Page 197 - kpiebook64011
P. 197

“อย่างอัศวเหมเขาท าจริง ตรงจุดไหนไม่ดี เขาชี้แล้วให้ท าใหม่ ปรับปรุงใหม่เลย โครงการต่าง
                       ๆ เขาก็สร้างไว้เยอะ ต่างจากรุ่นพ่อเขาที่มีอ านาจมา 30 กว่าปี แต่ไม่ค่อยพัฒนาพื้นที่ให้มีอะไรเลย แต่

                       พอชนม์สวัสดิ์เข้ามาเป็นคนรุ่นใหม่ เขาพัฒนาให้เกิดอะไรขึ้นหลายอย่างในพื้นที่ คนส่วนใหญ่มองว่า
                       ชนม์สวัสดิ์ เขาท างานท าให้หมด น้ า ไฟ ถนน ส่งคนไปดูแลทั่วถึงในพื้นที่ถ้ามีผู้ใหญ่บ้าน หรือสมาชิก
                       สภาองค์กรปกครองท้องถิ่นที่เป็นกลุ่มเขา เข้าจะส่งคนให้เข้าไปดูแลแก้ไขทุกจุดเลย” (อดีตประธาน
                       อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าอ าเภอเมือง, สัมภาษณ์, วันที่ 9 เมษายน 2564)


                       นโยบายที่ใช้ในการหาเสียงดูจะเป็นปัจจัยอันดับกลาง ๆ ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้พิจารณาประกอบการ
               ตัดสินใจ เพราะเหตุว่านโยบายดูจะเป็นเรื่องที่ไกลตัวจากผู้คนในพื้นที่และอยู่พ้นไปจากอ านาจหน้าที่ของ

               ผู้สมัคร ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า ตัวนโยบายไม่สามารถสร้างกระแสความสนใจได้เท่ากับตัวโครงการที่ผู้สมัคร
               น าเสนอว่าจะด าเนินการหากได้รับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับปากท้อง การจัดสวัสดิการ
               และการดูแลคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ในขณะที่โครงการขนาดใหญ่ก็มักจะไม่ได้รับความสนใจจากคน
               ส่วนมากในพื้นที่ เพราะไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้โดยตรงจากโครงการขนาดใหญ่เหล่านั้น ยิ่งไปกว่า

               นั้นการน าเสนอนโยบายของผู้สมัครยังเป็นเรื่องที่ไกลจากอ านาจที่ตนเองมี เพราะนโยบายของท้องถิ่นไม่
               สามารถคิดเองได้ แต่ต้องด าเนินการตามกรอบนโยบายที่กฎหมายและหน่วยงานราชการส่วนกลางก าหนด
               (อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 12 เมษายน 2564)


                       รูปแบบและวิธีการหาเสียงเป็นปัจจัยอันดับท้าย ๆ ที่กลุ่มตัวอย่างน ามาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ
               เนื่องด้วยกลุ่มการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งล้วนมีวิธีการหาเสียงที่ไม่ต่างกัน การใช้ป้ายหาเสียง การใช้รถแห่
               การแจกแผ่นพับใบปลิว และการลงพื้นที่พบปะประชาชนถูกใช้เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการหาเสียง สิ่งที่จะ

               แตกต่างออกไปคือ การใช้หัวคะแนนและจ านวนเงินที่น าไปแจกให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การหาเสียงด้วย
               หัวคะแนนและการแจกเงินถูกใช้อย่างเข้มข้นจากสองกลุ่มการเมืองที่ต่อสู้กันมาอย่างยาวนานในพื้นที่


                       บรรยากาศการเมืองในระดับชาติเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กลุ่มตัวอย่างเลือกมาพิจารณาประกอบการ
               ตัดสินใจเป็นอันดับท้าย เนื่องจากคนในพื้นที่ยังยึดติดกับตัวบุคคลมากกว่าการเมืองที่ไกลออกไปจากพื้นที่
               เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้คือ การเลือกตั้งผู้บริหารเข้ามาบริหารจัดการกับพื้นที่ (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง,

               สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564) การเมืองในระดับชาติที่อยู่เหนือไปจากปัญหาในระดับพื้นที่ จึงเป็นปัจจัย
               เชิงอุดมการณ์ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งน าไปใช้พิจารณาส าหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


                       การเป็นทายาทนักการเมืองหรือตระกูลการเมืองในพื้นที่ดูจะเป็นปัจจัยที่มีความส าคัญน้อยที่สุด
               ส าหรับการตัดสินใจของกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากลักษณะทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ การเป็น
               ทายาทนักการเมืองหรือตระกูลทางการเมืองดูจะส าคัญน้อยกว่าการสังกัดกลุ่มการเมืองใหญ่ในพื้นที่ เมื่อ
               ตระกูลอัศวเหมสามารถสถาปนากลุ่มทางการเมืองของฝ่ายตนเองได้อย่างมั่นคง ท าให้ในพื้นที่เกิดขั้วอ านาจ

               ทางการเมือง 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มอัศวเหมและกลุ่มรัศมิทัต ผู้สมัครรับเลือกตั้งรวมถึงทายาทตระกูลการเมืองที่
               ต้องการลงสมัครต่างเลือกเข้าไปสังกัดกับกลุ่มการเมืองข้างต้น เพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่ายทรัพยากรและ
               หัวคะแนนของกลุ่มการเมือง











                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   179
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202