Page 150 - kpiebook64011
P. 150
บทที่ 5
พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
เนื้อหาในบทนี้มุ่งอธิบายการหาเสียงเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมุทรปราการ ปี 2563 โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นสองส่วน เนื้อหาในส่วนแรกอธิบายพฤติกรรมการหาเสียงของ
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทั้งพฤติกรรมการหาเสียงที่ด าเนินไปตามกฎหมายก าหนดและพฤติกรรมการหาเสียงแบบ
ลับ เนื้อหาส่วนที่สองวิเคราะห์ให้เห็นรูปแบบและวิธีการหาเสียง การใช้ทรัพยากรของผู้สมัครส าหรับการหา
เสียงเลือกตั้ง การบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการใช้จ่ายของผู้สมัครในการหาเสียงเลือกตั้ง รวมถึงวิเคราะห์
การตอบสนองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อการซื้อเสียงในพื้นที่
5.1 พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งมักแสดงออกผ่านการหาเสียงเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งครั้ง
นี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่เพียงหาเสียงตามรูปแบบที่มีกฎหมายรองรับ เช่น การพบปะประชาชน การใช้ป้ายหา
เสียง แผ่นพับ และรถแห่ แต่ยังใช้วิธีการหาเสียงรูปแบบอื่นที่นอกเหนือไปจากกฎหมายก าหนด ทั้งการใช้
หัวคะแนนเพื่อประชาสัมพันธ์และระดมคะแนนเสียง รวมถึงการใช้โครงการและงบประมาณขององค์การ
บริหารส่วนจังหวัดส าหรับการหาเสียงและยึดโยงหัวคะแนนเข้าไว้กับกลุ่มการเมืองที่ครองอ านาจในองค์การ
บริหารส่วนจังหวัด
5.1.1 พฤติกรรมทางการเมืองแบบเปิดเผยตามที่กฎหมายก าหนด
พฤติกรรมทางการเมืองแบบเปิดเผยของผู้สมัครรับเลือกตั้งมักเกี่ยวข้องกับการรณรงค์หาเสียง การ
เลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการปี 2563 พบพฤติกรรมการหาเสียง
เลือกตั้งแบบเปิดเผยสี่รูปแบบ อันได้แก่ การพบปะประชาชนในพื้นที่ การแจกแผ่นพับที่มีข้อมูลผู้สมัคร การใช้
รถแห่ และป้ายหาเสียง
การพบปะประชาชนในพื้นที่
การลงพื้นที่พบปะกับประชาชนและผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่เป็นรูปแบบที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเลือกใช้
อย่างไรก็ดี การลงพื้นที่ของแต่ละกลุ่มการเมืองก็มีลักษณะที่สอดคล้องและแตกต่างกันออกไป ลักษณะการลง
พื้นที่ซึ่งแต่ละกลุ่มมีร่วมกันคือ การลงพื้นที่ต้องไปแบบเป็นกลุ่มก้อน มีทั้งตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง และทีมงาน
หรือกองเชียร์ซึ่งท าหน้าที่แจกแผ่นพับ ชู้ป้ายหาเสียง ประชาสัมพันธ์ข้อมูลของผู้สมัคร พร้อมกับสร้างความ
บันเทิงหรือความครื้นเครงในระหว่างเดินพบปะประชาชน การลงพื้นของตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ใช่เพียงแค่น า
ข้อมูลของตนเองไปบอกกล่าวหรือยัดเยียดให้กับคนในพื้นที่ แต่ต้องท าหน้าที่เป็นผู้รับฟังปัญหาและค าร้องขอ
ของประชาชนอีกด้วย (พิจารณาภาพ 5.1)
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 132