Page 142 - kpiebook64011
P. 142

6
               การสร้างเครือข่าย “หัวคะแนนในฐานะหัวใจของจักรกลการเมือง”  กล่าวคือ การคัดสรรหัวคะแนนให้เข้ามา
               เป็นสมาชิกของจักรกลการเมือง ช่วยขับเคลื่อนจักรกลการเมืองของแต่ละฝ่ายให้ท างานทั้งในช่วงเลือกตั้งและ

               หลังเลือกตั้ง รวมถึงสามารถด ารงรักษาให้จักรกลการเมืองอยู่ได้อย่างต่อเนื่องจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
               และอ านาจที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างสมาชิกในจักรกล จากตัวอย่างทั้งสองกลุ่มการเมืองในพื้นที่จังหวัด
               สมุทรปราการจะพบว่า สมาชิกในจักรกลการเมืองมีทั้งกลุ่มนักการเมืองในท้องถิ่น อาทิ สมาชิกสภาองค์การ
               บริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับเทศบาลและองค์การบริหาร

               ส่วนต าบล กลุ่มข้าราชการประจ าในพื้นที่ กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มนักการเมืองระดับชาติ รวมถึงกลุ่มผู้น าชุมชน
               อย่างก านันและผู้ใหญ่บ้าน บทบาทของสมาชิกในจักรกลการเมืองต่างมีต าแหน่งที่เป็นทางการ กล่าวอย่างง่าย
               ๆ ได้ว่า สมาชิกในจักรกลการเมืองล้วนมีอาชีพเป็นของตัวเอง ไม่ใช่เพียงผู้รอคอยรับผลประโยชน์ในห้วงวัน
               เลือกตั้งเท่านั้น แต่มีต าแหน่งการงานที่จักรกลการเมืองสามารถเข้าไปค้ าจุนและตอบแทนผลประโยชน์ให้ได้

               เมื่อจักรกลการเมืองสามารถท างานจนประสบความส าเร็จสามารถสร้างชัยชนะในแก่สมาชิกของกลุ่มการเมือง
               ที่จักรกลการเมืองนั้นท างานให้ อีกทั้งหัวคะแนนก็มีลักษณะที่ลื่นไหลสามารถเปลี่ยนจากการเป็นสมาชิกใน
               จักรกลการเมืองของฝ่ายหนึ่งไปเป็นสมาชิกในจักรกลการเมืองของอีกฝ่ายได้เสมอ เมื่อทิศทางการท างานของ
               จักรกลการเมืองเก่าเริ่มอ่อนแอ ไร้ทิศทาง และไร้ผู้น าที่มีบารมีมากพอจะก ากับทิศทางของจักรกลการเมือง


                      4.2.2 การเปลี่ยนขั้วอ านาจทางการเมืองในพื้นที่


                       งานวิชาการก่อนการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563 วิเคราะห์ให้เห็น
               ภาพขั้วอ านาจทางการเมืองที่เหมือนและต่างกันออกไป ข้อสรุปที่งานวิชาการทุกชิ้นมีร่วมกันคือ ข้อเสนอที่

               ระบุว่ากลุ่มของนายวัฒนา อัศวเหม หรือที่เรียกกันว่า “กลุ่มปากน้ า” เป็นกลุ่มขั้วอ านาจหลักที่ด ารงอยู่ในพื้น
               ที่มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ท่ามกลางการด ารงอยู่ของขั้วอ านาจของนายวัฒนาก็มีขั้วอ านาจใหม่ถูกสถาปนา
               ผ่านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขั้วอ านาจดังกล่าวคือ กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรัก
               ไทยและพรรคเพื่อไทย ที่มีชัยชนะเหนือกลุ่มนายวัฒนาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2544

               และ 2548 (พิจารณา พรชัย เทพปัญญา และพงษ์ยุทธ สีฟ้า, 2548; กฤตยาณี พิรุณเนตร, 2557; เมธี ปรีชา,

               6  คณะผู้วิจัยขยายความหมายของค าว่า “หัวคะแนน” ให้กว้างและครอบคลุมมากขึ้นตามพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไปของการเมือง
               ท้องถิ่น ที่ผ่านมาค าว่าหัวคะแนนที่ใช้ในสังคมไทยมีความหมายที่แคบและแบนกล่าวคือ มักอธิบายให้เห็นแค่บทบาทของ
               หัวคะแนนในฐานะผู้รับใช้หัวหน้ากลุ่มการเมืองและท าหน้าที่กระจายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นส าคัญ คณะผู้วิจัยมี
               ความเห็นที่แตกต่างออกไปจากค าอธิบายดังกล่าว โดยเพิ่มเติมค าอธิบายเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า หัวคะแนนนอกจากจะท าหน้าที่
               พื้นฐานในการรณรงค์หาเสียงในช่วงเลือกตั้งแล้ว ยังเป็นสมาชิกในจักรกลการเมืองที่ท าหน้าที่หลังการเลือกตั้ง ทั้งขับเคลื่อน
               ระบบอุปถัมภ์ในพื้นที่ คัดสรรคนเข้าสู่เครือข่าย รวมถึงสร้างและแจกจ่ายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและอ านาจระหว่างสมาชิก
               ในจักรกลการเมือง สถานะของหัวคะแนนจึงไม่ได้ต่ าต้อยในฐานะผู้รับใช้ แต่เป็นหัวใจของจักรกลการเมืองที่เชื่อมประสาน
               ระหว่างหัวหน้ากลุ่มการเมืองกับผู้คนในพื้นที่ รวมถึงเป็นหุ้นส่วนทางการเมืองและเศรษฐกิจกับผู้ด ารงต าแหน่งที่เป็นทางการ
               ในโครงสร้างทางการเมือง

















                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   124
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147