Page 177 - kpiebook64011
P. 177
ตาราง 5.4 รูปแบบการหาเสียงที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ชื่นชอบ
อันดับ รูปแบบการหาเสียง ความถี่ของกลุ่มตัวอย่างที่เลือก (จาก 96
ตัวอย่าง)
1 การเดินรณรงค์พบปะประชาชน 35
2 ป้ายหาเสียงตามที่ต่าง ๆ 27
3 การประชาสัมพันธ์ของหัวคะแนน 23
4 รถแห่ 22
5 สื่อออนไลน์ 27
6 ตั้งเวทีปราศรัย 42
ที่มา : ประมวลผลโดยคณะผู้วิจัย
ท าไมความเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการหาเสียงจึงมีข้อสรุปในลักษณะนี้ ข้อมูลจากการ
สัมภาษณ์สะท้อนเหตุผลและค าอธิบายต่อข้อมูลเชิงตัวเลขข้างต้นได้ดังนี้
การเดินรณรงค์พบปะประชาชนตามพื้นที่สาธารณะ เป็นรูปแบบการหาเสียงที่ได้ผลมากที่สุดในแง่
การสร้างจิตวิทยามวลชน เพราะการเข้าหาผู้มีสิทธิเลือกตั้งผ่านเครือข่ายในระดับพื้นที่จะท าให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
เกิดความคุ้นเคย และความประทับใจต่อตัวผู้สมัคร อีกทั้งการน าตัวผู้สมัครไปลงพื้นที่พบปะประชาชนเป็นเวที
แห่งการแสดงบารมีของเครือข่ายในระดับพื้นที่ว่าเขาเหล่านั้นมีความสนิทใกล้ชิดกับตัวผู้สมัครเพียงใด เมื่อ
ผู้สมัครออกจากพื้นที่ไปแล้ว เครือข่ายในระดับพื้นที่ก็จะยังท างานช่วยเป็นกระบอกเสียง ประชาสัมพันธ์
ติดตาม ถามถึงกระแสของผู้สมัครในระดับพื้นที่ การลงพื้นที่พบปะประชาชนจะท าให้ข่าวและเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นในการลงพื้นที่ถูกส่งต่อแบบปากต่อปาก ผู้คนในชุมชนเกิดการพูดคุยต่อกัน ก็จะท าให้ข้อมูลของผู้สมัคร
ส่งต่อผ่านวงพูดคุยเหล่านี้ (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564)
ป้ายหาเสียง เป็นเครื่องมือที่ช่วยแนะน าข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สมัครโดยเฉพาะหมายเลขที่จะต้อง
ไปลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร รวมถึงป้ายหาเสียงยังเป็นเครื่องมือหาเสียงชิ้นแรก ๆ ที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมายังตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพราะบนป้ายหาเสียงได้น าเสนอภาพลักษณ์ของตัวผู้สมัครรวมถึง
แนวคิดในการหาเสียงที่น าเสนอประโยชน์ให้คนในพื้นที่
หัวคะแนน เป็นเครื่องมือหาเสียงที่มีอิทธิพลสูงทั้งในแง่การชักจูงให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาเลือกผู้สมัคร
หัวคะแนนจะช่วยบอกกล่าวรายละเอียดของผู้สมัคร ตลอดจนผลงานในอดีตที่ผู้สมัครได้พัฒนาขับเคลื่อนให้กับ
คนในพื้นที่ หัวคะแนนจะใช้วิธีการเดินตามบ้านเพื่อหาเสียง การเข้าหาผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่บ้านได้ ย่อมสะท้อน
ความให้เห็นความไว้วางใจในบางระดับที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีต่อหัวคะแนน นอกจากนั้น การเข้าไปหาเสียงในบ้าน
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งยิ่งช่วยสร้างความใกล้ชิดให้เพิ่มมากขึ้นระหว่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งกับหัวคะแนน ปฏิสัมพันธ์ที่
เกิดขึ้นผ่านการหาเสียงแบบนี้จะท าให้หัวคะแนนสามารถระดมคะแนนเสียงตามพื้นที่ได้ง่ายขึ้นผ่านการขอ ให้
ช่วยเลือก การแบ่งคะแนนให้ผู้สมัครฝ่ายของตนเองบ้าง ไปจนถึงการให้ความช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อผู้มี
สิทธิเลือกตั้ง (คณะกรรมการหมู่บ้านท่านหนึ่งในเขตอ าเภอบางพลี, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564)
รถแห่ รถแห่หาเสียงเป็นเครื่องมือในการหาเสียงที่ได้รับความนิยมมาก เพราะสามารถเรียบรีบข้อมูล
ของผู้สมัครและน าเสนอผ่านผัสสะทางหูและทางตาของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รถแห่มุ่งสื่อสารให้คนได้ยิน ได้เห็นทุก
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 159