Page 192 - kpiebook64011
P. 192

คณะกรรมการหมู่บ้านท่านหนึ่งในเขตอ าเภอบางพลี, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564) ด้านที่สอง เงื่อนไข
               เชิงตัวบุคคล การเลือกตั้งในปี 2563 เกิดขึ้นพร้อมกับการออกจากเรือนจ าของนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ท าให้

               นายชนม์สวัสดิ์ในฐานะผู้น าของกลุ่มการเมืองใหญ่ในพื้นที่สามารถด าเนินกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างเต็มที่
               (แม้ว่าจะด าเนินการผ่านตัวแทนก็ตาม) กิจกรรมการหาเสียงและการแข่งขันทางการเมืองที่เกิดขึ้นล้วนเข้าไป
               กระตุ้นความตื่นตัวของผู้คนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564)
               ด้านที่สาม เงื่อนไขเชิงผลลัพธ์และผลกระทบที่จะได้รับจากการเลือกตั้ง การงดเว้นจากการเลือกตั้งไปนานท า

               ให้ช่องทางที่ประชาชนใช้เพื่อต่อรองผลผลิตและผลลัพธ์จากการตัดสินใจของผู้บริหารท้องถิ่นตีบตันลง เมื่อมี
               การก าหนดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น ประชาชนจ านวนมากจึงตื่นตัวที่จะเข้ามาใช้โอกาสจากการเลือกตั้งเพื่อ
               ก ากับโครงการพัฒนาต่าง ๆ ให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของตนเอง (อดีตประธาน
               อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าอ าเภอเมือง, สัมภาษณ์, วันที่ 9 เมษายน 2564)


                       การส ารวจความตั้งใจในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง


                       เมื่อน าประเด็นความตื่นตัวและความตั้งใจที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้ มาตรวจสอบกับทัศนคติ
               ของกลุ่มตัวอย่างจะพบว่า ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างได้ยืนยันความตื่นตัวในการเลือกตั้งครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง
               ร้อยละ 60.5 ให้ข้อมูลว่า ตนเองไม่ได้ติดตามความเคลื่อนไหวในการเลือกตั้งครั้งนี้มากนักแต่ได้ออกไปเลือกตั้ง

               ตามหน้าที่ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.5 ให้ข้อมูลว่า ตนเองตั้งใจติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในการ
               เลือกตั้งครั้งนี้และได้ไปลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้ง ควรตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ไม่มีกลุ่มตัวอย่างคนใดเลือก
               ค าตอบที่แสดงให้เห็นถึงการเพิกเฉยหรือไม่ใส่ใจต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ (พิจารณาตาราง 6.1)


               ตาราง 6.1 ความตื่นตัวและความสนใจต่อการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               สมุทรปราการ ปี 2563


                                                            Wait
                                                 Frequency   Percent   Valid Percent   Cumulative
                                                                                      Percent
                                   Intended             47      39.5          39.5           39.5
                            Valid   Unintended          72      60.5          60.5          100.0
                                   Total               119     100.0         100.0
               ที่มา : เก็บข้อมูลและประมวลโดยคณะผู้วิจัย


                       การออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้มีสิทธิในเขตเมืองและชนบท

                       หากพิจารณาความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งด้วยกรอบของพื้นที่จะท าให้เห็นว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

               ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมีความตื่นตัวต่ ากว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทและเขตที่ผสมกันระหว่าง
               พื้นที่เมืองและชนบท (พิจารณารูปภาพ 6.1) ข้อมูลจ านวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งบ่งชี้ได้ว่า อัตราเฉลี่ยของจ านวน
               ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตชนบทเขตเมืองผสมกับชนบท และเขตเมือง อยู่ที่ร้อยละ 63.18 61.82 และ 60.52

               ตามล าดับ ตัวเลขของผู้ออกไปใช้สิทธิในเขตชนบทสูงกว่าเขตเมืองเกือบร้อยละ 3 หากพิจารณาเปรียบเทียบ
               จ านวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสูงสุดและต่ าสุดในพื้นที่แต่ละประเภทจะพบว่า ในพื้นที่เมือง เขตเลือกตั้งที่ 15 ของ
               อ าเภอเมืองสมุทรปราการเป็นเขตเลือกตั้งที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิมากที่สุดคือ ร้อยละ 64.84 และเขตเลือกตั้งที่ 5
               ของอ าเภอเมืองสมุทรปราการเป็นเขตเลือกตั้งที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 48.09 และถือว่าน้อย





                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   174
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197