Page 145 - kpiebook64011
P. 145
ไพลิน สั่งให้เครือข่ายช่วยระดมคะแนนให้แก่นายอ านวย รัศมิทัต เพื่อตัดคะแนนคุณนันทิดา แก้วบัว
สาย” (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564 และนักธุรกิจรายใหญ่ในพื้นที่,
สัมภาษณ์, วันที่ 19 เมษายน 2564)
การสร้างขั้วอ านาจทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการแยกไม่ขาดระหว่างการเมืองใน
ระดับชาติและการเมืองในระดับท้องถิ่น แต่ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองทั้งสองระดับมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร
จากกรณีของจังหวัดสมุทรปราการขั้วอ านาจทางการเมืองที่ด ารงอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานท างานก ากับทั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตามอ านาจน าของขั้วอ านาจ
การเมืองที่ด ารงอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานก็ถูกท้าทายจากขั้วอ านาจทางการเมืองในระดับพื้นที่ แม้ว่าจะสังกัด
ภายใต้พรรคการเมืองเดียวกันแต่ก็มีการปะทะและแข่งขันกันอยู่เสมอไม่ได้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน แต่กลุ่ม
การเมืองในระดับพื้นแบบใด หรือลักษณะใดที่จะสามารถสร้างเครือข่ายย่อยขึ้นมาแข่งขันกับขั้วอ านาจใหญ่ได้
เนื้อหาส่วนหนึ่งจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่า เครือข่ายย่อยในระดับพื้นที่ที่จะสามารถแข่งขันกับขั้วอ านาจใหญ่
ได้ไม่เพียงแต่ต้องมีฐานอ านาจทางการเมืองในระดับพื้นที่อยู่เดิม หากแต่ต้องสามารถเชื่อมโยงตนเองกับแกน
น าคนส าคัญ ๆ ของพรรคการเมืองแกนน ารัฐบาลได้ เพื่ออาศัยค าสั่งและการสนับสนุนจากแกนน าในพรรค
รัฐบาลส าหรับต่อรองและต่อสู้กับขั้วอ านาจใหญ่ (อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการท่านหนึ่ง
, สัมภาษณ์, วันที่ 12 เมษายน 2564)
4.2.3 บทบาทของเครือข่ายนักการเมืองท้องถิ่น และนักการเมืองท้องถิ่นในการเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการปี 2563 นักการเมือง
ท้องถิ่นและเครือข่ายนักการเมืองท้องถิ่นมีบทบาทส าคัญในฐานะกลไกการระดมคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัครรับ
เลือกตั้งทั้งในระดับตัวนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยนักการเมืองและเครือข่ายทางการ
เมืองที่ท าหน้าที่เป็นกลไกเพื่อการระดมคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัครประกอบไปด้วยผู้ใหญ่บ้าน ก านัน ผู้บริหาร
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการลงพื้นของคณะผู้วิจัยเพื่อ
สังเกตการณ์การหาเสียง การเลือกตั้ง รวมถึงการนับคะแนน ท าให้ได้ข้อสรุปว่านักการเมืองท้องถิ่นและ
เครือข่ายมักท าหน้าที่เป็น “สมาชิกในจักรกลการเมือง” ที่ไม่เพียงคอยสนับสนุนตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ยัง
ช่วยค้ าจุนกลุ่มการเมืองของฝ่ายตนด้วย โดยมีบทบาทส าคัญอย่างน้อยสามด้านกล่าวคือ
ด้านแรก บทบาทด้านการประชาสัมพันธ์ นักการเมืองท้องถิ่นและเครือข่ายจะท าหน้าที่คอย
ประชาสัมพันธ์และแนะน าผู้สมัครให้แก่คนในพื้นที่ รวมถึงเมื่อผู้สมัครต้องการลงพื้นที่พบปะประชาชนในเขตที่
นักการเมืองท้องถิ่นดูแล นักการเมืองคนนั้นก็จะเป็นผู้วางแผนและน าทางการลงพื้นที่ ตลอดจนการเข้าร่วม
กิจกรรมทางสังคมในพื้นที่
ด้านที่สอง บทบาทด้านการส่งผ่านทรัพยากรจากผู้สมัครรับเลือกตั้งไปยังผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นักการเมือง
ท้องถิ่นและเครือข่ายมักช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งในการกระจายทรัพยากรทั้งในรูปของเงิน การช่วยเหลือ
ด้วยสิ่งของ การติดต่อเข้าถึงตัวผู้สมัคร รวมถึงเป็นตัวกลางเพื่อหาข้อตกลงด้านการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งประชาชน
เรียกร้องและผู้สมัครรับเลือกตั้งมีศักยภาพที่จะตอบสนองได้
ด้านที่สาม บทบาทด้านการติดตามสถานการณ์การหาเสียง คะแนนนิยม และการเลือกตั้ง
นักการเมืองท้องถิ่นและเครือข่ายจะคอยติดตามกระแสของตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่ เพื่อจะน าข้อมูล
ดังกล่าวไปวางแนวทางการหาเสียง บทบาทด้านการติดตามสถานการณ์จะยิ่งมีความส าคัญมากขึ้นในวัน
เลือกตั้งและการนับคะแนนเสียง ด้วยเหตุว่านักการเมืองท้องถิ่นสามารถส่งคนในเครือข่ายให้เข้าไป
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 127