Page 189 - kpiebook64011
P. 189
ได้ อาทิ หอชมเมือง (อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 12
เมษายน 2564) ในมิติทางสังคม การซื้อเสียงได้เข้าไปสร้างบรรทัดฐานทางสังคมในพื้นที่ด้วยเช่นกัน เมื่อ
หัวคะแนนโดยเฉพาะผู้น าชุมชนอย่างก านัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้บริหารท้องถิ่น น าเงินไปแจกให้แก่ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่รับเงินจากหัวคะแนนเหล่านั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนนั้นจะกลายเป็น “แกะด า”
ในชุมชน และอาจท าให้ถูกมองด้วยสายตาที่แปลกแยกจากผู้น าในชุมชนจนส่งผลกระทบต่อการร้องขอความ
ช่วยเหลือจากรัฐ หรือการรับสิทธิประโยชน์ที่รัฐจัดสรรให้ผ่านผู้น าชุมชน แหล่งข้อมูลให้รายละเอียดในประเด็น
ดังกล่าวไว้ดังนี้
“ถ้าไม่รับเงินก็จะกลายเป็นแกะด าของชุมชน คือต้องรับเพื่อไม่ให้ดูแปลกแยกไปจากคนส่วน
ใหญ่ในชุมชน การกลายเป็นแกะด าจะท าให้ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ส าคัญของทางราชการ และอาจ
ท าให้เข้าถึงการช่วยเหลือและสิทธิประโยชน์ล่าช้า รวมถึงการพึ่งพาอาศัยกับผู้คนอื่น ๆ ในระดับ
ชุมชนจะสูญเสียไป...การรับเงินบางทีคือ ไม่ท าให้หัวคะแนนเกิดความไม่พอใจ เพื่อจะได้ไม่ถูก
หัวคะแนนกลั่นแกล้ง และสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น เงินชดเชยที่รัฐบาลให้ผ่านก านันผู้ใหญ่บ้าน
การขอเอกสารสิทธิในที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการรับรองจากผู้น าชุมชน” (อดีตประธาน
อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าอ าเภอเมือง, สัมภาษณ์, วันที่ 9 เมษายน 2564; ประธานชมรมศิษย์เก่า
ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในพื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่ 9 เมษายน 2564)
สรุป
จากการศึกษาพฤติกรรมการหาเสียงและรูปแบบการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกและสมาชิก
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563 รวมถึงการตอบสนองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อพฤติกรรม
และรูปแบบการหาเสียง สามารถสรุปประเด็นส าคัญได้ดังนี้
ประการแรก รูปแบบการหาเสียงแบบเดิม ทั้งการใช้ป้ายหาเสียง การพบปะประชาชน การแจก
ใบปลิวแผ่นพับ การรณรงค์ผ่านรถแห่ และหัวคะแนนยังเป็นรูปแบบที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งนิยมใช้อยู่ โดย
รายละเอียดของเนื้อหา การออกแบบ และการด าเนินการ ล้วนแตกต่างกันไปตามกลุ่มการเมืองหลักในพื้นที่
ในขณะที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ยังคุ้นเคย รู้สึกชื่นชอบ และได้รับข้อมูลของผู้สมัครจากรูปแบบการหาเสียงแบบเก่า
ส าหรับการหาเสียงออนไลน์ซึ่งเป็นรูปแบบการหาเสียงที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรับรองให้ใช้หาเสียงได้ใน
ครั้งนี้ กลับไม่เป็นที่นิยมทั้งในกลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้งและกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ประการที่สอง ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากกลุ่มการเมืองใหญ่ในพื้นที่ยังคงใช้รูปแบบและวิธีการหาเสียง
แบบปิดลับอย่างเข้มข้นผ่านการท างานของจักรกลการเมือง กลุ่มการเมืองใหญ่ในพื้นที่ต่างสร้างจักรกล
การเมืองของฝ่ายตนเอง และมีหัวคะแนนเป็นหัวใจส าคัญของจักรกลการเมืองเพื่อท าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
และระดมคะแนนเสียงให้แก่ตัวผู้สมัครและกลุ่มของตนเอง หัวคะแนนเหล่านี้มีการจัดโครงสร้างและวาง
บทบาทอย่างเป็นระบบ อันประกอบไปด้วย หัวคะแนนวงใน หัวคะแนนคุมพื้นที่ใหญ่ หัวคะแนนคุมพื้นที่ย่อย
และหัวคะแนนคุมย่านหรือกลุ่มบ้าน นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการอ่านธรรมชาติของผู้มี
สิทธิเลือกตั้งแต่ละบ้าน ทักษะการประสานอ านาจระหว่างกลุ่มหัวคะแนนด้วยกันเอง เพื่อให้การระดมคะแนน
เสียงส าเร็จตามเป้าหมายที่ก าหนด นอกจากนี้ โครงการและงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ถูก
น ามาใช้เป็นเครื่องมือในการหาเสียงเลือกตั้ง รวมถึงตอบแทนและแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างสมาชิกใน
จักรกลการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สมัครที่ด ารงต าแหน่งอยู่ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดก่อนการเลือกตั้ง มัก
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 171