Page 141 - kpiebook64011
P. 141
ต าแหน่งที่ส าคัญ ๆ ทางการเมืองมากกว่า 9 ปี ท าให้กลุ่มคนที่เคยสังกัดอยู่กับกลุ่มรัศมิทัต แยกตัวออกไปอยู่
กับกลุ่มอัศวเหมหรือแยกตัวออกไปด าเนินการทางการเมืองเอง (ผู้ใหญ่บ้านหญิงท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 18
เมษายน 2564) ปัจจัยที่สอง การมีทรัพยากรไม่เท่ากับกลุ่มอัศวเหม กลุ่มรัศมิทัตถูกประเมินจากผู้ให้ข้อมูลว่ามี
ทรัพยากรที่จะหล่อเลี้ยงคนและขับเคลื่อนเครือข่ายไม่มากเท่ากับกลุ่มอัศวเหม จึงท าให้เกิดการซื้อตัวบุคคลที่มี
บทบาทส าคัญให้ย้ายจากกลุ่มรัศมิทัตไปอยู่กับกลุ่มอัศวเหม อาทิ การซื้อตัวผู้น าชุมชนอย่างก านัน ผู้ใหญ่บ้าน
ให้ย้ายกลุ่ม มักจะจ่ายกันที่ 500,000 บาท (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564)
ปัจจัยที่สาม ภาพลักษณ์ของผู้น ากลุ่ม นายอ านวยเป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่ามีอายุมากแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับ
นายชนม์สวัสดิ์ที่เป็นแกนน าของกลุ่มอัศวเหม อายุที่มากท าให้คนในพื้นที่ประเมินว่า “บารมีอาจลดน้อยลง ท า
ให้คนในพื้นที่พึ่งพาได้น้อยลง ก็เลยหันไปพึ่งพาอีกกลุ่มหนึ่งจะดีกว่า” (อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมุทรปราการท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 12 เมษายน 2564)
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบภูมิหลังของทั้ง 2 ตระกูลการเมืองที่แข่งขันในสนามการเมืองระดับจังหวัดมา
ตลอดเกือบ 20 ปี จะพบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับตัวแสดงที่เข้าสู่อ านาจทางการเมืองได้อย่างน้อย 3 ประเด็น
กล่าวคือ ประเด็นแรก การสร้างฐานอ านาจเพื่อเข้าสู่การเมือง กลุ่มอัศวเหมสร้างฐานอ านาจเพื่อเข้าสู่การเมือง
จากการไปมีปฏิสัมพันธ์กับการเมืองในระดับจังหวัดและระดับชาติกล่าวคือ เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์และสร้างความ
ใกล้ชิดกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการระดับสูงในจังหวัด และเครือข่ายนักธุรกิจของจังหวัด ในขณะที่
กลุ่มรัศมิทัตเริ่มสร้างฐานทางการเมืองจากพื้นที่ระดับต าบล และสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้น าชุมชนในระดับพื้นที่
ประเด็นที่สอง การขยายฐานอ านาจและเครือข่ายทางการเมือง กลุ่มอัศวเหมมีความพยายามผนวก
รวมเครือข่ายย่อย ๆ ในระดับพื้นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และสร้างจักรกลทางการเมืองของกลุ่มในนาม
สมุทรปราการก้าวหน้า เพื่อขยายฐานอ านาจและเครือข่ายทางการเมืองให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด ยิ่งไปกว่านั้น
กลุ่มอัศวเหมใช้ทั้งระบบเครือญาติและการคัดสรรคนนอกที่มีบทบาทส าคัญในพื้นที่เข้ามาเป็นเครือข่ายทาง
การเมืองของกลุ่ม ส าหรับกลุ่มรัศมิทัต การสร้างเครือข่ายทางการเมืองมักจ ากัดอยู่ในเขตพื้นที่ย่อยระดับต าบล
หรืออ าเภอ อาทิ ต าบลบางน้ าผึ้ง อ าเภอพระประแดง เป็นส าคัญ อีกทั้งกลุ่มรัศมิทัตวางเครือข่ายทางการเมือง
โดยอิงกับระบบเครือญาติเป็นส าคัญกล่าวคือ ผลักดันให้คนในครอบครัวเข้าไปอยู่ในต าแหน่งทางการเมืองที่
ส าคัญต่อการค้ าจุนเครือข่ายทางการเมืองของกลุ่ม
ประเด็นที่สาม การสืบทอดและส่งต่อเครือข่ายทางการเมือง กลุ่มอัศวเหมได้ผ่านการผลัดเปลี่ยนผู้น า
กลุ่มจากรุ่นหนึ่งมาสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างราบรื่นและไม่ปรากฏให้เห็นความแตกแยกของเครือข่ายอย่างเด่นชัด จึง
ท าให้กลุ่มอิทธิพลและเครือข่ายย่อย ๆ ในพื้นที่มองเห็นทิศทางและสามารถคาดการณ์การด าเนินการทาง
การเมืองได้ชัด เป็นเหตุให้เครือข่ายย่อย ๆ ในพื้นที่จึงทยอยเข้ามาสังกัดในกลุ่มอัศวเหม ในทางกลับกัน กลุ่มรัศ
มิทัตยังไม่เกิดการเปลี่ยนผู้น ากลุ่มอย่างชัดเจน อีกทั้งทายาทที่จะขึ้นมาเป็นผู้น ากลุ่มก็ไม่มีต าแหน่งที่เป็น
ทางการในพื้นที่ จึงท าให้ทิศทางและการคาดการณ์กิจกรรมทางการเมืองของกลุ่มมีความผันผวนสูง จึงท าให้
เครือข่ายและอิทธิพลของกลุ่มรัศมิทัตถดถอยลงไป
จากการอธิบายภูมิหลังของสองกลุ่มการเมืองหลักที่ต่อสู้กันในสนามการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วน
จังหวัดสมุทรปราการ คงท าให้เห็นได้ว่า การแข่งขันกันทางการเมืองไม่ใช่เพียงด าเนินไปในลักษณะหัวหน้าของ
กลุ่มต่อสู้กัน หรือแข่งขันกันด้วยปริมาณเงินที่ฝ่ายใดจะให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้มากกว่ากัน ปัจจัยชี้ขาดชัยชนะ
ของการเลือกตั้งในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัดยังมีมากกว่าตัวหัวหน้ากลุ่มและปริมาณเงินกล่าวคือ ปัจจัย
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 123