Page 140 - kpiebook64011
P. 140
เรือนจ าแล้ว ศูนย์กลางของกลุ่มอัศวเหมยังคงเป็นนายชนม์สวัสดิ์เช่นเดิม ยิ่งไปกว่านั้นอิทธิทางการเมืองของ
กลุ่มอัศวเหมดูราวกับว่าจะถูกสถาปนาให้กลับคืนมาใกล้เคียงกับช่วงที่นายวัฒนาสามารถควบคุมพื้นที่ได้
ทั้งหมด ดังจะเห็นได้จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราฎรของจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2562 ผู้สมัครจาก
พรรคพลังประชารัฐที่กลุ่มอัศวเหมสังกัดอยู่สามารถได้ชัยชนะใน 5 จาก 6 เขต ชัยชนะดังกล่าวท าให้เครือข่าย
ของนักการเมืองในระดับท้องถิ่น เข้ามาสังกัดอยู่กับกลุ่มอัศวเหมมากขึ้น (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์,
วันที่ 5 เมษายน 2564)
ตระกูลรัศมิทัต
กลุ่มตระกูลรัศมิทัตมีนายอ านวย รัศมิทัต เป็นศูนย์กลางที่ส าคัญของกลุ่ม อาจกล่าวได้ว่ากลุ่มรัศมิทัต
สร้างรากฐานทางการเมืองจากการสืบทอดความเป็นผู้น าในระดับชุมชนกล่าวคือ นายอ านวยส าเร็จการศึกษา
จากโรงเรียนอ านวยศิลป์และมีพรรคพวกอยู่มากในสมัยเรียน จึงมีความคิดอยากเป็นผู้น าชุมชนเพื่อช่วยเหลือ
ผู้คน ความคิดดังกล่าวผลักดันให้นายอ านวยเริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมืองจากการด ารงต าแหน่งก านันที่ต าบลบาง
น้ าผึ้ง อ าเภอพระประแดง เป็นเวลา 22 ปี หากสืบย้อนไปในรุ่นบิดาของนายอ านวยจะพบว่า บิดาของนาย
อ านวยเองก็ด ารงต าแหน่งเป็นก านันเช่นกัน และเคยมีโอกาสช่วยนายวัฒนา อัศวเหม หาเสียงในพื้นที่ (อดีต
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 12 เมษายน 2564) นายอ านวยหัน
เหเข้าสู่สนามการเมืองในระดับจังหวัดในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2547
ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แม้นายอ านวย
จะได้รับชัยชนะจากคะแนนเสียงของประชาชน แต่ก็ถูกคณะกรรมการเลือกตั้งตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
นายอ านวยมาประสบความส าเร็จและได้ด ารงต าแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในการเลือกตั้ง ปี
2550
เมื่อนายอ านวยมีบทบาททางการเมืองในระดับจังหวัดแล้ว นายอ านวยได้ผลักดันให้สมาชิกในกลุ่มโดย
เฉพาะที่เป็นเครือญาติเข้าสู่ต าแหน่งทางการเมืองทั้งในระดับประเทศและพื้นที่ อาทิ นางสาวเรวดี รัศมิทัต ซึ่ง
เป็นลูกสาวของนายอ านวย ได้รับชัยชนะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตอ าเภอพระประแดงในการเลือกตั้ง
ปี 2544 และ 2548 นอกจากนี้บุตรชายของนายอ านวยล้วนด ารงต าแหน่งทางการเมืองในพื้นที่แทบทั้งสิ้น ไม่
ว่าจะเป็นนายสมปอง รัศมิทัต ที่ด ารงต าแหน่งก านันต าบลบางยอ และนายส าเนาว์ รัศมิทัต อดีตนายกองค์การ
บริหารส่วนต าบลบางน้ าผึ้ง ความอาวุโสในระบบเครือญาติรวมถึงบารมีในทางการเมืองยังท าให้นายอ านวย
เป็นศูนย์กลางกลุ่มอยู่ และอาจส่งผ่านเครือข่ายไปสู่นางสาวเรวดี รัศมิทัต ผู้เป็นบุตรสาวที่แม้ไม่ได้ด ารง
ต าแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ยังคงท างานทางการเมืองร่วมกับพรรคภูมิใจไทยในต าแหน่งสมาชิก
พรรคและที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
ท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 12 เมษายน 2564)
อย่างไรก็ดี อิทธิพลของกลุ่มรัศมิทัตถูกประเมินจากผู้น าชุมชนในพื้นที่ว่าด าเนินไปในทิศทาง “ขาลง”
กล่าวคือ อาจไม่สามารถสร้างฐานอ านาจทางการเมืองได้เทียบเท่ากับกลุ่มอัศวเหม และจะกลายเป็นกลุ่ม
อ านาจทางการเมืองในระดับพื้นที่ย่อย (ระดับต าบลหรืออ าเภอ) ไม่ใช่กลุ่มการเมืองที่สามารถสร้างเครือข่าย
และขยายฐานอ านาจได้ครอบคลุมทั้งจังหวัดเหมือนกับกลุ่มอัศวเหม (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์,
วันที่ 5 เมษายน 2564) สาเหตุที่ท าให้อิทธิพลของกลุ่มรัศมิทัตเสื่อมคลายเป็นผลมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ปัจจัย
แรก การไม่ได้อยู่ในอ านาจมาอย่างยาวนาน การที่นายอ านวยซึ่งเป็นแกนกลางของกลุ่มว่างเว้นไปจากการด ารง
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 122