับการหาเสียงประมาณ
10 ล้านบาท (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564) ดังนั้นผู้สมัครรับการเลือกตั้ง
จ าเป็นต้องน าทรัพยากรที่เป็นของตนเองมาใช้เพื่อการหาเสียงด้วยเช่นกัน ทรัพยากรเหล่านี้นอกจากจะถูกใช้
ไปตามข้อก าหนดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดท าป้ายหาเสียง การจัดสื่อออนไลน์ การ
จ้างคณะท างานรณรงค์หาเสียง การจ้างรถยนต์พาหนะ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้ว ทรัพยากรยังต้องถูกแบ่ง
เอาไว้เพื่อการแจกเงินให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย และหากทรัพยากรที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอ ผู้สมัครรับเลือกตั้งก็
ต้องน าทรัพยากรของตนเองออกมาใช้จ่ายเพิ่มเติม มีโอกาสน้อยมากที่ทางกลุ่มจะจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติมให้
ผู้สมัคร (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564)
เมื่อพิจารณาแหล่งที่มาของทรัพยากรที่ใช้ในการเลือกตั้งแล้ว คงท าให้เห็นว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เคย
ด ารงต าแหน่งในองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะได้เปรียบมากกว่าผู้สมัครที่ไม่ได้อยู่ในต าแหน่ง ข้อมูลจากการ
สัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่า ผู้สมัครที่อยู่ในต าแหน่งสามารถที่จะสะสมทรัพยากรเพื่อการเลือกตั้งผ่านกลไกของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ อาทิ งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นระดับล่าง หรือจัดสรรให้หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ในพื้นที่ จะถูกส่งกลับมายังผู้ด ารงต าแหน่งใน
องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยละ 50 ของงบประมาณที่ได้รับ งบประมาณที่ถูกส่งกลับมาจะถูกจัดสรรและ
แจกจ่ายให้กับผู้ด ารงต าแหน่งในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่เป็นเครือข่ายของผู้บริหารสูงสุดในองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด มีการประมาณการว่า ก่อนการเลือกตั้งปี 2563 กลุ่มการเมืองที่ครองอ านาจในองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการสามารถสะสมทรัพยากรไว้ได้ไม่ต่ ากว่า 1,000 ล้านบาท (นักธุรกิจรายใหญ่ใน
พื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่ 19 เมษายน 2564)
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 161