Page 196 - kpiebook64011
P. 196

ตาราง 6.2 ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
               จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563


                 อันดับ       ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้ง    จ านวนกลุ่มตัวอย่างที่เลือก (จาก 96 ตัวอย่าง)

                   1     ความน่าสนใจของตัวผู้สมัคร                                 25
                   2     การที่ผู้สมัครสังกัดกลุ่มการเมืองในระดับ                  23

                         ท้องถิ่น

                   3     กระแสของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่                             21
                   4     นโยบายที่ผู้สมัครใช้หาเสียง                               19

                   5     รูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัคร                        17

                   6     บรรยากาศของการเมืองระดับชาติ                              16
                   7     การที่ผู้สมัครเป็นทายาทของนักการเมืองหรือ                 15

                         ตระกูลการเมืองในพื้นที่
               ที่มา : เก็บข้อมูลและประมวลผลโดยคณะผู้วิจัย


                       ภาพลักษณ์ ภูมิหลัง และกิจกรรมทางการเมืองที่ผ่านมาของตัวผู้สมัครเป็นปัจจัยอันดับแรกที่กลุ่ม
               ตัวอย่างใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่า ผู้สมัครคือใครมักเป็นค าถามแรก

               ๆ ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถามเพื่อจะตัดสินใจว่าจะลงคะแนนเสียงให้หรือไม่ ค าถามว่าผู้สมัครคือใครกินความไปถึง
               ประวัติทางการเมืองของผู้สมัครว่าเป็นมาอย่างไร ใช่คนในพื้นที่หรือไม่ การท างานที่ผ่านมาของผู้สมัครเป็น
               อย่างไร คุณภาพของตัวผู้สมัครในการให้บริการประชาชนเป็นอย่างไร และประชาชนสามารถเข้าถึงได้เพื่อแจ้ง
               เรื่องราวร้องทุกข์ได้โดยตรงหรือไม่ (ผู้ใหญ่บ้านหญิงท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564) ค าถาม

               ประกอบการตัดสินใจเหล่านี้มุ่งตรงไปที่พฤติกรรมของตัวผู้สมัคร และเป็นพฤติกรรมที่อยู่ในสายตาของผู้มีสิทธิ
               เลือกตั้งมาอย่างยาวนาน ไม่สามารถสร้างได้ในเวลาอันสั้น


                       การสังกัดกลุ่มการเมืองในระดับพื้นที่เป็นปัจจัยอันดับรองลงมาที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้พิจารณา
               ประกอบการตัดสินใจ การสังกัดกลุ่มการเมืองในพื้นที่ส าคัญในแง่ที่ว่า หากเลือกผู้สมัครรายนี้จะมีกลุ่มรองรับ
               การท างานเป็นหมู่คณะ ผู้สมัครสามารถขับเคลื่อนงานหรือโครงการได้โดยได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่ม

               การเมืองที่ผู้สมัครสังกัดอยู่ หากผู้สมัครลงสมัครในนามอิสระ การผลักดันงานและโครงการต่าง ๆ อาจไม่
               ราบรื่น เพราะอาจไม่ได้รับแรงผลักดันจากกลุ่มการเมืองในสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ประธานชมรมศิษย์
               เก่าของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในพื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่ 9 เมษายน 2564) อิทธิพลจากปัจจัยด้านนี้ส่งผลให้
               ผู้สมัครจากกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าได้รับชัยชนะในต าแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสามารถ
               คุมที่นั่งในสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 30 จาก 36 ที่นั่ง


                       กระแสของคนรุ่นใหม่เป็นปัจจัยที่ส าคัญอันดับต่อมา แต่ผู้ให้ข้อมูลกลับให้นิยามค าว่ากระแสคนรุ่น

               ใหม่ที่ไม่ได้ยึดโยงกับการเคลื่อนไหวของขบวนการเยาวชนในระดับชาติ กระแสคนรุ่นใหม่ถูกอธิบายเชื่อมโยง
               เข้ากับนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ในฐานะผู้น ารุ่นใหม่ของกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าที่จะพัฒนาและสร้างการ
               เปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ดังนั้นการเลือกกลุ่มสมุทรปราการที่นายชนม์สวัสดิ์ให้การสนับสนุน จึงเท่ากับเปิดโอกาส
               ให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาท างานพัฒนาเมือง ผู้ให้ข้อมูลรายหนึ่งอธิบายในประเด็นนี้เอาไว้ว่า




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   178
   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201