Page 188 - kpiebook64011
P. 188
ส าหรับเหตุผลประกอบการอภิปรายข้อมูลเชิงตัวเลขข้างตน คณะผู้วิจัยได้รวบรวมและน าไปอธิบายไว้
ในหัวข้อต่อไป
5.2.5 การศึกษาทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการซื้อเสียง การแลกผลประโยชน์ และการสร้าง
เครือข่ายอุปถัมภ์ในพื้นที่
การซื้อเสียงตามทัศนะของกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ใช่สิ่งผิดหรือถูกที่จะนิยามให้เป็นกิจกรรม
ที่ดีหรือเลว การซื้อเสียงส าหรับการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี
2563 คือ กระบวนการหนึ่ง ภาษาหนึ่ง และระบบหนึ่งในการเลือกตั้งท้องถิ่น การพัฒนาเมือง และการสร้าง
บรรทัดฐานทางสังคม
การซื้อเสียงไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบการแจกเงินโดยตรง หรือการสร้างข้อตกลงเพื่อการจัดสรร
ผลประโยชน์ภายหลัง เป็นกระบวนการหนึ่งในการหาเสียงเลือกตั้งอย่างขาดไม่ได้ ผู้ให้ข้อมูลจ านวนมากกล่าว
ว่า “การซื้อเสียงเป็นเรื่องธรรมดาในการเลือกตั้ง ทุกคนก็รับเงินหมด” (ประมวลสรุปจาก ผู้ใหญ่บ้านชายท่าน
หนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564; นักธุรกิจรายใหญ่ในพื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่ 19 เมษายน 2564; อดีต
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 12 เมษายน 2564; ผู้ใหญ่บ้านหญิง
ท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564; คณะกรรมการหมู่บ้านท่านหนึ่งในเขตอ าเภอบางพลี, สัมภาษณ์
, วันที่ 18 เมษายน 2564 ) ผลการส ารวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างยืนยันว่าพบเห็นการซื้อเสียงในพื้นที่จน
อาจกล่าวได้ว่า การซื้อเสียงคือ รูปแบบการหาเสียงที่เกิดคู่ขนาดไปกับการหาเสียงอย่างเป็นทางการ แต่การ
ด าเนินการมักอยู่ในเงากล่าวคือ เห็นว่ามีอยู่และเกิดขึ้นจริง แต่ก็ยากที่จะระบุอย่างตรงไปตรงมาว่าเกิดอะไรขึ้น
และใครด าเนินการ ยิ่งไปกว่านั้นการซื้อเสียงยังเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิ
ออกเสียงกล่าวคือ การซื้อเสียงช่วยท าให้ผู้มีสิทธิหันเหนความสนใจมาสู่ตัวผู้สมัคร อีกทั้งจ านวนผลประโยชน์
หรือจ านวนเงินที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับยังเป็นการสื่อสารให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรับรู้ว่าผู้สมัครมีทรัพยากรและ
อ านาจเพียงพอที่จะดูแลประเด็นปัญหาและสนองตอบต่อความต้องการของพวกเขาได้ ในอีกด้านหนึ่ง การซื้อ
เสียงยังช่วยขับเคลื่อนระบบการเลือกตั้งในท้องถิ่น ดังที่กล่าวได้ก่อนหน้านี้ การซื้อเสียงไม่ใช่เพียงการเดินไป
แจกเงินตามบ้านผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือการรับปากว่าจะท าอะไรให้แบบให้ผ่านไปที การซื้อเสียงวางอยู่บนระบบ
กลไก และโครงสร้างของหัวคะแนนที่มีความซับซ้อน (ดังที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้) การซื้อเสียงจึงเป็นเสมือน
น้ ามันที่หล่อเลี้ยงและขับเคลื่อนให้ระบบ กลไก และโครงสร้างของหัวคะแนนสามารถท างานเพื่อขับเคลื่อนการ
เลือกตั้งในแต่ละครั้ง
หากพิจารณาผลลัพธ์จากการซื้อเสียงให้กว้างไปกว่ากรอบทางศีลธรรม อาจท าให้เห็นว่าการซื้อเสียง
น าไปสู่การพัฒนาเมืองและการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมอีกรูปแบบหนึ่ง การข้อค้นพบสะท้อนให้เห็นว่าเงินที่
ใช้แจกในการซื้อเสียงส่วนหนึ่งถูกผันมาจากโครงการพัฒนาในพื้นที่กล่าวคือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดสรร
งบประมาณสนับสนุนโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง และน างบร้อยละ 50 จากแต่ละ
โครงการกลับคืนมาสู่ผู้ด ารงต าแหน่งในองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง วงจรในลักษณะนี้
ช่วยผลักดันให้เกิดโครงการพัฒนาพื้นที่เพราะน าไปสู่การหมุนเวียนของงบประมาณมาสู่ตัวผู้ด ารงต าแหน่งใน
องค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่อย่างไรก็ตาม โครงการพัฒนาภายใต้วงจรการกินส่วนต่างเช่นนี้เป็นโครงการ
พัฒนาที่ด้อยคุณภาพเพราะมีการกินส่วนต่างจากสาธารณูปโภคพื้นฐาน ท าให้สาธารณูปโภคเหล่านั้นมีอายุการ
ใช้งานสั้น ต้องซ่อมบ ารุงบ่อยเพื่อให้เกิดวงจรการกินส่วนต่าง หรือสาธารณูปโภคบางแห่งไม่สามารถเปิดใช้งาน
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 170