Page 184 - kpiebook64011
P. 184

แม้ว่าข้อเสนอโครงการของแต่ละกลุ่มการเมืองจะมีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างหลากหลาย
               แต่โครงการทั้งหมดล้วนวางอยู่ในกรอบทางกฎหมายที่รัฐบาลและระบบราชการจากส่วนกลางเป็นผู้ก าหนด

               เอาไว้ให้ หรือมอบหมายอ านาจให้ท าได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ โครงการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งน าเสนอต่อผู้มีสิทธิ
               เลือกตั้งเป็นแค่เพียงการถอดความจากข้อก าหนดของรัฐบาลและระบบราชการส่วนกลาง ซึ่งได้แก่
               พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอนการ
               กระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แล้วจึงน ามาตบแต่งใหม่ให้สอดคล้องกับปัญหา

               และความต้องการในพื้นที่เท่านั้น ไม่ใช่การริเริ่มสร้างสรรค์โครงการจากระดับพื้นที่ หรือคนในพื้นที่ หรือ
               ตัวแทนของคนในพื้นที่ ดังนั้นโครงการที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
               จังหวัดจึงเป็นเพียงแค่การเดินตามข้อก าหนดจากรัฐส่วนกลาง บนเงื่อนไขที่ต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่
               (พิจารณาภาคผนวก ช)


                      5.2.3 การศึกษาเปรียบเทียบเจตนารมณ์ของกฎหมายในการควบคุมค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งกับผล
               ที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่


                      แม้ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะทุ่มเททรัพยากรเพื่อการหาเสียงในการเลือกตั้งอย่างมากมาย แต่ก็ไม่สามารถ
               ท าได้อย่างไร้ข้อจ ากัด คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ก าหนดกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมการใช้จ่ายทรัพยากรของ

               ผู้สมัครเพื่อลดความได้เปรียบเสียเปรียบของผู้สมัครรับเลือกตั้ง การใช้จ่ายของผู้สมัครในการหาเสียงเลือกตั้ง
               นายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563 อยู่ภายใต้ข้อก าหนดสี่ฉบับอันได้แก่


                       พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ในหมวด 6 ของ
               พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้วางกรอบการใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เจตนารมย์ส าคัญ
               ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ การมอบอ านาจให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าจังหวัดเป็นผู้มีอ านาจ
               ก าหนดกรอบค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง เพราะในแต่ละพื้นที่ต้นทุนค่าจ้าง และระดับราคาของสินค้าและ

               บริหารที่ใช้ในการหาเสียงไม่เท่ากัน รวมถึงก าหนดกรอบระยะเวลาส าหรับค านวณค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่
               ต้องจัดส่งบัญชีค่าใช้จ่ายมายังคณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าจังหวัดเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความ
               น่าสนใจประการหนึ่งคือ หากพบความผิดปกติในการใช้จ่ายของผู้สมัคร คณะกรรมการการเลือกตั้งส่วนกลาง

               และประจ าจังหวัดไม่สามารถด าเนินการสอบสวนและติดสินได้ ต้องให้พนักงานสอบสวนและศาลอุธรณ์หรือ
               ศาลอุธรณ์ภาคเป็นผู้สอบสวนและติดสินความถูกผิด


                       ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง
               สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2563 เนื้อหาส าคัญของระเบียบฉบับนี้เกี่ยวข้องกับการก าหนด
               ลักษณะการหาเสียงที่สามารถกระท าได้และไม่สามารถกระท าได้ แต่เนื้อหาบางส่วนของระเบียบเกี่ยวข้องกับ
               การใช้จ่ายในการหาเสียงด้วยเช่นกัน โดยเนื้อหาของระเบียบระบุถึงประเภทของกิจกรรมการหาเสียงที่ต้องถูก

               น ามาค านวณเป็นค่าใช้จ่ายของผู้สมัคร อันได้แก่

                       1) ค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองที่ช่วยหาเสียงให้ผู้สมัครที่ลงสมัครในนามของพรรคต้องน ามาค านวณ

               เป็นค่าใช้จ่ายของผู้สมัคร

                       2) ค่าใช้จ่ายในการหาเสียงผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์จ านวนมากกว่า 5,000 บาท ต้องน ามา

               ค านวณเป็นค่าใช้จ่ายของผู้สมัคร




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   166
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189