Page 200 - kpiebook64011
P. 200
บทที่ 7
การจัดการเลือกตั้ง
เนื้อหาในบทนี้มุ่งวิเคราะห์การจัดการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมุทรปราการ ปี 2563 โดยพิจารณาปัญหาและข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นในช่วงเตรียมการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง
และหลังการเลือกตั้ง ข้อร้องเรียนต่อการจัดการเลือกตั้งวางอยู่บนประเด็นเรื่องคุณสมบัติของตัวผู้สมัครรับ
เลือกตั้ง การด าเนินการของเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ถูกก าหนดไว้ การแจกเงินและข่มขู่คุกคาม
ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้อยู่
ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานสี่แห่งอันได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนกลาง คณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจ าจังหวัดสมุทรปราการ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ
ผู้อ านวยการการเลือกตั้งประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ หน่วยเหล่านี้มีหน้าที่หลักในการ
เตรียมการเลือกตั้ง การด าเนินการในวันเลือกตั้ง และการด าเนินการหลังวันเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มประชา
สังคม สถาบันวิชาการ และคณะกรรมการย่อยที่มาจากคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยประเมินและเฝ้า
ระวังปัญหาและความผิดพลาดในการจัดการเลือกตั้ง
7.1 ความโปร่งใสในการจัดการเลือกตั้ง การปฏิบัติตามกฎหมาย การร้องเรียน
การจัดการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563 ไม่ปรากฏ
การทุจริตในการจัดการเลือกตั้งอย่างชัดเจนหรือข้อร้องเรียนที่ร้ายแรงจนน าไปสู่การประกาศให้การเลือกตั้ง
ทั้งหมดเป็นโมฆะ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2564) แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการการเลือกตั้งได้
ประกาศให้จังหวัดสมุทรปราการต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ในสามหน่วยเลือกตั้ง อันเนื่องมาจากจ านวนบัตร
เลือกตั้งและจ านวนผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกัน จากการรวบและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การร้องเรียนและความไม่
โปร่งใสในการจัดการเลือกตั้งเกิดขึ้นในสี่ลักษณะกล่าวคือ
ลักษณะแรก ข้อร้องเรียนเชิงตัวบุคคล มักเป็นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของตัว
ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรืออาจเป็นข้อสงสัยว่าประวัติภูมิหลังของตัวผู้สมัครไม่ชอบด้วย
กฎหมายหรือไม่ ดังตัวอย่างของนางสาวนนันทิดา แก้วบัวสาย ผู้ชนะการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน
จังหวัดสมุทรปราการซึ่งถูกร้องคัดค้านผลการเลือกตั้ง อันเนื่องมาจากคุณสมบัติด้านการศึกษาที่ไม่ตรงตาม
กฎหมายก าหนด (ผู้จัดการออนไลน์, 2564, 31 มีนาคม) รวมถึงยังมีข้อร้องเรียนเรื่องการหลีกเลี่ยงภาษีจาก
การประกอบธุรกิจเครื่องส าอาง (อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์,
วันที่ 12 เมษายน 2564)
ลักษณะที่สอง ความไม่โปร่งใสในการด าเนินการก่อนการเลือกตั้ง ปัญหาด้านนี้เกี่ยวข้องกับความ
บกพร่องของหน่วยงานภาครัฐในการเตรียมการก่อนการเลือกตั้ง ความบกพร่องดังกล่าวเป็นความผิดพลาดใน
เชิงการปฏิบัติงานที่อาจไม่ตรงตามระเบียบหรือแนวทางที่ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งก าหนดไว้ ดังจะเห็น
ได้จากตัวอย่างข้อร้องเรียนของผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากกลุ่มรวมพลังสมุทรปราการ
ซึ่งร้องเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งว่า ด าเนินการจัดเก็บหีบเลือกตั้งไว้ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม
และไม่เป็นไปตามข้อก าหนดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าวน าหีบ
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 182