Page 201 - kpiebook64011
P. 201

บัตรไปเก็บไว้ที่บ้านของประธานหน่วยเลือกตั้ง ห้องเก็บของในศาลาเอนกประสงค์ หรือโรงเรียนในชุมชน
               แทนที่จะเก็บรักษาไว้ในสถานที่ซึ่งมียามรักษาความปลอดภัยตลอดเวลา (ไทยโพสต์, 2563, 20 ธันวาคม)


                       ลักษณะที่สาม ความไม่โปร่งใสในห้วงเวลาการเลือกตั้ง ปัญหาด้านนี้มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาคืนก่อนวัน
               เลือกตั้ง หรือเกิดขึ้นในระหว่างวันเลือกตั้ง ข้อร้องเรียนมักเกี่ยวข้องกับการแจกเงิน การคุกคามของหัวคะแนน

               ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมถึงการวางตัวไม่เป็นกลางของบุคลากรในหน่วยเลือกตั้ง การตรวจสอบความไม่โปร่งใส
               ด้านนี้ด าเนินการโดยองค์กรนอกภาครัฐร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อติดตามตรวจสอบการเลือกตั้ง องค์กรหนึ่งที่
               ด าเนินการตรวจสอบการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้อย่างแข่งขันคือ มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย ใน
               แถลงการณ์ของมูลนิธิดังกล่าวต่อการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี 2563 ระบุ

               ว่า จังหวัดสมุทรปราการเป็น 1 ใน 18 จังหวัดที่ถูกรายงานว่าพบการทุจริตทั้งการแจกเงิน การข่มขู่บังคับของ
               หัวคะแนน และการวางตัวไม่เป็นกลางของบุคลากรในหน่วยเลือกตั้ง (มติชน, 2563, 21 ธันวาคม)


                       ลักษณะที่สี่ ความผิดพลาดในกระบวนการจัดการเลือกตั้ง ปัญหาในลักษณะนี้เกี่ยวเนื่องกับความ
               ผิดพลาดของบุคลากรประจ าหน่วยเลือกตั้ง หรือที่เรียกว่าความผิดพลาดที่เกิดจากคน (human error) ความ
               ผิดพลาดประเภทนี้มักพบบ่อยในกระบวนการนับคะแนน ไม่ว่าจะเป็นการนับคะแนนผิด การนับจ านวนบัตร
               เลือกตั้งผิด การขานคะแนนผิด รวมถึงการใช้ดุลพินิจตัดสินบัตรดีบัตรเสียผิดพลาด ข้อผิดพลาดนี้เกิดขึ้นใน

               จังหวัดสมุทรปราการด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่สั่งให้จัดการ
               เลือกตั้งใหม่ในสามหน่วยเลือกตั้งอันได้แก่ 1) หน่วยเลือกตั้งที่ 8 ต าบลแหลมฟ้าผ่า เขตเลือกตั้งที่ 1 อ าเภอ
               พระสมุทรเจดีย์ 2) หน่วยเลือกตั้งที่ 39 ต าบลในคลองบางปลากด เขตเลือกตั้งที่ 1 อ าเภอพระสมุทรเจดีย์ และ
               3) หน่วยเลือกตั้งที่ 21 ต าบลส าโรงเหนือ เขตเลือกตั้งที่ 6 อ าเภอเมืองสมุทรปราการ ด้วยเหตุว่าจ านวนผู้มาใช้

               สิทธิเลือกตั้งไม่ตรงกับจ านวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ออกเสียงลงคะแนน (ค าสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 8/2564
               เรื่อง ให้มีการออกเสียงลงคะแนนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการใหม่ วันที่ 22 มกราคม 2564)


                       จากประเด็นปัญหาข้อร้องเรียน ความไม่โปร่งใส และข้อผิดพลาดในการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้
               ควรที่จะต้องวิเคราะห์ถึงบทบาทของหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง เนื้อหาในหัวข้อถัดไปมุ่ง
               อธิบายถึงบทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


               7.2 บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่าง ๆ ในการจัดการเลือกตั้ง


                       หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหลักในการจัดการเลือกตั้งคือ ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
               นอกจากนั้นในระดับพื้นที่ยังมีคณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการเป็น
               หน่วยปฏิบัติที่ด าเนินการจัดการเลือกตั้งในพื้นที่ จากการรวบรวมประกาศของส านักงานคณะกรรมการการ

               เลือกตั้งประจ าจังหวัดสมุทรปราการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหาร
               ส่วนจังหวัด สามารถจ าแนกบทบาทได้เป็นสามช่วงเวลากล่าวคือ  การเตรียมการก่อนวันเลือกตั้ง การ
               ด าเนินการในวันเลือกตั้ง และการด าเนินการหลังวันเลือกตั้ง การท าหน้าที่ในช่วงแรกเป็นภาระความรับผิดชอบ
               ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการและคณะกรรมการการเลือกตั้ง

               ส าหรับการท าหน้าที่ในสองช่วงเวลาหลัง แม้ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจะยังคงมีบทบาทหลัก แต่ก็
               เปิดโอกาสให้สถาบันวิชาการ องค์กรภาคประชาชน รวมถึงคณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะกรรมการการ
               เลือกตั้งเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้เฝ้ามองและประเมินการจัดการเลือกตั้ง (พิจารณาตาราง 7.1)






                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   183
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206