Page 139 - kpiebook64011
P. 139
ตระกูลอัศวเหม
นับตั้งแต่ปี 2518-2544 ผู้น าคนส าคัญของตระกูลอัศวเหมในทางการเมืองคือ นายวัฒนา อัศวเหม
เพราะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและด ารงต าแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดสมุทรปราการมาโดย
ตลอด อีกทั้งยังมีบทบาทในฐานะหัวหน้ากลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ รวมถึง
บทบาทในพรรคการเมืองระดับชาติที่นายวัฒนาไปสังกัดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพรรคชาติไทย พรรคประชากรไทย
และพรรคราษฎร (พิจารณา พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า, 2548) นายวัฒนาเริ่มเข้าสู่เส้นทาง
การเมืองผ่านการชักน าของนายสุทิน กลับเจริญ ผู้กว้างขวางและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัด
สมุทรปราการ ต่อมาเมื่อนายสุทินเผชิญปัญหาเรื่องการฟ้องร้องและคดีความต่าง ๆ นายวัฒนาจึงเป็นตัวแทน
ของนายสุทินลงสมัครรับเลือกตั้ง (นักธุรกิจรายใหญ่ในพื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่ 19 เมษายน 2564) และได้รับ
เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนมาจนถึงปี 2544 จากค าบอกเล่าของแหล่งข้อมูลที่เฝ้าสังเกตเส้นทางการเมือง
ของนายวัฒนานับตั้งแต่เข้าสู่การเมืองสะท้อนให้เห็นแนวทางการหาเสียงที่เริ่มจากการเข้าหาผู้น าชุมชนใน
พื้นที่ อาทิ ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน และข้าราชการระดับสูงในพื้นที่เพื่อสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ในระดับตัวบุคคล
และเมื่อหาเสียงเลือกตั้งก็จะให้ผู้น าเหล่านี้เป็นตัวกลางแนะน าตัวนายวัฒนาให้ประชาชนในพื้นที่ได้รู้จัก (อดีต
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 12 เมษายน 2564)
ตระกูลอัศวเหมมีฐานเสียงที่หนาแน่นในพื้นที่เขตเมือง หรือที่คนในพื้นที่เรียกกันว่า “เขตปากน้ า”
ด้วยเหตุที่ครอบครัวของนายวัฒนาค้าขายผ้าอยู่ในตลาดปากน้ า จึงท าให้รู้จักผู้คนในตลาดปากน้ าอย่าง
กว้างขวาง (นักธุรกิจรายใหญ่ในพื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่ 19 เมษายน 2564) ในระยะต่อมานายวัฒนาหันมา
ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทค้าน้ ามัน และอื่น ๆ ทั้งที่อยู่ในพื้นที่และนอกพื้นที่สมุทรปราการ
(เมธี ปรีชา, 2542) ธุรกิจของตระกูลอัศวเหมแม้ไม่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในรูปแบบของบริษัท ห้างร้าน
หรือกิจการที่เป็นทางการซึ่งมีข้อมูลเผยแพร่ในฐานข้อมูลการประกอบธุรกิจ แต่ก็เป็นตระกูลที่มีทรัพยากรมาก
พอที่จะทุ่มเทและลงทุนในการหาเสียงเลือกตั้ง (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564)
จุดเปลี่ยนส าคัญของกลุ่มตระกูลอัศวเหมเกิดขึ้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2544 เมื่อ
นายวัฒนาและสมาชิกในกลุ่มพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งให้กับผู้สมัครในสังกัดพรรคไทยรักไทย อย่างไรก็ดีสมาชิก
ในกลุ่มโดยเฉพาะเครือญาติและคนใกล้ชิดได้หันไปสู่สนามการเมืองในระดับท้องถิ่น อาทิ การส่งคนในกลุ่มลง
ชิงต าแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสมุทรปราการ รวมถึงมีคนใน
เครือข่ายเข้าไปอยู่ในองค์การทางธุรกิจระดับจังหวัดอย่างเช่น สมาคมหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อ
ก ากับเศรษฐกิจการเมืองในระดับพื้นที่ซึ่งเป็นฐานของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้การ
เปลี่ยนตัวผู้น าของกลุ่มครั้งส าคัญเกิดขึ้นในปี 2551 เมื่อนายวัฒนาถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด ารง
ต าแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่าใช้อ านาจหน้าที่ในต าแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมิชอบ
ให้ลงโทษจ าคุกเป็นเวลา 10 ปี ภายหลังมีค าพิพากษานายวัฒนาไม่ปรากฏตัวอย่างเป็นทางการอีกเลย
(กฤตยาณี พิรุณเนตร, 2557, น. 57) สภาพการณ์ดังกล่าวท าให้ศูนย์กลางของกลุ่มอัศวเหมเปลี่ยนถ่ายมายัง
นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม (บุตรชายคนเล็กของนายวัฒนา) แม้ว่านายชนม์สวัสดิ์จะถูกคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติออกค าสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการในเดือนมิถุนายน 2558
และถูกศาลฎีกาพิพากษาในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกันให้รับโทษจ าคุก 1 ปี 6 เดือน อันเนื่องมาจากการทุจริต
การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสมุทรปราการ ปี 2542 (โพสต์ทูเดย์, 2558, 4 สิงหาคม) แต่เงื่อนไข
ดังกล่าวไม่ได้ท าให้ศูนย์กลางอ านาจของกลุ่มอัศวเหมเปลี่ยนแปลงไป เมื่อนายชนม์สวัสดิ์รับโทษและออกจาก
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 121