Page 175 - kpiebook64011
P. 175

เฉลี่ยอยู่ที่ 367,898,062 บาท โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการมีอ านาจในการดูแลงบประมาณ
               มากกว่าเทศบาลเหล่านี้ถึง 1,607,006,755 บาท หรือมากกว่า 5.36 เท่า


                       เมื่อเปรียบเทียบจ านวนงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
               ระดับล่างที่ดูแลพื้นที่เมืองแล้วก็ควรที่จะเปรียบเทียบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลพื้นที่กึ่งเมืองกึ่ง

               ชนบทอย่างเทศบาลต าบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลพื้นที่ชนบทอย่างองค์การบริหารส่วนต าบล
               เทศบาลต าบลจ านวน 12 แห่งถูกคัดเลือกมาเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์งบประมาณ (พิจารณารายชื่อ
               เทศบาลต าบลและงบประมาณในภาคผนวก ซ) โดยเทศบาลต าบลเหล่านั้นมีงบประมาณเฉลี่ยราว
               202,834,197 บาท ซึ่งน้อยกว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการราว 1,772,070,623 บาท หรือน้อย

               กว่า 9.73 เท่า ในระดับพื้นที่ชนบท องค์การบริหารส่วนต าบลตัวอย่างจ านวน 11 แห่งมีงบประมาณเฉลี่ยราว
               151,367,162 บาท ซึ่งน้อยกว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการราว 1,823,537,658 บาท หรือราว
               13.04 เท่า


                       การถือครองงบประมาณจ านวนมากขององค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยมีพื้นที่ทับซ้อนกับองค์กร
               ปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างจึงเป็นโอกาสมากกว่าข้อจ ากัด ท าให้ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               สามารถแปลงงบประมาณเหล่านี้เพื่อสร้างจักรกลเศรษฐกิจการเมืองเข้าไปอุปถัมภ์ด้านงบประมาณแก่องค์กร

               ปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างและประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่องค์การบริหารส่วนต าบลมี
               งบประมาณน้อยกว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดถึง 13.04 เท่า


                       เมื่ออธิบายรูปแบบและพฤติกรรมการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งแบบเปิดเผยตามข้อก าหนด
               ของกฎหมายและแบบปิดลับไปแล้วนั้น ควรที่จะต้องพิจารณาการตอบรับหรือการตอบสนองของผู้มีสิทธิ
               เลือกตั้งต่อรูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัคร เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นว่ารูปแบบและวิธีการหาเสียงแบบใดที่
               สามารถสื่อสารและกุมคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ เนื้อหาในหัวข้อต่อไปมุ่งอธิบายในประเด็นดังกล่าว


               5.2 รูปแบบการหาเสียง


                       รูปแบบการหาเสียงแบบเดิมไม่ว่าจะเป็นการเดินพบปะประชาชนตามแหล่งชุมชน การใช้ป้ายหาเสียง
               รถแห่ หรือการใช้หัวคะแนน ยังเป็นรูปแบบการหาเสียงซึ่งเป็นที่นิยม ทั้งตัวผู้สมัครและผู้มีวิทธิ์เลือกตั้ง
               รูปแบบการหาเสียงแบบใหม่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรับรองให้ใช้อย่างสื่อสังคมออนไลน์กลับไม่เป็นที่นิยม

               รูปแบบการหาเสียงมักยึดโยงกับทรัพยากรที่ต้องใช้จ่ายในระหว่างการหาเสียง ซึ่งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้
               ทรัพยากรมาจากการสนับสนุนของผู้น าและเครือข่ายในกลุ่มการเมืองที่ผู้สมัครสังกัด รวมถึงการใช้ทรัพยากร
               ของตัวผู้สมัครเอง แม้คณะกรรมการการเลือกตั้งจะพยายามออกข้อก าหนดเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในการหา

               เสียง แต่ในความเป็นจริง ค่าใช้จ่ายในการหาเสียงสูงไปกว่าข้อก าหนดมาก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายส าหรับการซื้อ
               เสียง อย่างไรก็ดี การซื้อเสียงไม่ควรถูกพิจารณาจากกรอบศีลธรรมเพียงด้านเดียวและด่วนสรุปว่าคือพฤติกรรม
               ที่ดีหรือเลว แต่ควรพิจารณาการซื้อเสียงในฐานะกระบวนการหนึ่งของการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการพัฒนา
               เมืองและการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมในพื้นที่ เนื้อหาในส่วนต่อไปอธิบายรายละเอียดของประเด็นข้างต้น












                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   157
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180