Page 144 - kpiebook64011
P. 144
อัศวเหมเช่นกัน เครือข่ายของตระกูลอัศวเหมที่ส่งผู้สมัครในนามกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าได้รับชัยชนะใน
30 จากทั้งหมด 36 เขตเลือกตั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 83 นอกจากนี้ ข้อมูลจากผู้ให้สัมภาษณ์รายหนึ่งได้สะท้อน
ให้เห็นความต้องของนักการเมืองท้องถิ่นที่ประสงค์จะเข้ามาสังกัดกับขั้วอ านาจตระกูลอัศวเหมที่เพิ่มมากขึ้น
กล่าวคือ การคัดสรรตัวผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดส าหรับการเลือกตั้งในปี 2563 เป็นไป
อย่างยากล าบากเพราะในหลายเขตเลือกตั้งมีผู้เสมอตัวลงสมัครในนามกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้ามากกว่า 1
คน เหตุการณ์ดังกล่าวท าให้ผู้ให้ข้อมูลสะท้อนความรู้สึกเป็นวลีว่า “แม่น้ าทุกสายไหลสู่อัศวเหม” (ผู้ใหญ่บ้าน
ชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564)
ในที่นี้ขอตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาชี้ให้เห็นร่องรอยของขั้วอ านาจใหม่ที่ก าลัง
สถาปนาขึ้นมาแข่งขันกับขั้วอ านาจตระกูลอัศวเหม กลุ่มการเมืองดังกล่าวถูกเรียกว่า “กลุ่มสายพระสมุทร
เจดีย์” ซึ่งมีตระกูลนางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนน าส าคัญ
นางสาวไพลิน เป็นบุตรสาวของนายสมัคร เทียนสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมุทรปราการ ภายหลังได้ยุติบทบาทและให้นางสาวไพลินลงสมัครเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
แทนตนเอง ร่องรอยความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเทียนสุวรรณและอัศวเหมก่อตัวให้เห็นในการคัดเลือกตัวผู้สมัคร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2562 โดยกลุ่มอัศวเหมต้องการส่งนายต่อศักดิ์ อัศวเหม ลง
สมัครรับเลือกตั้งในเขตอ าเภอพระสมุทรเจดีย์ ในขณะเดียวกันนางสาวไพลินก็ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งใน
เขตนี้ ปัญหาดังกล่าวยุติลงโดยกลุ่มอัศวเหมยินยอมให้นายต่อศักดิ์ไปเป็นผู้สมัครในบัญชีรายชื่อของพรรคพลัง
ประชารัฐ และให้นางสาวไพลินเป็นผู้สมัครในเขตอ าเภอพระสมุทรเจดีย์ (นักธุรกิจรายใหญ่ในพื้นที่, สัมภาษณ์,
วันที่ 19 เมษายน 2564)
การแข่งขันกันระหว่างกลุ่มอัศวเหมและเทียนสุวรรณเกิดขึ้นอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการปี 2563 โดยกลุ่มเทียนสุวรรณได้ร้องขอต่อทางกลุ่มอัศวเหมให้กลุ่มตนเป็น
ผู้ดูแลพื้นที่ฝั่งอ าเภอพระสมุทรเจดีย์ทั้งหมด และจะขอส่งผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดในนาม
กลุ่มรวมพลังพระสมุทรเจดีย์ทั้ง 4 เขตเลือกตั้งของอ าเภอพระสมุทรเจดีย์ อย่างไรก็ตามกลุ่มอัศวเหมไม่ยินยอม
ในข้อเรียกร้องนี้และได้ส่งผู้สมัครของกลุ่มตนซึ่งได้แก่นางสาวพิม อัศวเหม ลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 1 ของ
อ าเภอพระสมุทรเจดีย์ และได้รับชัยชนะในท้ายที่สุด ส่วนอีก 3 เขตเลือกตั้งทางกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า
ของตระกูลอัศวเหมก็ส่งผู้สมัครแข่งขันกับตัวแทนของกลุ่มเทียนสุวรรณ แต่ในเขตเลือกตั้งทั้ง 3 นี้ตัวแทนของ
กลุ่มเทียนสุวรรณเป็นฝ่ายได้ชัยชนะ (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564)
ชัยชนะของกลุ่มเทียนสุวรรณท าให้กลุ่มอัศวเหมเกิดความหวาดระแวงในบางระดับ ผู้ให้ข้อมูลรายหนึ่ง
สะท้อนให้เห็นความหวาดระแวงที่กลุ่มอัศวเหมมีต่อกลุ่มเทียนสุวรรณเอาไว้ดังนี้
“กลุ่มการเมืองที่อาจขยับขึ้นมาเป็นคู่แข่งได้น่าจะเป็นกลุ่มสายพระสมุทรเจดีย์ ตระกูลเทียน
สุวรรณที่ก าลังสร้างฐานและขยายอ านาจให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ทาง ส.ส.ไพลิน เทียนสุวรรณ ต้องการ
ดูแลพื้นที่ทางพระสมุทรเจดีย์ มีการแย่งชิงกับอัศวเหมกันอยู่ และก าลังขยายเขตอิทธิพลมาทางอ าเภอ
พระประแดง หากกลุ่มเทียนสุวรรณปักธงในเขตทางพระประแดงได้ ก็จะยิ่งท าให้ฐานอ านาจขยาย
มากขึ้น แต่ตอนนี้ยังปักธงไม่ได้ แต่เริ่มมีการสร้างฐานในการสนับสนุนคนของกลุ่มตนเองในระดับ
ท้องถิ่นบ้างแล้ว อาทิ ในการเลือกตั้ง ส.อบจ. รอบล่าสุด กลุ่มเทียนสุวรรณสามารถผลักดันให้คนของ
กลุ่มตัวเองชนะใน 3 เขต จาก 4 เขตของพระสมุทรเจดีย์ มีการพูดคุยกันในทางลับด้วยว่าทาง ส.ส.
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 126