Page 178 - kpiebook64011
P. 178
เช้า กลางวัน เย็น ได้เห็นทั้งภาพและเสียงประกอบเสมอ รถแห่จึงช่วยให้ข้อมูลของผู้สมัครรับเลือกตั้งติดตา ติด
หูและมีภาพจ า (ผู้ใหญ่บ้านหญิงท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564)
สื่อออนไลน์ คณะกรรมการการเลือกตั้งอนุญาตให้การหาเสียงผ่านสื่อออนไลน์สามารถกระท าได้เป็น
ครั้งแรกในการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปี 2563 ผู้สมัครรับเลือกตั้งในจังหวัด
สมุทรปราการต่างก็หาเสียงผ่านสื่อออนไลน์กันเป็นจ านวนมาก ตามระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ผู้รับสมัครรับเลือกตั้งสามารถหาเสียงผ่านสื่อออนไลน์ได้ 7 ประเภท อันได้แก่ 1) เว็บไซต์ 2) โซเชียลมีเดีย 3)
ยูทูป 4) แอปพลิเคชัน 5) อีเมล์ 6) เอสเอ็มเอส 7) สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นทุกประเภท (ระเบียบคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร
ท้องถิ่น พ.ศ. 2563)
สื่อออนไลน์ที่ถูกเลือกใช้มากที่สุดในการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมุทรปราการปี 2563 คือ เฟซบุ๊ก โดยมีผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจ านวนสองคน คือ นาย
อ านวย รัศมิทัต จากกลุ่มรวมพลังสมุทรปราการ และนายธัชชัย เมตโต จากคณะก้าวหน้า ส่วนผู้สมัครนายก
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอีกสามคนจากกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าไม่ได้จัดท าเฟซบุ๊กเพื่อหาเสียงเลือกตั้งใน
ครั้งนี้ นอกจากนี้ คณะก้าวหน้ายังจัดท าเฟซบุ๊กประจ าจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อน าเสนอกิจกรรมการหาเสียง
ของผู้สมัครในกลุ่ม จากการส ารวจเฟซบุ๊กของผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
พบว่า ผู้สมัครในสังกัดคณะก้าวหน้าเกือบทุกคนจัดท าเฟซบุ๊กของตนเองเพื่อใช้ส าหรับการหาเสียง มีเพียง
ผู้สมัครของกลุ่มในบางเขตเท่านั้นที่ไม่ปรากฏให้เห็นการใช้เฟซบุ๊กเพื่อหาเสียง เช่น อ าเภอบางพลี เขตเลือกตั้ง
ที่ 5 (พิจารณาภาคผนวก ฉ) ส าหรับผู้สมัครจากกลุ่มรวมพลังสมุทรปราการและกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าใช้
เฟซบุ๊กหาเสียงรองลงมาจากคณะก้าวหน้า นอกจากนี้ยังมีผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจาก
กลุ่มการเมืองระดับอ าเภออย่างกลุ่มบางพลีรุ่งเรือง และผู้สมัครอิสระบางส่วนที่ใช้เฟซบุ๊กในการหาเสียง
หากพิจารณาจ านวนบัญชีเฟซบุ๊กร่วมกับจ านวนผู้ชนะการเลือกตั้งจะพบว่า ผู้สมัครที่ได้ด ารงต าแหน่ง
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการไม่ได้สร้างเฟซบุ๊กของตนเองขึ้นมาเพื่อใช้ในการเสียงเลือกตั้ง
ส าหรับผู้สมัครที่ชนะการเลือกตั้งและได้ด ารงต าแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ มี
เพียง 9 คน จาก 36 คน หรือร้อยละ 25 ของผู้ชนะการเลือกตั้งเท่านั้นที่ใช้เฟซบุ๊กในการหาเสียง ข้อมูลจาก
การสัมภาษณ์ล้วนชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า เฟซบุ๊กยังไม่ใช่เครื่องมือที่ศักยภาพมากนักส าหรับการหาเสียง
เลือกตั้งในระดับท้องถิ่น เพราะเหตุว่า เฟซบุ๊กและสื่อออนไลน์ยังไม่สามารถเจาะคะแนนเสียงในแต่ละพื้นที่ให้
ลึกได้ ยอดการไลก์หรือการแชร์ข้อความของผู้หาเสียงไม่สามารถสะท้อนการระดมคะแนนเสียงในพื้นที่ได้
เท่ากับหัวคะแนน ที่สามารถเดินไปขอคะแนนเสียงได้ทุกบ้าน เฟซบุ๊กเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งกลุ่มหนึ่งเท่านั้น และในการเลือกตั้งครั้งนี้กลุ่มวัยรุ่นกลับมาใช้สิทธิน้อย ส่วนกลุ่มคนวัยกลางคน วัย
ท างาน และผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลุ่มหลักในพื้นที่ไม่ได้ใช้ข้อมูลที่น าเสนอผ่านเฟซบุ๊กเป็นเงื่อนไข
หลักในการตัดสินใจ ผู้ให้ข้อมูลชี้ชวนให้พิจารณากรณีผู้สมัครจากคณะก้าวหน้าที่ใช้สื่อออนไลน์จ านวนมากใน
การหาเสียง แต่ก็ไม่ประสบความส าเร็จมากนักในพื้นที่สมุทรปราการ (คณะกรรมการหมู่บ้านท่านหนึ่งในเขต
อ าเภอบางพลี, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564)
เวทีปราศรัยหาเสียง อันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบให้รูปแบบการหาเสียง
แบบเดิมเปลี่ยนไปโดยเฉพาะการตั้งเวทีปราศรัยหาเสียงขนาดใหญ่ เพราะมาตรการของรัฐบาลไม่อนุญาตให้
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 160