Page 176 - kpiebook64011
P. 176

5.2.1 วิธีการหาเสียงที่นิยมและไม่นิยม การใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ใน
               การหาเสียงเลือกตั้ง


                      ข้อมูลจากการส ารวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่จ านวน 96 ตัวอย่าง สามารถแยก
               ออกเป็น 2 ประเด็นย่อยคือ รูปแบบการหาเสียงที่ท าให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้มาก

               ที่สุดและรูปแบบการหาเสียงที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ชื่นชอบมากที่สุด ในประเด็นแรก รูปแบบการหาเสียงที่
               ท าให้กลุ่มตัวอย่างสามารถเข้าถึงและทราบข้อมูลของผู้สมัครมากที่สุดอันดับแรกคือ ป้ายหาเสียง โดยกลุ่ม
               ตัวอย่างจ านวน 48 คน ลงความเห็นว่า ป้ายหาเสียงคือช่องทางอันดับแรกที่พวกเขาได้ข้อมูลของผู้สมัคร
               รองลงมาคือ รถแห่ การเดินรณรงค์พบปะประชาชน การประชาสัมพันธ์ของหัวคะแนน การใช้สื่อออนไลน์

               และการตั้งเวทีปราศรัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างลงความเห็นให้เป็นอันดับ 2-6 ตามล าดับ (พิจารณาตาราง 5.3)

               ตาราง 5.3 รูปแบบการหาเสียงที่ท าให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ทราบข้อมูลของผู้สมัครรับเลือกตั้ง


                 อันดับ  รูปแบบการหาเสียง                    ความถี่ของกลุ่มตัวอย่างที่เลือก (จาก 96 ตัวอย่าง)
                   1     ป้ายหาเสียงตามที่ต่าง ๆ                                 48

                   2     รถแห่                                                   28
                   3     การเดินรณรงค์พบปะประชาชน                                26
                   4     การประชาสัมพันธ์ของหัวคะแนน                             32

                   5     สื่อออนไลน์                                             24
                   6     ตั้งเวทีปราศรัย                                         40
               ที่มา : ประมวลผลโดยคณะผู้วิจัย


                       จากข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลของตัวผู้สมัครจากป้ายหาเสียงมากที่สุด
               รองลงมาคือ ข้อมูลจากรถแห่ และการพบปะประชาชนตามพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ในขณะที่สื่อออนไลน์และ
               เวทีปราศรัยหาเสียง กลับเป็นรูปแบบการหาเสียงที่ส่งข้อมูลของผู้สมัครไปยังกลุ่มตัวอย่างได้ไม่มากนัก อย่างไร

               ก็ตามควรส ารวจต่อไปอีกว่า รูปแบบการหาเสียงแบบใดที่กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบ ผลจากการส ารวจพบความ
               แตกต่างจากข้อมูลชุดแรกในบางระดับกล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างจ านวน 35 คน ลงความเห็นว่า พวกเขาชื่อชอบ
               การเดินรณรงค์พบปะประชาชนตามพื้นที่สาธารณะมาเป็นอันดับ 1 ในขณะที่ป้ายหาเสียง การประชาสัมพันธ์

               ของหัวคะแนน รถแห่ สื่อออนไลน์ และเวทีปราศรัยหาเสียง ถูกจัดอันดับจากกลุ่มตัวอย่างให้เป็นรูปแบบการ
               หาเสียงที่พวกเขาชื่นชอบอันดับที่ 2-6 (พิจารณาตาราง 5.4)


                       ความแตกต่างประการส าคัญคือ แม้กลุ่มตัวอย่างจะได้ข้อมูลของผู้สมัครจากป้ายหาเสียงมากที่สุด แต่
               พวกเขากลับไม่ได้ชื่นชอบวิธีการนี้เป็นอันดับ 1 กลุ่มตัวอย่างยังต้องการให้ผู้สมัครลงพื้นที่เพื่อมาพบปะ พูดคุย
               รับฟัง และเปลี่ยนความคิดเห็นกับพวกเขาอยู่ ส าหรับรถแห่ แม้จะเป็นรูปแบบการหาเสียงที่สามารถกระจาย
               ข้อมูลของผู้สมัครให้กลุ่มตัวอย่างได้มากเป็นอันดับ 2 แต่กลุ่มตัวอย่างกลับชื่นชอบวิธีการนี้เป็นอันดับ 4 การหา

               เสียงผ่านหัวคะแนนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบเป็นอันดับ 3 แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างจะได้ข้อมูลของ
               ผู้สมัครจากหัวคะแนนไม่มากเท่ากับป้ายหาเสียงและรถแห่ ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่สอดคล้องกันเห็น
               จะได้แก่ การมีข้อสรุปว่า สื่อออนไลน์และเวทีปราศรัยหาเสียงเป็นรูปแบบการหาเสียงซึ่งไม่เป็นที่นิยมนักและ
               กระจายข้อมูลของผู้สมัครได้น้อย






                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   158
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181