Page 143 - kpiebook64011
P. 143

2542) ขั้วอ านาจที่สองนี้เกิดขึ้นไปพร้อมกับมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับขบวนการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จ
               การแห่งชาติในพื้นที่ จึงยิ่งท าให้ขั้วอ านาจนี้เติบโตมากขึ้นในช่วงหลังการรัฐประหารปี 2549 นอกจากสองขั้ว

               อ านาจดังกล่าวแล้ว งานวิชาการก่อนหน้านี้ยังน าเสนอมุมมองที่แตกต่างกันออกไป โดยพรชัย เทพปัญญา และ
               พงษ์ยุทธ สีฟ้า (2548, น. 98-103) มองว่ากลุ่มนักการเมืองในพื้นที่ซึ่งสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นขั้วอ านาจ
               ทางการเมืองที่ส าคัญก่อนการเกิดขึ้นของขั้วอ านาจนักการเมืองฝ่ายพรรคไทยรักไทยและเพื่อไทย ข้อเสนอนี้
               แตกต่างไปจากความเห็นของกฤตยาณี พิรุณเนตร (2557, น. 74-84) ที่เสนอว่า กลุ่มของนายอ านวย รัศมิทัต

               คือขั้วอ านาจที่ส าคัญอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่กลุ่มนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเหตุว่ากลุ่มนักการเมืองที่เคย
               สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ต่างยุติบทบาททางการเมืองไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มของนายอ านวยยังมีตัวแทนของกลุ่ม
               ที่มีบทบาททางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นอยู่


                       งานวิชาการในอดีตที่วิเคราะห์ขั้วอ านาจในจังหวัดสมุทรปราการยุติการวิเคราะห์ลงในช่วงปลาย
               ทศวรรษที่ 2550 แต่หากขยายกรอบเวลาการวิเคราะห์มาจนถึงการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

               ปี 2563 จะท าให้เห็นการเสื่อมคลายลงของขั้วอ านาจนักการเมืองพรรคเพื่อไทยพร้อมกับการฟื้นฟูอ านาจน า
               ทางการเมืองของขั้วอ านาจตระกูลอัศวเหม หากใช้กรอบการเลือกตั้งและผลการเลือกตั้งเป็นตัวชี้วัดเพื่อ
               สะท้อนขั้วอ านาจทางการเมือง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2562 สะท้อนให้เห็นว่า ขั้วอ านาจ
               นักการเมืองพรรคเพื่อไทยเสื่อมคลายลงอย่างมาก เพราะไม่สามารถชนะการเลือกตั้งในพื้นที่ได้เลย อย่างไรก็

               ตามการเสื่อมคลายลงของขั้วอ านาจนักการเมืองพรรคเพื่อไทยควรได้รับการวิเคราะห์และอภิปรายอย่าง
               กว้างขวางมากกว่านี้ เพราะมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ นักการเมืองของพรรคเพื่อไทยในพื้นที่จ านวน
               หนึ่งถูกด าเนินคดีจากการเข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับขบวนการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ
               แห่งชาติ นอกจากนั้นยังเกิดการเจรจาต่อรองเพื่อให้นักการเมืองในกลุ่มพรรคเพื่อไทยย้ายสังกัดไปอยู่กับพรรค

               การเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับพรรคเพื่อไทย (นักธุรกิจรายใหญ่ในพื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่ 19 เมษายน
               2564) การเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563 ยิ่งสะท้อนให้เห็น
               การเสื่อมคลายลงของขั้วอ านาจนักการเมืองพรรคเพื่อไทยกล่าวคือ เครือข่ายของพรรคเพื่อไทยในพื้นที่ให้การ
               สนับสนุนแก่ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดรายหนึ่งจนประชาชนในพื้นที่รับรู้อย่างกว้างขวาง

               (ผู้ใหญ่บ้านหญิงท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564) แต่ผู้สมัครซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเครือข่าย
               พรรคเพื่อไทยกลับได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนน้อยและผิดไปจากความคาดหวังมาก (อดีตนายกองค์การ
               บริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 12 เมษายน 2564)


                       ในทางกลับกัน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี 2562 และการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภา
               องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการปี 2563 ได้สะท้อนให้เห็นการกลับมาของขั้วอ านาจตระกูลอัศวเหม

               ภายใต้การน าของนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เพราะเหตุว่าผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐที่กลุ่มอัศวเหมให้การ
               สนับสนุนสามารถชนะการเลือกตั้งใน 5 จาก 7 เขตเลือกตั้ง ชัยชนะดังกล่าวถูกประเมินจากผู้ให้ข้อมูลรายหนึ่ง
               ว่านายชนม์สวัสดิ์ สามารถน าพาเครือข่ายให้กลับขึ้นมามีอ านาจน าได้เสมือนกับช่วงที่นายวัฒนายังมีอ านาจอยู่
               (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564 ) การเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การ

               บริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563 เป็นข้อยืนยันการฟื้นฟูอ านาจของตระกูลอัศวเหมอีกประการหนึ่ง
               ดังจะเห็นได้จากผู้สมัครชิงต าแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ตระกูลอัศวเหมให้การสนับสนุนได้รับชัย
               ชนะโดยมีคะแนนทิ้งห่างจากผู้สมัครที่ได้คะแนนเป็นอันดับสองราว 260,000 คะแนน (ประกาศคณะกรรมการ
               การเลือกตั้งประจ าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง ผลการนับคะแนนเลือกตั้ง, วันที่ 8

               กุมภาพันธ์ 2564) ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ชี้ให้เห็นการฟื้นฟูอ านาจของตระกูล



                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   125
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148