Page 198 - kpiebook64011
P. 198
สรุป
จากการศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนน
เสียงในการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563 สามารถสรุป
สาระส าคัญได้ดังนี้
ประการแรก ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความตื่นตัวและความสนใจในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ ดังจะเห็นได้
จากจ านวนผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในปี 2563 สูงขึ้นกว่าการเลือกตั้งในปี 2554 จ านวน 170,993 คน หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.86 ข้อมูลจากการส ารวจความเห็นกลุ่มตัวอย่างก็สะท้อนให้เห็นความตื่นตัวและความสนใจ
ต่อการเลือกตั้งเช่นกัน โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนให้ข้อมูลว่าได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในครั้งนี้ แต่ความ
สนใจที่จะติดตามความเคลื่อนไหวของผู้สมัครและข่าวการเลือกตั้งมีระดับความสนใจที่ต่างกันออกไป เมื่อ
พิจารณาลงไปในระดับเขตเลือกตั้งพบว่า จ านวนผู้ออกไปใช้สิทธิในเขตเมืองผสมกับเขตชนบท และเขตชนบท
สูงกว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมือง นัยจากจ านวนผู้ออกไปใช้สิทธิดังกล่าวอาจอธิบายได้ว่า ความตื่นตัวของผู้มี
สิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองต่ ากว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตชนบทและเขตเมืองผสมชนบท
ประการที่สอง การตัดสินใจเลือกหรือลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรายใดรายหนึ่งมักมีเหตุผลประกอบการ
ตัดสินใจเสมอ แต่การตัดสินใจเลือกวางอยู่บนเงื่อนไขปัจจัยด้านใด ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยอันดับต้น ๆ
ที่กลุ่มตัวอย่างมักใช้ประกอบการตัดสินใจคือ ปัจจัยด้านความน่าสนใจของตัวผู้สมัคร และการที่ผู้สมัครสังกัด
กลุ่มการเมืองในระดับท้องถิ่น ส่วนปัจจัยรองลงมาที่กลุ่มตัวอย่างจะพิจารณาประกอบการตัดสินใจคือ ปัจจัย
กระแสการเมืองในระดับประเทศ นโยบายที่ผู้สมัครใช้หาเสียง และรูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัคร
ส าหรับปัจจัยอันดับท้าย ๆ ที่กลุ่มตัวอย่างจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจคือ ประเด็นที่ผู้สมัคร
เป็นทายาทของนักการเมืองหรือตระกูลการเมืองในพื้นที่
ข้อมูลความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างคงไม่สามารถสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจต่อ
การเมืองในท้องถิ่นได้อย่างลึกซึ้งเพียงใด รวมถึงสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานของนักการเมืองท้องถิ่นตาม
หลักวิชาการบริหารภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตามทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างสามารถบ่งชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยด้านอารมณ์
ความรู้สึก และการรับรู้แบบใดที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมักให้ความสนใจและน าไปสู่การลงคะแนนเสียง กล่าวอย่าง
เป็นระบบคือ แม้ว่าการส ารวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างอาจมีอ านาจในการอธิบายการตัดสินใจเลือกตั้ง
แบบทบทวนผลงานที่ผ่านมา (retrospective voting) ได้ต่ า (พิจารณาแนวคิดการตัดสินใจเลือกตั้งแบบ
ทบทวนผลงานที่ผ่านมาได้ใน พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ และธนิสรา เรืองเดช (2563) รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนา
แพลตฟอร์มสื่อสารข้อมูลการเลือกตั้งท้องถิ่นในประเทศไทย (2563) บนเว็บไซต์: กรณีศึกษาและการประยุกต์
ใช้กับการเลือกตั้งท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร) แต่สามารถสะท้อนให้ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะตัดสินใจเลือกผู้น า
ของพวกเขาบนฐานของอารมณ์ ความรู้สึก และการรับรู้ในรูปแบบใด
ข้อมูลจากการส ารวจความคิดเห็นชี้ให้เห็นว่าความน่าสนใจของตัวผู้สมัคร และการที่ผู้สมัครสังกัดกลุ่ม
การเมืองในระดับท้องถิ่นคือปัจจัยแรก ๆ ที่กลุ่มตัวอย่างจะใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร
ความน่าสนใจเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก และการรับรู้โดยตรง และการจะประเมินความน่าสนใจของตัว
ผู้สมัครได้ ผู้สมัครรายนั้นต้องเป็นคนที่อยู่ใกล้ตัวผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งมองออกไปก็สามารถ
เห็นและประเมินผู้สมัครรายนั้นได้ (ซึ่งต่างไปจากผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่รู้จัก เพราะหากผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งมองออกไปแล้วไม่รู้จักและไม่สามารถประเมินออกมาได้ โอกาสที่จะได้รับเลือกก็จะมีน้อยลง) ปัจจัย
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 180